ไม่ว่าความผิดพลาดสูญเสียในงานจะ มากมายเพียงใดก็ตาม ร้อยทั้งร้อยไม่มีคนทำงานคนไหนอยากถูกตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษ แต่สำหรับหัวหน้างานแล้วถือว่า เป็นบทบาทหนึ่งที่ต้องกระทำ ซึ่งการตำหนิและวิพาษ์วิจารณ์ความผิดพลาดนั้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกได้ การชี้หน้าโทษผู้ร่วมงานคนอื่นไปจนถึงการโยนปัณหาไปให้เป็นความรับผิดชอบของ สถานการณ์แวล้อมที่ไร้ตัวตนเสียทุกทีไป นั่นเป็นเพราะไม่มีใครอยากถูกตำหนินั่นเอง อันที่จริงแล้ว การติเตียน หรือการวิพาษ์วิจารนั่น ซ่อนพลังในเชิงบวกเอาไว้ไม่น้อย การกล่าวโทษความผิดพลาดของลูกน้องเป็นเครื่องมือของการบริหารองค์กรชนิด หนึ่ง ที่จะช่วยป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก
1. รู้จังหวะเวลาที่เหมาะสม
การทำงานคล้ายกับการแข่งขันกีฬา ตรงที่ต่างก็ตกอยู่ในเกมเหมือนกัน หัวหน้าคือโค้ชของทีม ซึ่งอยู่ในฐานะมองเกม ไกด์แนวการเล่น และตำหนิลูกทีมของตนเองได้ เมื่อเขาเล่นผิดพลาดจนทำให้ทีมเสียหายยับเยินเป้าหมายแรกของการตำหนิ ไม่มีอะไรมากไปกว่าป้องกันความเสียหายซ้ำซาก ตำหนิเพื่อไม่ให้ผู้เล่นรับผิดชอบตำแหน่งของตัวเองเต็มที่มากเกินไป และเป็นผลทางด้านจิตวิทยากับทีมโดยรวมเมื่อมีความผิดพลาดเกินขึ้น ทุกคนในทีมงานย่อมรับรู้สถานการณ์ได้เท่ากันอยู่แล้ว ถ้าหากคนทำผิดไม่ได้ตำหนิเลย จะทำให้ส่วนงานอื่นรู้สึกท้อแท้ เล่นผิดก็ถูกกล่าวโทษ ฟังดูเหมือนง่าย แต่การตำหนิไม่ใช้เรื่องง่าย ๆ เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใดควรตำหนิและเมื่อใดไม่ควร
2.ชมต่อหน้า ด่าสองต่อสอง
หัวหน้าที่ชาญฉลาด อย่าลังเลที่จะชมลูกทีมในที่สาธารณะเพื่อให้เขาเกิดกำลังใจ เกิดความเชื่อมั่นที่จะทำงานให้ดีต่อไปและยังเป็นผลดีต่อลูกทีมคนอื่นๆ ในองค์กรที่หวังจะพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เพราะเขาเกิดความมั่นใจว่าเมื่อผลงานออกมาดีแล้ว ตัวเองก็ได้รับการชมเชยบ้างเหมือนกัน
ในขณะเดียวกัน เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น การกล่าวโทษติเตียนต้องรู้กันเฉพาะนายกับลูกน้องรายนั้น ไม่ว่าสังคมไหนก็ตาม การเสียหน้าเป็นเรื่องใหญ่ ที่บั่นทอนกำลังในการทำงานทั้งสิ้น แม้แต่ความสำเร็จของงาน บางครั้งก็มีความผิดพลาดสูญเสียเจือปนมาทั้งสิ้น หัวหน้าต้องเลือกฟังเฉพาะด้านดีออกมาชม อย่างเปิดเผย ส่วนอีกด้านหนึ่ง หาเวลาเหมาะสมแล้วค่อยบอกลูกน้องว่า งานนั้นถึงจะบรรลุเป้าหมายแต่มีข้อเสียที่ควรปรับปรุงอย่างไร
3. อย่าอยู่ในความเงียบ
โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีคนทำงานคนไหนที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำงานผิดพลาด และเขามักรอคอยการกล่าวโทษจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมอยู่แล้ว ไม่ว่าเขาจะไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตามที การทำผิดแล้วถูกตำหนิเลยนั้นเลวร้ายมาก ทั้งต่อตัวคนที่ทำผิดและต่อองค์กรโดยรวมเวลาทำผิดแล้วเจ้านายไม่ตำหนิเลย เชื่อไหมว่ารู้น้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนทำงานที่ไร้ค่า ความเงียบของเจ้านายทำให้เขารู้สึกว่าเจ้านายคิดว่าเขา "Hopeless" คนทำงานผิดพลาดแล้วไม่ถูกตำหนิ ถ้าไม่ใช้ลูกน้องเส้นใหญ่หรือเจ้านายบ๊องตื้นแล้วล่ะก็มันมีความหมายว่าลูก น้องรายนั้นไม่มีการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าถูกตำหนิอย่างไร เขาคงไม่สามารถทำงานได้ดีกว่านี้อีกแล้ว เมื่อเป็นแบบนั้น เขาจะทำงานด้วยความรู้สึกกังวลกว่าเดิม แต่ถ้าหากทำงานผิดพลาดแล้วถูกตำหนิเลย จะประหนึ่งเป็นสัญญาณที่ช่วยให้เขาประเมินแต้มของตัวเองได้ ลงมือฮึดสู้ใหม่ เพราะฉะนั้นตำหนิลูกน้องเถอะ อย่าลังเล
3 ทิปส์การตำหนิ และให้ฟีดแบ็คเชิงลบ ในที่ทำงาน
การทำงานคล้ายกับการแข่งขันกีฬา ตรงที่ต่างก็ตกอยู่ในเกมเหมือนกัน หัวหน้าคือโค้ชของทีม ซึ่งอยู่ในฐานะมองเกม ไกด์แนวการเล่น และตำหนิลูกทีมของตนเองได้ เมื่อเขาเล่นผิดพลาดจนทำให้ทีมเสียหายยับเยินเป้าหมายแรกของการตำหนิ ไม่มีอะไรมากไปกว่าป้องกันความเสียหายซ้ำซาก ตำหนิเพื่อไม่ให้ผู้เล่นรับผิดชอบตำแหน่งของตัวเองเต็มที่มากเกินไป และเป็นผลทางด้านจิตวิทยากับทีมโดยรวมเมื่อมีความผิดพลาดเกินขึ้น ทุกคนในทีมงานย่อมรับรู้สถานการณ์ได้เท่ากันอยู่แล้ว ถ้าหากคนทำผิดไม่ได้ตำหนิเลย จะทำให้ส่วนงานอื่นรู้สึกท้อแท้ เล่นผิดก็ถูกกล่าวโทษ ฟังดูเหมือนง่าย แต่การตำหนิไม่ใช้เรื่องง่าย ๆ เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใดควรตำหนิและเมื่อใดไม่ควร
หัวหน้าที่ชาญฉลาด อย่าลังเลที่จะชมลูกทีมในที่สาธารณะเพื่อให้เขาเกิดกำลังใจ เกิดความเชื่อมั่นที่จะทำงานให้ดีต่อไปและยังเป็นผลดีต่อลูกทีมคนอื่นๆ ในองค์กรที่หวังจะพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เพราะเขาเกิดความมั่นใจว่าเมื่อผลงานออกมาดีแล้ว ตัวเองก็ได้รับการชมเชยบ้างเหมือนกัน
ในขณะเดียวกัน เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น การกล่าวโทษติเตียนต้องรู้กันเฉพาะนายกับลูกน้องรายนั้น ไม่ว่าสังคมไหนก็ตาม การเสียหน้าเป็นเรื่องใหญ่ ที่บั่นทอนกำลังในการทำงานทั้งสิ้น แม้แต่ความสำเร็จของงาน บางครั้งก็มีความผิดพลาดสูญเสียเจือปนมาทั้งสิ้น หัวหน้าต้องเลือกฟังเฉพาะด้านดีออกมาชม อย่างเปิดเผย ส่วนอีกด้านหนึ่ง หาเวลาเหมาะสมแล้วค่อยบอกลูกน้องว่า งานนั้นถึงจะบรรลุเป้าหมายแต่มีข้อเสียที่ควรปรับปรุงอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีคนทำงานคนไหนที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำงานผิดพลาด และเขามักรอคอยการกล่าวโทษจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมอยู่แล้ว ไม่ว่าเขาจะไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตามที การทำผิดแล้วถูกตำหนิเลยนั้นเลวร้ายมาก ทั้งต่อตัวคนที่ทำผิดและต่อองค์กรโดยรวมเวลาทำผิดแล้วเจ้านายไม่ตำหนิเลย เชื่อไหมว่ารู้น้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนทำงานที่ไร้ค่า ความเงียบของเจ้านายทำให้เขารู้สึกว่าเจ้านายคิดว่าเขา "Hopeless" คนทำงานผิดพลาดแล้วไม่ถูกตำหนิ ถ้าไม่ใช้ลูกน้องเส้นใหญ่หรือเจ้านายบ๊องตื้นแล้วล่ะก็มันมีความหมายว่าลูก น้องรายนั้นไม่มีการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าถูกตำหนิอย่างไร เขาคงไม่สามารถทำงานได้ดีกว่านี้อีกแล้ว เมื่อเป็นแบบนั้น เขาจะทำงานด้วยความรู้สึกกังวลกว่าเดิม แต่ถ้าหากทำงานผิดพลาดแล้วถูกตำหนิเลย จะประหนึ่งเป็นสัญญาณที่ช่วยให้เขาประเมินแต้มของตัวเองได้ ลงมือฮึดสู้ใหม่ เพราะฉะนั้นตำหนิลูกน้องเถอะ อย่าลังเล