เตือนคนไทยคิดก่อนใช้ “ยาปฏิชีวนะ”
ลองเช็คตัวเองดูว่า คุณเคยเป็นอย่างนี้ไหม?
- คอแดง ไอ เป็นหวัดทีไร ก็ไปซื้อยามากิน
- ไปหาหมอทีไรขอยาแรงๆ ไว้ก่อน เพราะกลัวไม่หาย ต้องยาแรงดักไว้ก่อน
- อาการดีขึ้นแล้ว ไม่ต้องกินยาให้ครบก็ได้ เก็บไว้กินตอนป่วยครั้งหน้า
หากคุณเคยทำอย่างนี้ คุณมีส่วนสร้างเชื้อดื้อยาในตัวเอง
องค์การอนามัยโลกออกโรงเตือน ระบุทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตเพราะเชื้อดื้อยาถึงปีละ 10 ล้านคน สร้างความเสียหายถึง 3,500 ล้านล้านบาท
ทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะเชื้อดื้อยา
สถานการณ์ในไทยยิ่งน่าหวั่น เพราะรายงานการวิจัยระบุว่าในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน สูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 46,000 ล้านบาท
2 คำถาม เพื่อถามตัวเอง ก่อนกินยาปฏิชีวนะ
1 ไวรัสหรือแบคทีเรีย?
ไข้หวัดเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าต้องกินยาปฏิชีวนะ ทั้งที่จริงแล้ว ไข้หวัดร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งหากเกิดจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถกำจัดเองได้ การใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาต้านแบคทีเรียจึงไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้
แนะนำให้ดูในลำคอด้านในว่าเพราะเชื้ออะไรกันแน่ ถ้าเป็นเพราะเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก แต่จะมีต่อมทอนซิลโต แดงจัด และมีจุดหนอง ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ
แต่หากเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกและไอ ทอนซิลบวมแดงแต่ไม่มีจุดหนองและคอแดง ซึ่งร่างกายเรามีภูมิต้านทานช่วยรักษาให้หายเองได้ แนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอก็หายได้ โดยไข้ควรจะลงภายในเวลาประมาณ 3 วัน
หากใน 1-2 สัปดาห์ยังไม่หาย มีสาเหตุหลายอย่าง ไม่ใช่เพราะเชื้อดื้อยาหรือมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเสมอไป ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และรับยาที่ถูกโรค และคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
2 จำเป็นจริงๆ หรือไม่?
ยังมีอีกสองโรคที่ต้องหยุดคิดก่อนใช้ยาปฏิชีวนะเพราะความเคยชิน นั่นคือท้องเสีย และแผลสด
อาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คือการมีมูกเลือด แต่ถ้าท้องเสียธรรมดาไม่มีอาการปวดเบ่ง ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ก็รักษาตามอาการไม่ต้องกินยา
เมื่อเป็นแผลเลือดออก หรือที่มักเรียกว่า แผลสด ถ้าไม่มีโรคประจำตัวประเภทภูมิต้านทานต่ำ หรือไม่ใช่ผู้สูงอายุ แผลนั้นจะหายได้เองตามกลไกการรักษาตัวเองของร่างกายเรา เราแค่ล้างแผล ทำแผลให้สะอาดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะกันไว้ก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ยังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นแชร์ต่อไปให้มากทีสุด เพื่อให้การกินยาครั้งต่อไปเป็นการรักษาชีวิตอย่างแท้จริง และเพื่อหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี หยุดสร้างเชื้อดื้อยาให้ตัวเอง
สนใจดูรายละเอียดเต็มๆ คลิกที่ http://atb-aware.thaidrugwatch.org
และ facebook: Antibiotic Awareness Thailand
ลองเช็คตัวเองดูว่า คุณเคยเป็นอย่างนี้ไหม?
- คอแดง ไอ เป็นหวัดทีไร ก็ไปซื้อยามากิน
- ไปหาหมอทีไรขอยาแรงๆ ไว้ก่อน เพราะกลัวไม่หาย ต้องยาแรงดักไว้ก่อน
- อาการดีขึ้นแล้ว ไม่ต้องกินยาให้ครบก็ได้ เก็บไว้กินตอนป่วยครั้งหน้า
หากคุณเคยทำอย่างนี้ คุณมีส่วนสร้างเชื้อดื้อยาในตัวเอง
องค์การอนามัยโลกออกโรงเตือน ระบุทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตเพราะเชื้อดื้อยาถึงปีละ 10 ล้านคน สร้างความเสียหายถึง 3,500 ล้านล้านบาท
ทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะเชื้อดื้อยา
สถานการณ์ในไทยยิ่งน่าหวั่น เพราะรายงานการวิจัยระบุว่าในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน สูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 46,000 ล้านบาท
2 คำถาม เพื่อถามตัวเอง ก่อนกินยาปฏิชีวนะ
1 ไวรัสหรือแบคทีเรีย?
ไข้หวัดเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าต้องกินยาปฏิชีวนะ ทั้งที่จริงแล้ว ไข้หวัดร้อยละ 80 เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งหากเกิดจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถกำจัดเองได้ การใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาต้านแบคทีเรียจึงไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้
แนะนำให้ดูในลำคอด้านในว่าเพราะเชื้ออะไรกันแน่ ถ้าเป็นเพราะเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก แต่จะมีต่อมทอนซิลโต แดงจัด และมีจุดหนอง ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ
แต่หากเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกและไอ ทอนซิลบวมแดงแต่ไม่มีจุดหนองและคอแดง ซึ่งร่างกายเรามีภูมิต้านทานช่วยรักษาให้หายเองได้ แนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอก็หายได้ โดยไข้ควรจะลงภายในเวลาประมาณ 3 วัน
หากใน 1-2 สัปดาห์ยังไม่หาย มีสาเหตุหลายอย่าง ไม่ใช่เพราะเชื้อดื้อยาหรือมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเสมอไป ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และรับยาที่ถูกโรค และคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
2 จำเป็นจริงๆ หรือไม่?
ยังมีอีกสองโรคที่ต้องหยุดคิดก่อนใช้ยาปฏิชีวนะเพราะความเคยชิน นั่นคือท้องเสีย และแผลสด
อาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คือการมีมูกเลือด แต่ถ้าท้องเสียธรรมดาไม่มีอาการปวดเบ่ง ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ก็รักษาตามอาการไม่ต้องกินยา
เมื่อเป็นแผลเลือดออก หรือที่มักเรียกว่า แผลสด ถ้าไม่มีโรคประจำตัวประเภทภูมิต้านทานต่ำ หรือไม่ใช่ผู้สูงอายุ แผลนั้นจะหายได้เองตามกลไกการรักษาตัวเองของร่างกายเรา เราแค่ล้างแผล ทำแผลให้สะอาดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะกันไว้ก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ยังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นแชร์ต่อไปให้มากทีสุด เพื่อให้การกินยาครั้งต่อไปเป็นการรักษาชีวิตอย่างแท้จริง และเพื่อหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี หยุดสร้างเชื้อดื้อยาให้ตัวเอง
สนใจดูรายละเอียดเต็มๆ คลิกที่ http://atb-aware.thaidrugwatch.org
และ facebook: Antibiotic Awareness Thailand