สินเชื่อบ้าน
และที่อยู่อาศัย สำหรับใครหลายคนที่กำลังสร้างครอบครัว
ต้องการมีบ้านเพื่อสร้างความมั่นคง ในวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
สินเชื่อบ้าน ว่ามีที่ไหนบ้างมีอัตราดอกเบี้ยถูก
และขอกู้ง่ายที่สุดมาฝากค่ะ รายละเอียดตามนี้เลย
การตัดสินใจซื้อ หรือสร้างบ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง
คุณจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวบ้าน
รวมถึงการวางแผนด้านการเงิน
เรื่องของการกู้ซื้อบ้าน หรือขอสินเชื่อบ้านจากสถาบันการเงินต่าง ๆ
จะต้องมีความรู้และความเข้าใจ เพราะนี้คือ “ภาระผูกพันในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ซื้อบ้าน
หรือการกู้เงินสร้างบ้าน มาเป็นแนวทางให้คุณเตรียมความพร้อมก่อนตัว
ก่อนในตัดสินใจ
การซื้อบ้านเป็นเรื่องสำคัญ
บ้านไม่ใช่สิ่งของที่คุณหาซื้อได้บ่อย ดังนั้น ในการซื้อบ้านแต่ละครั้ง คุณต้องตัดสินให้ดี นอกจากเลือกจากปัจจัยเกี่ยวกับบ้าน โครงการ และความปลอดภัยแล้ว ยังต้องมีการวางแผนทางด้านการเงินอย่างรอบคอบอีกด้วย เพราะการซื้อบ้านแต่ละครั้ง ไม่ใช่จะจบเพียงแค่ราคาบ้านตอนที่ซื้อเท่านั้น บ้านจึงเป็นภาระผูกพันระยะยาว ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา อย่างเช่น การตกแต่งภายนอก ภายใน เฟอนิเจอร์อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ การต่อเติมซ่อมแซม ตลอดจนค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ตามมาได้ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าส่วนกลางของโครงการ รวมถึงการผ่อนบ้านรายเดือน เป็นระยะเวลาหลายสิบปี ดังนั้น การพิจารณาซื้อบ้านคุณจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และต้องมีการวางแผนการเงินที่ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้
สินเชื่อบ้านคืออะไร
สินเชื่อบ้าน เป็นเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาล์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนอง ให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ
หากคุณมีบ้าน และมีสินเชื่อบ้านอยู่แล้ว แต่ต้องการไถ่ถอนสินเชื่อเดิม เพื่อขอสินเชื่อใหม่ กับสถาบันการเงินหรือธนาคารอื่น ที่มีข้อเสนอดอกเบี้ย และระยะเวลาผ่อนชำระที่ดีกว่า วิธีการนี้เรียกว่า “การรีไฟแนนซ์” หรือ “รีไฟแนนซ์บ้าน”
สินเชื่อบ้านในประเทศไทยเป็นอย่างไร
สินเชื่อบ้านที่ได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารแล้ว จะต้องมีการทำสัญญา กับสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อ เพื่อระบุจำนวนเงินผ่อนชำระรายเดือน และระยะเวลาหรือจำนวนงวดในการผ่อนชำระ ซึ่งโดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะอ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ย MLR (Minimum Loan Rate) ซึ่งจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ สำหรับเงินกู้ หรือ MRR (Minimum Retail Rate)
ยกตัวอย่าง : ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ (MRR) อยู่ที่ 6.6% ในปัจจุบัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย เท่ากับ MRR -2.3% ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ 4.3% (คำนวณจาก 6.6%)
สำหรับในการผ่อนชำระหนี้ หรือสินเชื่อนั้น จะต้องผ่านชำระเป็นรายเดือน เป็นจำนวนเดือน หรือจำนวนงวดตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา จนครบเต็มตามจำนวนเงินต้น และดอกเบี้ย โดยในช่องแรกของการผ่อนชำระนั้น เงินผ่อนชำระส่วนใหญ่จะเป็นการชำระในส่วนของดอกเบี้ย เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง เงินผ่อนชำระส่วนใหญ่จึงจะกลายเป็นชำระในส่วนของเงินต้น
คำคัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการกู้เงิน
• MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ระยะยาว ที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละสถาบันการเงินจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของสถาบันการเงินนั้น อัตราดอกเบี้ย MLR เป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจการเงินในขณะนั้นด้วย
• เงินดาวน์ (Down Payment) หรือการวางเงินดาวน์ ที่ได้ยินบ่อย ๆ เวลาซื้อที่บ้าน หรือพักอาศัย เงินดาวน์ เป็นเงินมัดจำที่ชำระล่างหน้าตอนที่ตกลงซื้อ โดยทั่วไปเงินดาวน์มักถูกกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่พักอาศัย การขอสินเชื่อในประเทศไทย สถาบันการเงิน หรือธนาคารส่วนมากมักจะให้กู้หรือให้สินเชื่อไม่เกิน 90% ของราคาที่อยู่อาศัย ดังนั้น การวางเงินดาวน์ในการซื้อบ้านจะต้องวางอย่างต่ำ 10% ของราคาบ้าน
• การยึดอสังหาริมทรัพย์ (Foreclosure) ก็คือ การที่สถาบันการเงินหรือธนาคารเข้ายึดครอง หรือ Repossess ที่พักอาศัยของคุณ เพื่อนำไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาชำระยอดคงค้างของเงินกู้ยืมของคุณ ซึ่งการยึดที่พักอาศัยนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณค้างการจ่ายผ่อนชำระค่างวดเงินกู้ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานๆ
• ระยะเวลาการผ่อนชำระ (Loan Tenure) เป็นการผ่อนชำระเงินกู้ หรือสินเชื่อในระยะยาว ผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือจำนวนงวดที่ผ่อนจ่าย ตามระยะเวลาการผ่อนชำระที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ระยะเวลาผ่อนชำระ (Loan Tenure) ที่นานกว่าสินเชื่ออื่น ๆ แต่จะมีระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี ซึ่งระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามอายุของผู้ขอกู้ในขณะนั้นด้วย หากผู้ขอกู้มีอายุมาก ก็จะได้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ จำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือน หรือรายงวดจะสูง เพื่อที่จะชำระหนี้ได้ครบตามจำนวนในระยะเวลาการผ่อนที่สั้นลงนั่นเอง
หมายเหตุ : ข้อมูลในตารางเรานำมาจากธนาคารต่าง ๆ โดยตรง เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2559 (ทั้งนี้ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารฯ)
ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
การซื้อบ้านเป็นเรื่องสำคัญ
บ้านไม่ใช่สิ่งของที่คุณหาซื้อได้บ่อย ดังนั้น ในการซื้อบ้านแต่ละครั้ง คุณต้องตัดสินให้ดี นอกจากเลือกจากปัจจัยเกี่ยวกับบ้าน โครงการ และความปลอดภัยแล้ว ยังต้องมีการวางแผนทางด้านการเงินอย่างรอบคอบอีกด้วย เพราะการซื้อบ้านแต่ละครั้ง ไม่ใช่จะจบเพียงแค่ราคาบ้านตอนที่ซื้อเท่านั้น บ้านจึงเป็นภาระผูกพันระยะยาว ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา อย่างเช่น การตกแต่งภายนอก ภายใน เฟอนิเจอร์อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ การต่อเติมซ่อมแซม ตลอดจนค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ตามมาได้ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าส่วนกลางของโครงการ รวมถึงการผ่อนบ้านรายเดือน เป็นระยะเวลาหลายสิบปี ดังนั้น การพิจารณาซื้อบ้านคุณจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และต้องมีการวางแผนการเงินที่ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้
สินเชื่อบ้านคืออะไร
สินเชื่อบ้าน เป็นเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาล์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนอง ให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ
หากคุณมีบ้าน และมีสินเชื่อบ้านอยู่แล้ว แต่ต้องการไถ่ถอนสินเชื่อเดิม เพื่อขอสินเชื่อใหม่ กับสถาบันการเงินหรือธนาคารอื่น ที่มีข้อเสนอดอกเบี้ย และระยะเวลาผ่อนชำระที่ดีกว่า วิธีการนี้เรียกว่า “การรีไฟแนนซ์” หรือ “รีไฟแนนซ์บ้าน”
สินเชื่อบ้านในประเทศไทยเป็นอย่างไร
สินเชื่อบ้านที่ได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารแล้ว จะต้องมีการทำสัญญา กับสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อ เพื่อระบุจำนวนเงินผ่อนชำระรายเดือน และระยะเวลาหรือจำนวนงวดในการผ่อนชำระ ซึ่งโดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะอ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ย MLR (Minimum Loan Rate) ซึ่งจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ สำหรับเงินกู้ หรือ MRR (Minimum Retail Rate)
ยกตัวอย่าง : ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ (MRR) อยู่ที่ 6.6% ในปัจจุบัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย เท่ากับ MRR -2.3% ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ 4.3% (คำนวณจาก 6.6%)
สำหรับในการผ่อนชำระหนี้ หรือสินเชื่อนั้น จะต้องผ่านชำระเป็นรายเดือน เป็นจำนวนเดือน หรือจำนวนงวดตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา จนครบเต็มตามจำนวนเงินต้น และดอกเบี้ย โดยในช่องแรกของการผ่อนชำระนั้น เงินผ่อนชำระส่วนใหญ่จะเป็นการชำระในส่วนของดอกเบี้ย เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง เงินผ่อนชำระส่วนใหญ่จึงจะกลายเป็นชำระในส่วนของเงินต้น
คำคัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการกู้เงิน
• MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ระยะยาว ที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละสถาบันการเงินจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของสถาบันการเงินนั้น อัตราดอกเบี้ย MLR เป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจการเงินในขณะนั้นด้วย
• เงินดาวน์ (Down Payment) หรือการวางเงินดาวน์ ที่ได้ยินบ่อย ๆ เวลาซื้อที่บ้าน หรือพักอาศัย เงินดาวน์ เป็นเงินมัดจำที่ชำระล่างหน้าตอนที่ตกลงซื้อ โดยทั่วไปเงินดาวน์มักถูกกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่พักอาศัย การขอสินเชื่อในประเทศไทย สถาบันการเงิน หรือธนาคารส่วนมากมักจะให้กู้หรือให้สินเชื่อไม่เกิน 90% ของราคาที่อยู่อาศัย ดังนั้น การวางเงินดาวน์ในการซื้อบ้านจะต้องวางอย่างต่ำ 10% ของราคาบ้าน
• การยึดอสังหาริมทรัพย์ (Foreclosure) ก็คือ การที่สถาบันการเงินหรือธนาคารเข้ายึดครอง หรือ Repossess ที่พักอาศัยของคุณ เพื่อนำไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาชำระยอดคงค้างของเงินกู้ยืมของคุณ ซึ่งการยึดที่พักอาศัยนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณค้างการจ่ายผ่อนชำระค่างวดเงินกู้ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานๆ
• ระยะเวลาการผ่อนชำระ (Loan Tenure) เป็นการผ่อนชำระเงินกู้ หรือสินเชื่อในระยะยาว ผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือจำนวนงวดที่ผ่อนจ่าย ตามระยะเวลาการผ่อนชำระที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ระยะเวลาผ่อนชำระ (Loan Tenure) ที่นานกว่าสินเชื่ออื่น ๆ แต่จะมีระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี ซึ่งระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามอายุของผู้ขอกู้ในขณะนั้นด้วย หากผู้ขอกู้มีอายุมาก ก็จะได้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ จำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือน หรือรายงวดจะสูง เพื่อที่จะชำระหนี้ได้ครบตามจำนวนในระยะเวลาการผ่อนที่สั้นลงนั่นเอง
หมายเหตุ : ข้อมูลในตารางเรานำมาจากธนาคารต่าง ๆ โดยตรง เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2559 (ทั้งนี้ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารฯ)