ข่าวดี! เริ่มให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี! แล้วค่ะ #แชร์ส่งต่อกันนะคะ พ.ศ. 2560
กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้เห็นชอบ และให้บรรจุ วัคซีนมะเร็ง ปากมดลูก (วัคซีน HPV) เอาไว้ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ นับเป็นวัคซีนตัวที่ 11 ในรอบ 17 ปี ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2560 นี้
ภายในปี 2560 นี้ จะมีการนำร่องให้บริการวัคซีน HPV โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กหญิง ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประมาณ 400,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นวัยที่เหมาะสมในการได้รับวัคซีนมากที่สุด สำหรับการรับวัคซีนและสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จากเดิมที่จะต้องฉีดถึง 3 เข็ม เปลี่ยนเป็น ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน
มะเร็งปากมดลูก นับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของหญิงไทย นับเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ซึ่งมีหญิงไทยเสียชีวิตมากถึงวันละ 14 คน หรือปีละประมาณ 5,000 คน และมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นปีละกว่า 10,000 คน
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้หญิงในช่วง 35 ? 60 ปี สาเหตุสำคัญคือการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าติดเชื้อ HPV แล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือบางคนอาจใช้เวลานานถึง 15 ปี จึงจะแสดงอาการ สามารถเกิดได้จากการมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกมาก และมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง และถ้ามีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส และหนองใน ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 ปี จะมีความเสี่ยง 1.3 เท่า นาน 10 ปี มีความเสี่ยง 2.5 เท่า และคุณแม่ที่คลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง อาจมีความเสี่ยงถึง 2-3 เท่า
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการเสียชีวิตอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัคซีน HPV ยังเป็นวัคซีนที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เตรียมขยายสิทธิประโยชน์ด้านวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่มเติม ในปี 2560 เพื่อรองรับการให้บริการวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV ในสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพเรียบร้อยแล้ว ถ้าคุณแม่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422
ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก thaijobsgov
กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้เห็นชอบ และให้บรรจุ วัคซีนมะเร็ง ปากมดลูก (วัคซีน HPV) เอาไว้ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ นับเป็นวัคซีนตัวที่ 11 ในรอบ 17 ปี ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2560 นี้
ภายในปี 2560 นี้ จะมีการนำร่องให้บริการวัคซีน HPV โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กหญิง ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประมาณ 400,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นวัยที่เหมาะสมในการได้รับวัคซีนมากที่สุด สำหรับการรับวัคซีนและสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จากเดิมที่จะต้องฉีดถึง 3 เข็ม เปลี่ยนเป็น ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน
มะเร็งปากมดลูก นับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของหญิงไทย นับเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ซึ่งมีหญิงไทยเสียชีวิตมากถึงวันละ 14 คน หรือปีละประมาณ 5,000 คน และมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นปีละกว่า 10,000 คน
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้หญิงในช่วง 35 ? 60 ปี สาเหตุสำคัญคือการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าติดเชื้อ HPV แล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือบางคนอาจใช้เวลานานถึง 15 ปี จึงจะแสดงอาการ สามารถเกิดได้จากการมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกมาก และมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง และถ้ามีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส และหนองใน ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 ปี จะมีความเสี่ยง 1.3 เท่า นาน 10 ปี มีความเสี่ยง 2.5 เท่า และคุณแม่ที่คลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง อาจมีความเสี่ยงถึง 2-3 เท่า
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการเสียชีวิตอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัคซีน HPV ยังเป็นวัคซีนที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เตรียมขยายสิทธิประโยชน์ด้านวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่มเติม ในปี 2560 เพื่อรองรับการให้บริการวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV ในสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพเรียบร้อยแล้ว ถ้าคุณแม่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422
ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก thaijobsgov