อ่านไว้ก็ดี!! นี่คือ 12 สัญญาณ..บ่งบอกว่าเป็นโรคไต!! คุณมีใกล้เคียงสักข้อไหม?

อ่านไว้ก็ดี!! นี่คือ 12 สัญญาณ..บ่งบอกว่าเป็นโรคไต!! คุณมีใกล้เคียงสักข้อไหม?

 ไต ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ช่วยในการขจัดของเสียต่างๆในร่างกาย ในวันนี้เราจึงอยากมานำเสนอ 12 สัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคไต

โรคไต (Kidney disease)


• เกิดจากไตทำงานผิดปกติ ไตจะทำงานได้ลดลง

• ก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ

• ส่งผลกระทบให้การทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย

• การที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย

โรคไต สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ


1. โรคไตเฉียบพลัน

• พบได้น้อย

• สามารถรักษาหายในระยะเวลาสั้นๆ

• อาทิเช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

2. โรคไตเรื้อรัง

• พบได้สูง

• ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรตไตเรื้อรังคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจหาโรคไต ได้แก่

• ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพราะการทำงานของไตจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น

• ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

• ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ

• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

• ผู้ที่เป็นโรคไตอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคไตอักเสบ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคเกาต์ โรคไตอักเสบชนิดไม่ใช่ติดเชื้อโรค

• ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไตชนิดใดชนิดหนึ่ง

• ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นซ้ำๆ หลายครั้ง

• ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจกำลังจะเป็นโรคไต


1. ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

• ปัสสาวะเป็นเลือด

• อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม

• ปัสสาวะเป็นฟองมาก

• เนื่องจากมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่

• ปัสสาวะขุ่น

2. การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ

• การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ

• ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ

• อาการที่กล่าวไปป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะเช่น กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ

3. คัน

• อาจเกิดจากการระคายเคืองผิวหนังจากของเสียต่างๆ

4. ซีดหรือโลหิตจาง

• มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

• เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป

• มาจากผลของมีของเสียสะสมในร่างกาย

5. คลื่นไส้ อาเจียน

• อาจเกิดจากการสะสมของของเสียเช่นกัน

6. มีน้ำในร่างกายมาก

• เนื่องจากไตขับออกไม่ได้

• ทำให้เกิดอาการบวม

• มักเริ่มที่เท้าและรอบดวงตาก่อน

• เมื่อเป็นมากขึ้นจะเกิดอาการของไตวาย เช่น สับสน โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

7. ปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย

• เป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

8. มีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง

• คุณอาจเป็นโรคไตเป็นถุงน้ำ

• การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

9. ปวดหลัง

• ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ

• มักมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบริเวณไตคือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

10. ความดันโลหิตสูง

• เนื่องมาจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต

• ไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูงได้

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต


• ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด

• เนื่องจากเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

• การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายมีการสะสมของเสียมากเกินไป

***อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง***


1. อาหารที่มีโซเดียมสูง

• เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง

• อาหารรสจืดแต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบเช่น ขนมปังเนื่องจากมีการใช้ผงฟู

2. อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

• เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน

3. อาหารที่มีฟอสฟอรัส

• เช่น รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู

• ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เ

4. หมู่โปรตีนบางชนิด

• เช่นเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง

• เนื้อสัตว์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ทำให้ไตทำงานขับถ่ายของเสียหนักขึ้น เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว

ข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้อง


1. ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้ออาหาร

• ครอบคลุมหมู่อาหารทั้ง 5

• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อไต

2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ

• ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล

• ซึ่งในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน

3. ผู้มีภาวะไตเรื้อรัง

• ห้ามใช้ซอสปรุงรสเทียม เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม

• หากต้องการเพิ่มรสชาติอาหารให้ใช้เครื่องเทศแทน

4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน

• น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ

• ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้นคือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ก็ได้ทราบถึง 12 สัญญาณ บ่งบอกว่าเป็นโรคไตกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากใครที่มีข้อสงสัยว่าตนเป็นโรคไตหรือไม่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างถูกวิธี ถ้าหากเป็นจะได้หาทางรักษาได้อย่างทันท่วงที