ดีจริงต้องบอกต่อ! 10 เมนูอาหารไทย ที่อุดมด้วยไปด้วยแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
เติมแคลเซียมให้ร่างกาย ด้วยเมนูอาหารไทยหากินง่าย ไม่แน่นะ กับข้าวที่คุณทานอยู่ทุกวัน อาจมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อกระดูกและฟันแฝงอยู่
อาหารไทย อาหารประจำชาติที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์จนทำให้ชาวต่างชาติติดใจกันจนต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมารับประทานอาหารไทยแบบแท้ ๆ กันถึงบ้านเรา นอกจากจะเต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารและสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพแล้ว หลาย ๆ เมนูยอดฮิตก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยแคลเซียม สารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางทีหนึ่งในเมนูนั้นอาจเป็นจานโปรดของคุณก็ได้
ฉะนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งนอกจากการดื่มนมแล้ว การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมก็สามารถสร้างเสริมแคลเซียมให้ร่างกายได้ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอาหารไทยจานไหนบ้างที่มีปริมาณแคลเซียมสูงค่ะ
เมนูอาหารแบบเรียบง่ายนี้ขอบอกเลยว่ามีแคลเซียมสูงปรี๊ดเลยเชียวล่ะ เพราะส่วนประกอบแต่ละอย่างที่อยู่ในน้ำพริกนั้นมีแคลเซียมอยู่ทั้งนั้นเลย แถมยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่สำคัญอีกด้วย โดยในแต่ละส่วนผสมของเมนูนี้มีปริมาณแคลเซียมดังนี้ค่ะ
กะปิ : มีปริมาณแคลเซียม 1,556 มิลลิกรัม ต่อกะปิ 100 กรัม
พริกขี้หนู : มีปริมาณแคลเซียม 4 มิลลิกรัมต่อพริก 100 กรัม
กระเทียม : มีปริมาณแคลเซียม 5 มิลลิกรัมต่อกระเทียม 100 กรัม
กุ้งแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 2,305 มิลลิกรัมต่อกุ้งแห้ง 100 กรัม
หอมแดง : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
ปลาทูทอด : มีปริมาณแคลเซียม 136 มิลลิกรัมต่อปลาทู 100 กรัม
ถั่วพูเป็นอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมากพอตัว ถือเป็นอาหารชั้นยอดของในตระกูลถั่วทั้งหมด นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่นกุ้งสด พริกแห้ง และหอมเจียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งปริมาณแคลเซียมของยำถั่วพูมีดังนี้
ถั่วพู : มีปริมาณแคลเซียม 33 มิลลิกรัมต่อถั่วพู 100 กรัม
กุ้งสด : มีปริมาณแคลเซียม 63 มิลลิกรัมต่อกุ้งสด 100 กรัม
พริกแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 59 มิลลิกรัมต่อพริกแห้ง 100 กรัม
หอมแดงเจียว : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
ผักคะน้าเป็นผักที่มีปริมาณแคลเซียมสูสีกับนมสดเลยล่ะค่ะ แถมยังมีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย ใครที่ชอบรับประทานผักเมนูนี้ไม่ควรพลาดเลยเชียวล่ะ โดยปริมาณแคลเซียมในอาหารจานนี้มีดังนี้
ผักคะน้า : มีปริมาณแคลเซียม 245 มิลลิกรัมต่อผักคะน้า 100 กรัม (เทียบเท่ากับการดื่มนม 1 แก้ว)
เต้าหู้ อีกหนึ่งอาหารไทยที่ถือว่าอุดมไปด้วยแคลเซียม แถมยังมีไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนในวัยทอง เพราะเต้าหู้นั้นมีปริมาณของสารไฟโดเอสโตรเจนซึ่งถือว่าเป็นสารที่จำเป็นต่อสตรีในวัยหมดประจำเดือนที่ต้องการฮอร์โมนเอสโตรเจนค่ะ ซึ่งปริมาณของแคลเซียมของอาหารจานนี้มีเยอะกว่าที่คาดด้วยล่ะ
เต้าหู้ : มีปริมาณแคลเซียม 250 มิลลิกรัมต่อเต้าหู้ 100 กรัม
ใครจะไปเชื่อล่ะว่าเมนูก๋วยเตี๋ยวที่หลาย ๆ คนชื่นชอบจะมีแคลเซียมสูง ขอบอกเลยล่ะค่ะว่าทั้งเส้น และลูกชิ้นในก๋วยเตี๋ยวน่ะมีแคลเซียมที่ดีกับร่างกายเลย นอกจากนี้ผักอย่างเช่นถั่วงอกก็มีแคลเซียมเหมือนกัน ไปดูกันเลยว่าปริมาณแคลเซียมของอาหารจานนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง
เส้นใหญ่ : มีปริมาณแคลเซียม 10 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นเล็ก : มีปริมาณแคลเซียม 12 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นบะหมี่ : มีปริมาณแคลเซียม 78 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นหมี่ : มีปริมาณแคลเซียม 21 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
ลูกชิ้นเนื้อ : มีปริมาณแคลเซียม 8 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นหมู : มีปริมาณแคลเซียม 27 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นกุ้ง : มีปริมาณแคลเซียม 89 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นปลา : มีปริมาณแคลเซียม 64 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ถั่วงอก : มีปริมาณแคลเซียม 45 มิลลิกรัมต่อถั่วงอก 100 กรัม
เมนูพื้น ๆ ง่าย ๆ อย่างนี้ก็คงคาดไม่ถึงใช่ไหมละคะว่าจะมีปริมาณแคลเซียมสูงจนต้องเอามาแนะนำเลย เพราะนอกจากตำลึงจะมีไฟเบอร์แล้วก็ยังมีวิตามินซีและฟอสฟอรัส ที่สำคัญปริมาณแคลเซียมก็สูงเช่นกัน ยิ่งถ้าหากนำมาทำแกงจืดใส่เต้าหู้ด้วยละก็ โหย แคลเซียมจัดเต็มสุด ๆ เลยล่ะจะบอกให้
ผักตำลึง : มีปริมาณแคลเซียม 126 มิลลิกรัมต่อตำลึง 100 กรัม
เต้าหู้ : มีปริมาณแคลเซียม 250 มิลลิกรัมต่อเต้าหู้ 100 กรัม
รสชาติเปรี้ยวและเปรี้ยวจี๊ดจ๊าดของอาหารจานนี้ ขอบอกเลยว่าได้แคลเซียมไปเต็ม ๆ เพราะนอกจากแคลเซียมจากปลาตัวเล็กทอดกรอบ มะม่วง และกุ้งแห้งแล้ว วิตามินซีในน้ำมะนาวที่ใช้ในการปรุงแต่งรสชาติก็ยังช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้นอีกด้วย
มะม่วงดิบ : มีปริมาณแคลเซียม 14 มิลลิกรัมต่อมะม่วง 100 กรัม
ปลาตัวเล็กทอดกรอบ : มีปริมาณแคลเซียม 860 มิลลิกรัมต่อปลา 100 กรัม
กุ้งแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 2,305 มิลลิกรัมต่อกุ้งแห้ง 100 กรัม
หอมแดง : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ : มีปริมาณแคลเซียม 38 มิลลิกรัมต่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 100 กรัม
นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ไม่ว่าจะเป็นกุ้งฝอย หรือปลาข้าวสารทอดกรอบ ให้หลาย ๆ คนได้เลือกรับประทานกัน แต่ไม่ใช่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมกันจนลืมดื่มนมล่ะ เพราะนมเองแม้อาจจะมีแคลเซียมที่ไม่เทียบเท่ากับอาหารบางอย่างแต่ก็มีแร่ธาตุและวิตามินที่เราควรได้รับ ดื่มนมวันละแก้วควบคู่กับการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมด้วย ขอบอกเลยว่าแจ่มกว่ากันเยอะเลย
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
เติมแคลเซียมให้ร่างกาย ด้วยเมนูอาหารไทยหากินง่าย ไม่แน่นะ กับข้าวที่คุณทานอยู่ทุกวัน อาจมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อกระดูกและฟันแฝงอยู่
อาหารไทย อาหารประจำชาติที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์จนทำให้ชาวต่างชาติติดใจกันจนต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมารับประทานอาหารไทยแบบแท้ ๆ กันถึงบ้านเรา นอกจากจะเต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารและสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพแล้ว หลาย ๆ เมนูยอดฮิตก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยแคลเซียม สารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางทีหนึ่งในเมนูนั้นอาจเป็นจานโปรดของคุณก็ได้
ฉะนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งนอกจากการดื่มนมแล้ว การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมก็สามารถสร้างเสริมแคลเซียมให้ร่างกายได้ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอาหารไทยจานไหนบ้างที่มีปริมาณแคลเซียมสูงค่ะ
น้ำพริกกะปิ – ปลาทู
เมนูอาหารแบบเรียบง่ายนี้ขอบอกเลยว่ามีแคลเซียมสูงปรี๊ดเลยเชียวล่ะ เพราะส่วนประกอบแต่ละอย่างที่อยู่ในน้ำพริกนั้นมีแคลเซียมอยู่ทั้งนั้นเลย แถมยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่สำคัญอีกด้วย โดยในแต่ละส่วนผสมของเมนูนี้มีปริมาณแคลเซียมดังนี้ค่ะ
กะปิ : มีปริมาณแคลเซียม 1,556 มิลลิกรัม ต่อกะปิ 100 กรัม
พริกขี้หนู : มีปริมาณแคลเซียม 4 มิลลิกรัมต่อพริก 100 กรัม
กระเทียม : มีปริมาณแคลเซียม 5 มิลลิกรัมต่อกระเทียม 100 กรัม
กุ้งแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 2,305 มิลลิกรัมต่อกุ้งแห้ง 100 กรัม
หอมแดง : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
ปลาทูทอด : มีปริมาณแคลเซียม 136 มิลลิกรัมต่อปลาทู 100 กรัม
ยำถั่วพู
ถั่วพูเป็นอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมากพอตัว ถือเป็นอาหารชั้นยอดของในตระกูลถั่วทั้งหมด นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่นกุ้งสด พริกแห้ง และหอมเจียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งปริมาณแคลเซียมของยำถั่วพูมีดังนี้
ถั่วพู : มีปริมาณแคลเซียม 33 มิลลิกรัมต่อถั่วพู 100 กรัม
กุ้งสด : มีปริมาณแคลเซียม 63 มิลลิกรัมต่อกุ้งสด 100 กรัม
พริกแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 59 มิลลิกรัมต่อพริกแห้ง 100 กรัม
หอมแดงเจียว : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
ผักคะน้าผัดน้ำมันหอย
ผักคะน้าเป็นผักที่มีปริมาณแคลเซียมสูสีกับนมสดเลยล่ะค่ะ แถมยังมีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย ใครที่ชอบรับประทานผักเมนูนี้ไม่ควรพลาดเลยเชียวล่ะ โดยปริมาณแคลเซียมในอาหารจานนี้มีดังนี้
ผักคะน้า : มีปริมาณแคลเซียม 245 มิลลิกรัมต่อผักคะน้า 100 กรัม (เทียบเท่ากับการดื่มนม 1 แก้ว)
ลาบเต้าหู้
เต้าหู้ อีกหนึ่งอาหารไทยที่ถือว่าอุดมไปด้วยแคลเซียม แถมยังมีไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนในวัยทอง เพราะเต้าหู้นั้นมีปริมาณของสารไฟโดเอสโตรเจนซึ่งถือว่าเป็นสารที่จำเป็นต่อสตรีในวัยหมดประจำเดือนที่ต้องการฮอร์โมนเอสโตรเจนค่ะ ซึ่งปริมาณของแคลเซียมของอาหารจานนี้มีเยอะกว่าที่คาดด้วยล่ะ
เต้าหู้ : มีปริมาณแคลเซียม 250 มิลลิกรัมต่อเต้าหู้ 100 กรัม
ก๋วยเตี๋ยวใส่ลูกชิ้น
ใครจะไปเชื่อล่ะว่าเมนูก๋วยเตี๋ยวที่หลาย ๆ คนชื่นชอบจะมีแคลเซียมสูง ขอบอกเลยล่ะค่ะว่าทั้งเส้น และลูกชิ้นในก๋วยเตี๋ยวน่ะมีแคลเซียมที่ดีกับร่างกายเลย นอกจากนี้ผักอย่างเช่นถั่วงอกก็มีแคลเซียมเหมือนกัน ไปดูกันเลยว่าปริมาณแคลเซียมของอาหารจานนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง
เส้นใหญ่ : มีปริมาณแคลเซียม 10 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นเล็ก : มีปริมาณแคลเซียม 12 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นบะหมี่ : มีปริมาณแคลเซียม 78 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
เส้นหมี่ : มีปริมาณแคลเซียม 21 มิลลิกรัมต่อเส้นก๋วยเตี๋ยว 100 กรัม
ลูกชิ้นเนื้อ : มีปริมาณแคลเซียม 8 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นหมู : มีปริมาณแคลเซียม 27 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นกุ้ง : มีปริมาณแคลเซียม 89 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ลูกชิ้นปลา : มีปริมาณแคลเซียม 64 มิลลิกรัมต่อลูกชิ้น 100 กรัม
ถั่วงอก : มีปริมาณแคลเซียม 45 มิลลิกรัมต่อถั่วงอก 100 กรัม
แกงจืดตำลึง
เมนูพื้น ๆ ง่าย ๆ อย่างนี้ก็คงคาดไม่ถึงใช่ไหมละคะว่าจะมีปริมาณแคลเซียมสูงจนต้องเอามาแนะนำเลย เพราะนอกจากตำลึงจะมีไฟเบอร์แล้วก็ยังมีวิตามินซีและฟอสฟอรัส ที่สำคัญปริมาณแคลเซียมก็สูงเช่นกัน ยิ่งถ้าหากนำมาทำแกงจืดใส่เต้าหู้ด้วยละก็ โหย แคลเซียมจัดเต็มสุด ๆ เลยล่ะจะบอกให้
ผักตำลึง : มีปริมาณแคลเซียม 126 มิลลิกรัมต่อตำลึง 100 กรัม
เต้าหู้ : มีปริมาณแคลเซียม 250 มิลลิกรัมต่อเต้าหู้ 100 กรัม
ยำมะม่วงปลากรอบ
รสชาติเปรี้ยวและเปรี้ยวจี๊ดจ๊าดของอาหารจานนี้ ขอบอกเลยว่าได้แคลเซียมไปเต็ม ๆ เพราะนอกจากแคลเซียมจากปลาตัวเล็กทอดกรอบ มะม่วง และกุ้งแห้งแล้ว วิตามินซีในน้ำมะนาวที่ใช้ในการปรุงแต่งรสชาติก็ยังช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้นอีกด้วย
มะม่วงดิบ : มีปริมาณแคลเซียม 14 มิลลิกรัมต่อมะม่วง 100 กรัม
ปลาตัวเล็กทอดกรอบ : มีปริมาณแคลเซียม 860 มิลลิกรัมต่อปลา 100 กรัม
กุ้งแห้ง : มีปริมาณแคลเซียม 2,305 มิลลิกรัมต่อกุ้งแห้ง 100 กรัม
หอมแดง : มีปริมาณแคลเซียม 16 มิลลิกรัมต่อหอมแดง 100 กรัม
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ : มีปริมาณแคลเซียม 38 มิลลิกรัมต่อเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 100 กรัม
นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ไม่ว่าจะเป็นกุ้งฝอย หรือปลาข้าวสารทอดกรอบ ให้หลาย ๆ คนได้เลือกรับประทานกัน แต่ไม่ใช่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมกันจนลืมดื่มนมล่ะ เพราะนมเองแม้อาจจะมีแคลเซียมที่ไม่เทียบเท่ากับอาหารบางอย่างแต่ก็มีแร่ธาตุและวิตามินที่เราควรได้รับ ดื่มนมวันละแก้วควบคู่กับการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมด้วย ขอบอกเลยว่าแจ่มกว่ากันเยอะเลย
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข