ผู้หญิงทุกคนต้องอ่าน! 7 ความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ รู้ก่อนรักษาทัน

ผู้หญิงทุกคนต้องอ่าน! 7 ความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ รู้ก่อนรักษาทัน


โรคมะเร็งรังไข่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทั่วโลกและเป็นโรคร้ายที่พบมากในอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่ความเสี่ยงที่หญิงไทยมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งรังไข่ที่คือ

1.มักพบโรคในผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 50 – 55 ปีขึ้นไปหรือมากกว่า

2.ผู้หญิงที่มีแม่ พี่สาว น้องสาว หรือในญาติสายตรงที่เป็นเพศหญิงที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในรังไข่สูงขึ้น

3.สำหรับผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งรังไข่ข้างหนึ่งมาแล้ว หรือเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงในการพัฒนาเกิดเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้อีก

4.สำหรับหญิงที่ไม่มีลูกหรือมีลูกน้อย อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนที่มีลูกเยอะ แต่สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่น้อยลง

5.ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน ที่ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น

6.อาจเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้จากการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ที่ช่วยในการกระตุ้นให้เกิดการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยาในภาวะมีบุตรยาก

7.ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาเร็วและผู้หญิงที่หมดประจำเดือนช้า คือช้ากว่าอายุประมาณ 55 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ พบว่าผู้ป่วยมักเจออาการผิดปกติช้าและมาพบแพทย์ในระยะลุกลาม ดังนั้นการผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งให้หมดจึงมักเป็นไปได้ยาก แต่หากถ้าพบเจออาการผิดปกติเร็วและรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยก็สามารถทำการผ่าตัด และรักษาต่อเนื่องด้วยยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีรักษา (คีโม) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุยลพินิจของแพทย์

Credit : haamor.com