แชร์เก็บไว้เลย! 8 อาหารบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง ดีต่อร่างกาย
โลหิตหรือเลือดมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยมีไขกระดูกเป็นตัวผลิตเลือด เพื่อให้เลือดช่วยนำออกซิเจนไปใช้ในการเผาผลาญพลังงานและลำเลียงสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
การทำงานของเลือดนั้น เป็นไปได้ที่จะทำงานผิดปกติและด้อยประสิทธิภาพ หากขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการผลิตเลือด หรือการเป็นโรคบางชนิด ทำให้เลือดถูกผลิตมากจนเกินไปหรือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเกี่ยวกับเลือด ควรกินสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการผลิตเลือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง
1. เลือด ตับ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ธาตุเหล็กที่อยู่ในอาหารประเภทเลือด ตับ เนื้อสัตว์ เป็นธาตุเหล็กในรูปแบบสารประกอบฮีม (Heme Iron) ธาตุเหล็กรูปแบบนี้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดี ดังนั้นใครที่ต้องการธาตุเหล็กสูงควรรับประทานเลือด ตับ และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง2. ธัญพืช แป้ง ไข่ ผักใบเขียวเข้ม
ธาตุเหล็กรูปแบบนี้เป็นสารประกอบธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม (Nonheme Iron) พบได้มากในอาหารประเภทธัญพืช แป้ง ไข่ ผักใบเขียวเข้ม อย่างคะน้า ผักบุ้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ใบมะรุม แต่อาหารเหล่านี้ควรรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง หรือมะละกอ เนื่องจากร่างกายค่อนข้างดูดซึมสารประกอบธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมได้น้อย ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหารและวิตามินซีช่วยในการดูดซึม3. อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ม้าม และไข่แดง
อาหารเหล่านี้จัดเป็นธาตุเหล็กในรูปสารประกอบฮีม (Heme Iron) ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี โดยมีอัตราการดูดซึมอยู่ที่ร้อยละ 20-30 เลยทีเดียว ยิ่งหากได้กินอาหารเหล่านี้ร่วมกับวิตามินซีจากผลไม้ เช่น ส้มหรือฝรั่ง การดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ลำไส้เล็กจะยิ่งคล่องตัวมากขึ้น4. ซีเรียล ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนต์ จมูกข้าวสาลี
ธัญพืชเหล่านี้ก็อุดมไปด้วยธาตุเหล็กค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ที่ไม่นิยมทานเนื้อสัตว์อาจเสริมธาตุเหล็กด้วยซีเรียล ข้าวโอ๊ต ถั่วดำ และถั่วแดงได้เช่นกัน5. ข้าวเสริมธาตุเหล็ก, ข้าวหอมนิล, ข้าวสายพันธุ์ 313
ข้าวที่จัดว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตก็มีธาตุเหล็กสูงด้วยเหมือนกัน โดยข้าวเหล่านี้จะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก กรดโฟลิก คลอโรฟิลส์ ซึ่งเป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมธาตุเหล็กแต่ไม่นิยมกินเนื้อสัตว์6. ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ
ฟักทอง แครอท และมะเขือเทศ แอบมีธาตุเหล็กกับเขาอยู่บ้าง แต่ก็อย่างที่บอกล่ะค่ะว่า ธาตุเหล็กที่ได้จากผักและผลไม้มักเป็นธาตุเหล็กที่ละลายยาก ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้ค่อนข้างน้อย จึงควรกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ควบคู่กันไปด้วย7. พริก กระเทียม ขมิ้น
สมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้มีส่วนช่วยให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตเลือดในอยู่ในเกณฑ์ปกติอีกด้วยนะคะ8. น้ำว่านหางจระเข้
ในต่างประเทศนิยมนำว่านหางจระเข้มาคั้นน้ำแล้วดื่มเพื่อกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเลือด เนื่องจากว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ กรดอะมิโน เอนไซม์ วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติในการชะล้างของเสีย ต้านอาการอักเสบ และส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานคล่องตัวมากขึ้นเพราะเลือดมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายมากไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อสารอาหารให้แก่เซลล์ในร่างกาย ขับถ่ายของเสีย และต่อสู้กับเชื้อโรค ทุกคนจึงจำเป็นต้องบำรุงรักษาเลือดให้มีคุณภาพที่สุด เพื่อให้ต่อสู้กับโรคร้ายหลายชนิดเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเลือดจะดี ไม่มีป่วยแน่นอนค่ะ
ข้อมูลจาก http://health.kapook.com/view123650.html