“กระทรวงแรงงาน” เผยสถานการณ์เลิกจ้างปี 2562
หลายอาชีพเสี่ยงตกงานเพิ่มโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์
ทีวีดิจิทัล สถาบันการเงิน สถานศึกษาเอกชน หรือธุรกิจที่ใช้ AI ทดแทนได้
นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน ปี 2561(1 ม.ค.-30 พ.ย.) ว่า ปีนี้สถานการณ์การเลิกจ้างเพิ่มขึ้น จากข้อมูลผู้ประกันตนมาตรา 33 พบมีการเลิกจ้าง 259,770 คน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่มีการเลิกจ้าง
แต่ตัวเลขใกล้เคียงปี 2560 มีการเลิกจ้าง 255,385 คน จากลูกจ้างทั้งหมด 9.5 ล้านคน และอัตราการเข้าและออกจากการเป็นผู้ประกันตน เฉลี่ยไม่ต่างกันประมาณ 23,000 คน/เดือน เท่าๆ กัน
สำหรับข้อพิพาทแรงงานปีนี้ มี 44 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 37,830 คน ลดลงจากปี 2560 ที่มี 59 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 57,425 คน ซึ่งได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงิน 33,415 ล้านบาท แต่ยังเหลือข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ 20 แห่ง
ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องใช้ทุนในการดำเนินธุรกิจต่อ โดยกิจการที่มีการเลิกจ้างเพิ่มสูงขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ เกษตรกรรม การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ส่วนแนวโน้มการเลิกจ้างในปี
2562 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมทีวี
ทีวีดิจิทัล สำนักพิมพ์ ร้านค้าแบบดั้งเดิม ร้านอินเทอร์เน็ต
ร้านเช่าและจำหน่ายซีดี ดีวีดี สถาบันทางการเงิน สถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยี หรือ AI เข้ามาทำงานแทนกำลังแรงงานมากขึ้น และนายจ้างปรับโครงสร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างแบบสมัครใจลาออก ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างสูงกว่าสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม กสร.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
เรียบเรียงโดย แชร์สดออนไลน์
นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน ปี 2561(1 ม.ค.-30 พ.ย.) ว่า ปีนี้สถานการณ์การเลิกจ้างเพิ่มขึ้น จากข้อมูลผู้ประกันตนมาตรา 33 พบมีการเลิกจ้าง 259,770 คน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่มีการเลิกจ้าง
แต่ตัวเลขใกล้เคียงปี 2560 มีการเลิกจ้าง 255,385 คน จากลูกจ้างทั้งหมด 9.5 ล้านคน และอัตราการเข้าและออกจากการเป็นผู้ประกันตน เฉลี่ยไม่ต่างกันประมาณ 23,000 คน/เดือน เท่าๆ กัน
สำหรับข้อพิพาทแรงงานปีนี้ มี 44 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 37,830 คน ลดลงจากปี 2560 ที่มี 59 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 57,425 คน ซึ่งได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงิน 33,415 ล้านบาท แต่ยังเหลือข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ 20 แห่ง
ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องใช้ทุนในการดำเนินธุรกิจต่อ โดยกิจการที่มีการเลิกจ้างเพิ่มสูงขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ เกษตรกรรม การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยี หรือ AI เข้ามาทำงานแทนกำลังแรงงานมากขึ้น และนายจ้างปรับโครงสร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างแบบสมัครใจลาออก ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างสูงกว่าสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม กสร.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
AI คืออะไร
คือ วิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โปรแกรม Software (ซอฟแวร์) ต่างๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์เรียบเรียงโดย แชร์สดออนไลน์