วิธีออมเงินแบบฉบับคุณพ่อสอนลูก ปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็กแล้วจะติดนิสัยรักการออมไปจนโต มาดูอีกทีก็มีเงินแสนแล้ว
เคยมีผลสำรวจพบว่าหนุ่ม-สาววัยทำงานหลายคนในยุคนี้แทบจะไม่มีเงินเก็บกันเลย อาจเป็นเพราะไม่รู้จักวิธีบริหารจัดการเงินที่ถูกต้อง ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องการเก็บออมเงินนี่เป็นเรื่องสำคัญมากนะคะ และควรจะเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ อย่างที่เขาบอกว่า "ออมก่อน รวยกว่า" นั่นจึงทำให้คุณ neopaint2005 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม คุณพ่อลูกสองเริ่มสอนเรื่องคุณค่าของเงินและวิธีออมเงินให้ลูก ๆ ด้วยตัวเอง เพราะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยมีสอนที่โรงเรียน และวิธีการเหล่านี้ก็ช่วยให้ลูก ๆ ตื่นเต้นและภาคภูมิใจกับเงินในบัญชีที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ลองไปอ่านกันค่ะ
ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า เรื่องของการบริหารจัดการเงิน
ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ต่อความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว
เคยเห็นคนที่เรียนจบสูง ๆ เงินเดือนเป็นหลักแสน หรือหลักหมื่นปลาย ๆ
แต่ใช้เงินเดือนชนเดือนไหมครับ แย่ไปกว่านั้น คนที่เงินเดือนสูง ๆ
มักจะมีฐานเครดิตที่สูง ซึ่งนำไปสู่วงเงินในบัตรเครดิตที่สูง
สุดท้ายหากบริหารจัดการเงินการใช้จ่ายไม่ดี เป็นหนี้นับล้าน ๆ
ก็พอมีให้เห็นอยู่
ในทางกลับกัน ทำไมบางคนเงินเดือนไม่ได้มากมายอะไร แต่มีเงินเหลือเก็บออม ฝากธนาคารทุก ๆ เดือน มีเงินก้อนในธนาคาร หรือสะสมในรูปแบบของเงินสำรองในกองทุนต่าง ๆ
ผมลองสังเกตดูจากแบบเรียนที่สอนในโรงเรียนของลูก ๆ ผม กลับเป็นที่น่าตกใจว่า แทบไม่มีวิชาไหน หรือช่วงไหนในโรงเรียนที่ลูก ๆ ผมเรียน จะสอนวิชาเกี่ยวกับการใช้เงิน หรือการบริหารจัดการเงินแบบเป็นเรื่องเป็นราวบ้างเลย
เท่าที่มีสอนใกล้เคียงก็เห็นจะเป็นวิชาสังคมศึกษา ที่จะมีสอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น และวิชาประวัติศาสตร์ ที่จะสอนถึงหลักแนวทางเศรษฐพอเพียง ของในหลวง ร.9 แต่หลักที่สอนจะเป็นเนื้อหาแบบกว้าง ๆ ในแบบที่จับต้องไม่ได้ ทำให้ยากต่อการที่จะนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงได้
ผมและภรรยาเติบโตมาจากครอบครัวที่ทำการค้าขาย เราจึงเคยได้รับการสอนเรื่องเกี่ยวกับ เงิน ๆ ทอง ๆ มาตั้งแต่เด็ก พอถึงเวลาที่เรามีลูกบ้าง จึงนำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ดูกับลูก ๆ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ผมพอจะนึกออก เช่น
1) ตอนลูก ๆ เล็กมาก เวลาพาไปห้างแล้วต้องกดเงินออกมาจาก ATM ผมจะพาลูก ๆ ไปดูเวลาที่ผมกดเงินออกมา และมักจะสอนลูก ๆ ว่า เงินที่กดออกมาจากเครื่องนี้มันไม่ได้ออกมาเฉย ๆ เวลาที่เรากดนะลูก คือเราต้องเอาเงินไปฝากในธนาคารก่อน เวลามีเงินในธนาคาร เราถึงจะกดเงินออกมาได้
เวลาไปฝากเงินในธนาคาร ผมมักจะพาลูก ๆไปด้วย แล้วเล่าให้เขาฟังว่าเราเอาเงินมาฝากไว้ก่อน เวลาเรากดเงินจะได้มีเงินออกมาจากเครื่องได้ไง ...จริง ๆ ที่ผมสอนแบบนี้เพราะผมกลัวลูก ๆ ผมจะคิดว่าเงินหาง่าย แค่กด ๆ ตรงตู้เงินก็ออกมาแล้ว 555
2) พอลูก ๆ เริ่มเข้าโรงเรียน มีเงินค่าขนม ผมจะให้ลูก ๆ เก็บเงินที่เหลือจากค่าขนมมาหยอดลงกระปุก โดยผมเสนอให้ลูก ๆ ว่า เงินที่หยอดลงกระปุกเมื่อนับได้เท่าไหร่ ผมจะสมทบให้อีก 1 เท่า เช่น ลูกหยอด 20 บาท ผมจะหยอดเพิ่มให้เขาอีก 20 บาท สรุป ลูก ๆ ผมจะมีเงินเหลือมาหยอดกระปุกทุก ๆ วันเลย พอหยอดแล้วเขาก็จะมาทวงเงินสมทบกับอย่างตื่นเต้น
3) เมื่อลูก ๆ โตขึ้นอีกหน่อย (ประมาณ ประถม 6- ม.ต้น) ช่วงตรุษจีน เด็ก ๆ จะชอบมาก ๆ พอได้เงินแต๊ะเอียมา 2 พี่น้องก็จะมานับซองที่ได้กัน หลังจากได้ยอดเงินมา ผมจะถามพวกเขาว่าอยากเก็บเงินที่ได้มาติดกระเป๋าไว้ใช้ซื้อของอะไรที่อยากได้ และเท่าไหร่ เมื่อแบ่งจำนวนเงินเสร็จแล้ว ผมก็จะพาพวกเขาไปเปิดบัญชีที่ธนาคาร และให้พวกเขาเป็นคนนำเงินไปเขียนใบฝาก และฝากเข้าธนาคารเอง พวกเขาก็มักจะดูยอดเงินในสมุดเงินฝากกันอย่างตื่นเต้นและภูมิใจ
4) ผมเริ่มสอนลูก ๆ ให้รับผิดชอบเงินค่าขนมของตัวเองทีละนิด โดยเริ่มให้ค่าขนมลูก ๆ เป็นรายสัปดาห์ ตอนเริ่มเข้า ม.1 ตอนแรกจะให้รายเดือน แต่เด็ก ๆ กลัวทำเงินหายทั้งก้อนแล้วจะอดกินข้าวทั้งเดือน เลยต่อรองขอเป็นรายสัปดาห์แทน ส่วนคนโตพออายุครบ 16 ทำบัตร ATM ได้แล้ว ผมให้ไปเปิดบัญชีบัตร ATM แล้วโอนเงินค่าขนมให้เขาเป็นรายเดือนไปกดใช้ รับผิดชอบเอง หลาย ๆ เดือนพอเงินเขาเหลือเยอะใน ATM ก็จะถอนเงิน ออกมาฝากในบัญชีฝากประจำที่ได้ดอกเบี้ยเยอะหน่อย
5) ลูก ๆ เริ่มโตขึ้น พอรู้เรื่องของดอกเบี้ย ก็จะคอยสอนเขาให้คำนวณผลตอบแทนดู และเริ่มแนะนำให้ลูกย้ายเงินจากบัญชีออมทรัพย์ธรรมดามาเป็นแบบดอกเบี้ยสูง ตอนนี้ลูกเริ่มสนใจถึงสลากออมสิน โดยอยากจะลองซื้อเก็บในรูปแบบของสลากออมสินบ้าง
ตัวอย่างของบัญชีของลูกที่ปิดไป แล้วย้ายไปเปิดบัญชีใหม่ที่ดอกเบี้ยเยอะกว่านะครับ
ปล. ผมเก็บเล่มบัญชีไว้ให้ลูก ๆ เผื่อตอนพวกเขาโตจะได้เห็นว่าเริ่มมีเงินหลักแสนแรกตอนไหน ^^
บัญชีใหม่ ดอกเบี้ยสูงกว่า และมีดอกเบี้ยเข้าเป็นรายเดือน เด็ก ๆ เห็นก็จะเห็นผลของดอกเบี้ยที่จะได้รับทุกเดือน
เอาคร่าว ๆ เท่าที่ผมนึกได้ตอนนี้มีเท่านี้นะครับ จริง ๆ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เราทำกันอีกแต่กลัวจะยาวไป แหะ ๆ
หากใครมีวิธีที่ใช้กับลูก โดยเฉพาะเมื่อลูก ๆ เข้ามหาลัยฯ แล้วก็มาแชร์ได้นะครับ
เพราะลูกผมเองยังอยู่มัธยมปลาย และมัธยมต้นเอง ยังไปไม่ถึงช่วงนั้น ขอบคุณครับ ^^
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
คุณ neopaint2005 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม
เคยมีผลสำรวจพบว่าหนุ่ม-สาววัยทำงานหลายคนในยุคนี้แทบจะไม่มีเงินเก็บกันเลย อาจเป็นเพราะไม่รู้จักวิธีบริหารจัดการเงินที่ถูกต้อง ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องการเก็บออมเงินนี่เป็นเรื่องสำคัญมากนะคะ และควรจะเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ อย่างที่เขาบอกว่า "ออมก่อน รวยกว่า" นั่นจึงทำให้คุณ neopaint2005 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม คุณพ่อลูกสองเริ่มสอนเรื่องคุณค่าของเงินและวิธีออมเงินให้ลูก ๆ ด้วยตัวเอง เพราะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยมีสอนที่โรงเรียน และวิธีการเหล่านี้ก็ช่วยให้ลูก ๆ ตื่นเต้นและภาคภูมิใจกับเงินในบัญชีที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ลองไปอ่านกันค่ะ
ในทางกลับกัน ทำไมบางคนเงินเดือนไม่ได้มากมายอะไร แต่มีเงินเหลือเก็บออม ฝากธนาคารทุก ๆ เดือน มีเงินก้อนในธนาคาร หรือสะสมในรูปแบบของเงินสำรองในกองทุนต่าง ๆ
ผมลองสังเกตดูจากแบบเรียนที่สอนในโรงเรียนของลูก ๆ ผม กลับเป็นที่น่าตกใจว่า แทบไม่มีวิชาไหน หรือช่วงไหนในโรงเรียนที่ลูก ๆ ผมเรียน จะสอนวิชาเกี่ยวกับการใช้เงิน หรือการบริหารจัดการเงินแบบเป็นเรื่องเป็นราวบ้างเลย
เท่าที่มีสอนใกล้เคียงก็เห็นจะเป็นวิชาสังคมศึกษา ที่จะมีสอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น และวิชาประวัติศาสตร์ ที่จะสอนถึงหลักแนวทางเศรษฐพอเพียง ของในหลวง ร.9 แต่หลักที่สอนจะเป็นเนื้อหาแบบกว้าง ๆ ในแบบที่จับต้องไม่ได้ ทำให้ยากต่อการที่จะนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงได้
ผมและภรรยาเติบโตมาจากครอบครัวที่ทำการค้าขาย เราจึงเคยได้รับการสอนเรื่องเกี่ยวกับ เงิน ๆ ทอง ๆ มาตั้งแต่เด็ก พอถึงเวลาที่เรามีลูกบ้าง จึงนำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ดูกับลูก ๆ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ผมพอจะนึกออก เช่น
1) ตอนลูก ๆ เล็กมาก เวลาพาไปห้างแล้วต้องกดเงินออกมาจาก ATM ผมจะพาลูก ๆ ไปดูเวลาที่ผมกดเงินออกมา และมักจะสอนลูก ๆ ว่า เงินที่กดออกมาจากเครื่องนี้มันไม่ได้ออกมาเฉย ๆ เวลาที่เรากดนะลูก คือเราต้องเอาเงินไปฝากในธนาคารก่อน เวลามีเงินในธนาคาร เราถึงจะกดเงินออกมาได้
เวลาไปฝากเงินในธนาคาร ผมมักจะพาลูก ๆไปด้วย แล้วเล่าให้เขาฟังว่าเราเอาเงินมาฝากไว้ก่อน เวลาเรากดเงินจะได้มีเงินออกมาจากเครื่องได้ไง ...จริง ๆ ที่ผมสอนแบบนี้เพราะผมกลัวลูก ๆ ผมจะคิดว่าเงินหาง่าย แค่กด ๆ ตรงตู้เงินก็ออกมาแล้ว 555
2) พอลูก ๆ เริ่มเข้าโรงเรียน มีเงินค่าขนม ผมจะให้ลูก ๆ เก็บเงินที่เหลือจากค่าขนมมาหยอดลงกระปุก โดยผมเสนอให้ลูก ๆ ว่า เงินที่หยอดลงกระปุกเมื่อนับได้เท่าไหร่ ผมจะสมทบให้อีก 1 เท่า เช่น ลูกหยอด 20 บาท ผมจะหยอดเพิ่มให้เขาอีก 20 บาท สรุป ลูก ๆ ผมจะมีเงินเหลือมาหยอดกระปุกทุก ๆ วันเลย พอหยอดแล้วเขาก็จะมาทวงเงินสมทบกับอย่างตื่นเต้น
3) เมื่อลูก ๆ โตขึ้นอีกหน่อย (ประมาณ ประถม 6- ม.ต้น) ช่วงตรุษจีน เด็ก ๆ จะชอบมาก ๆ พอได้เงินแต๊ะเอียมา 2 พี่น้องก็จะมานับซองที่ได้กัน หลังจากได้ยอดเงินมา ผมจะถามพวกเขาว่าอยากเก็บเงินที่ได้มาติดกระเป๋าไว้ใช้ซื้อของอะไรที่อยากได้ และเท่าไหร่ เมื่อแบ่งจำนวนเงินเสร็จแล้ว ผมก็จะพาพวกเขาไปเปิดบัญชีที่ธนาคาร และให้พวกเขาเป็นคนนำเงินไปเขียนใบฝาก และฝากเข้าธนาคารเอง พวกเขาก็มักจะดูยอดเงินในสมุดเงินฝากกันอย่างตื่นเต้นและภูมิใจ
4) ผมเริ่มสอนลูก ๆ ให้รับผิดชอบเงินค่าขนมของตัวเองทีละนิด โดยเริ่มให้ค่าขนมลูก ๆ เป็นรายสัปดาห์ ตอนเริ่มเข้า ม.1 ตอนแรกจะให้รายเดือน แต่เด็ก ๆ กลัวทำเงินหายทั้งก้อนแล้วจะอดกินข้าวทั้งเดือน เลยต่อรองขอเป็นรายสัปดาห์แทน ส่วนคนโตพออายุครบ 16 ทำบัตร ATM ได้แล้ว ผมให้ไปเปิดบัญชีบัตร ATM แล้วโอนเงินค่าขนมให้เขาเป็นรายเดือนไปกดใช้ รับผิดชอบเอง หลาย ๆ เดือนพอเงินเขาเหลือเยอะใน ATM ก็จะถอนเงิน ออกมาฝากในบัญชีฝากประจำที่ได้ดอกเบี้ยเยอะหน่อย
5) ลูก ๆ เริ่มโตขึ้น พอรู้เรื่องของดอกเบี้ย ก็จะคอยสอนเขาให้คำนวณผลตอบแทนดู และเริ่มแนะนำให้ลูกย้ายเงินจากบัญชีออมทรัพย์ธรรมดามาเป็นแบบดอกเบี้ยสูง ตอนนี้ลูกเริ่มสนใจถึงสลากออมสิน โดยอยากจะลองซื้อเก็บในรูปแบบของสลากออมสินบ้าง
ตัวอย่างของบัญชีของลูกที่ปิดไป แล้วย้ายไปเปิดบัญชีใหม่ที่ดอกเบี้ยเยอะกว่านะครับ
ปล. ผมเก็บเล่มบัญชีไว้ให้ลูก ๆ เผื่อตอนพวกเขาโตจะได้เห็นว่าเริ่มมีเงินหลักแสนแรกตอนไหน ^^
หากใครมีวิธีที่ใช้กับลูก โดยเฉพาะเมื่อลูก ๆ เข้ามหาลัยฯ แล้วก็มาแชร์ได้นะครับ
เพราะลูกผมเองยังอยู่มัธยมปลาย และมัธยมต้นเอง ยังไปไม่ถึงช่วงนั้น ขอบคุณครับ ^^
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
คุณ neopaint2005 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม