หากลำไส้เรามีจุลชีพที่ดี
ก็จะต้องทำให้สุขภาพไปด้วย เรามาดู 10
แนวทางกู้คืนสมดุลจุลชีพดีในลำไส้เพื่อทำให้เรามีสุขภาพที่ดีจาก เพจ
หมอหล่อคอเล่า กันค่ะ ว่าคุณหมอรวบรวมอะไรมาบอกเราบ้าง
1.เลี่ยงอาหารขยะ หรือฟาสต์ฟู้ด
จากงานวิจัยที่ผ่านมามากมายทั้งในหนูทดลองและในมนุษย์ พบว่า การรับประทาน อาหารขยะหรือฟาสต์ฟู้ด (แป้ง น้ำตาล เกลือโซเดี่ยม และไขมันทรานส์สูง) เป็นประจำติดต่อกันนาน ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นที่จุลชีพดีในลำไส้ (Microbiome) ของเราโดนยึดไปจากจุลชีพที่ไม่ดี ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้นและอ้วนในที่สุด เพราะฉะนั้น เลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดได้จะดีมาก
2.กินอาหารที่มีเส้นใย
อาหารของบรรดาเหล่าจุลชีพดีในลำไส้
คือ อาหารที่มีเส้นใยอาหาร (Dietary fibers) มาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้
ธัญพืชนานาชนิด หรือเราเรียกว่า พรีไบโอติก (Prebiotics) แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเป็นประจำ
3.ออกกำลังกายเป็นประจำ
มีงานวิจัยออกมาว่า การออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ทำให้เพิ่มความหลากหลายของจุลชีพที่ดีในลำไส้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้จุลชีพเหล่านี้สร้างกรดไขมันสายสั้น
ๆ (SCFA) คือ บิวไทเรต (Butyrate) ออกมามากอีกด้วย
บิวไทเรตมีความสำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่ เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอจึงทำให้เราไม่อ้วนและยังมีสุขภาพดีด้วยเหตุผลนี้อีกข้อหนึ่งนั่นเอง
4.กินอาหารเมดิเตอร์เรเนี่ยน
การรับประทาน
อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean diet) ให้มากขึ้นอีกนิด
อาหารแบบนี้ ได้แก่ ผัก ผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง
ขนมปังโฮลวีท ฯลฯ ถั่ว ปลา ชีส และน้ำมันมะกอก
(มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือ โอเลอิก
อะซิดในสัดส่วนที่สูงดีต่อสุขภาพ) เป็นต้น
5.กินโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลน้อง
การกินโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลน้อย
(Low sugar) ให้มากขึ้น
เนื่องจากมีแบคทีเรียดีอยู่ในโยเกิร์ตบ้างไม่มากก็น้อย
เเต่ควรเลือกเป็นสูตร Low sugar เพราะการได้น้ำตาลที่มาก ๆ จากโยเกิร์ตที่เราทานนั้น
(ซึ่งปัจจุบันชอบเน้นว่า Low fat แต่ในขณะเดียวกันกลับ High sugar)
อาจส่งผลตรงกันข้าม คือ ลดจุลชีพดี เพิ่มจุลชีพที่ไม่ดีในลำไส้นั่นเอง
6.หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ
7.เสริมโปรไบโอติกส์
เสริมโปรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือ จุลชีพที่ดี เพื่อเติมกองทัพทหารรักษาการณ์ให้กับลำไส้ของเราให้มากขึ้น ปัจจุบันมีขายในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่หาซื้อได้ง่ายมากขึ้น
8.ลดการกินเนื้อแดง
กินแต่พอดีไม่มากและบ่อยจนเกินไป
เนื่องจากในเนื้อแดงจะมีปริมาณสาร L-carnitine ที่สูง
โดยทั่วไปเรามักชินกับชื่อสารนี้ว่าช่วยเผาผลาญไขมันในผู้ที่ออกกำลังกาย
แต่ในทางตรงกันข้ามการที่ได้รับในปริมาณที่สูงบ่อย ๆ
จะทำให้จุลชีพกลุ่มหนึ่งในลำไส้เราเปลี่ยน L-carnitine ไปเป็นสารที่ชื่อว่า
TMA (Trimethylamine) ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสารที่ชื่อว่า TMAO
(Trimethylamine-N-oxide)
ซึ่งเป็นตัวการของการเกิดภาวะหลอดเลือดเเดงเเข็งตัว (Atherosclerosis)
จนนำมาซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง
9.ดการอักเสบเรื้อรัง ในร่างกายให้ได้
เนื่องจากการอักเสบเรื้อรัง
มีสาเหตุมาจากหลายอย่างนอกเหนือจากเรื่องของอาหารการกินเเล้ว
ยังมาจากความเครียดสะสมและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีอีกด้วย เช่น
การนอนดึก การอดอาหารมื้อเช้า การออกกำลังกายที่มากเกินไป (Over training)
หรือแม้เเต่การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราอีกด้วย เช่น
โลหะหนัก สารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ อาหารต่าง ๆ นั่นเอง