พนักงานควรรู้! คนมาสายเพราะ ฝนตก-รถติด มีกฎหมายคุ้มครอง

แฟนเพจ ทนายคู่ใจ เผยนายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงาน
วันนี้ (21 มิ.ย.) แฟนเพจ ทนายคู่ใจ ได้โพสต์ข้อความให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองคนมาสาย หลังจาก กทม.เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่ เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด รถติดขัดหลายพื้นที่

แฟนเพจ ทนายคู่ใจ ระบุว่า …

กฎหมายสำหรับคนมาสาย

1. นายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงาน

2. มาสาย 5 นาทีจะมาลงว่าเรามาสาย 30 นาทีไม่ได้ สายเท่าไรลงเท่านั้น เพราะมันมีผลต่ออัตราเงินเดือน จะมาหักเรา 30 นาทีไม่ได้

3. มาสาย 3 วันหัก 1 วัน แบบนี้ก็ทำไม่ได้ผิดกฎหมายแรงงาน

4. มาสายแล้วไล่ออกเลยก็ไม่ได้ ถ้าจะไล่ออกต้องทำหนังสือเตือนมาตามแต่ระเบียบของบริษัทจะประกาศไว้

5. มาสายแล้วบังคับทำโอที อันนี้ก็ไม่ได้โอทีคือความสมัครใจของลูกจ้าง

6. มาสายแล้วต้องโดนทำโทษ -*- อันนี้ใครยังไม่ตื่นจากสมัยเรียนหนังสือรีบปรับตัวซะ ไม่มีบทลงโทษทางร่างกายต่อคนมาสายเหมือนสมัยเรียนหรอก

แต่ทั้งนี้ นายจ้างก็อาจจะเลือกใช้สิทธิ No work No Pay คือไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ซึ่งก็เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะทำได้ เช่น คำนวณสะสมระยะเวลามาสายในแต่ละเดือน ว่ารวมแล้วกี่ชั่วโมงเพื่อมาคำนวนเวลาที่หายไปของลูกจ้างต่ออัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง เป็นต้น (ทีทำโอฟรีไม่เห็นชม ทีมาสายละหักจัง)

    อ้างอิง พรบ.คุ้มครองแรงงาน “มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด” เข้าใจคำว่าห้ามหักไหม ถ้าหักจะถือว่าผิดกฎหมายทันที ลูกจ้างอย่างเราถ้าถูกนายจ้างหักเงิน หรือ หักเวลามาสายเกินจริง

เรื่องที่ทนายคู่ใจนำเสนอต่อจากนี้สังคมแห่งความจริงต้องตัดสินเอาเอง เพราะมันคือกฎของโลกใบนี้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> ปรึกษากฎหมายแรงงานโทร 1546 หรือที่ Line พิมพ์ @FREELAW

MThai News

ขอบคุณข้อมูลจาก แฟนเพจ ทนายคู่ใจ