ไม่น่าเชื่อ ประเทศไทยทุบสถิติ “หนี้สาธารณะ” ทะลุ 6.7 ล้านล้านบาทแล้ว

วันนี้เรามีข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มาเล่าสู่เพื่อนๆ ฟัง ในโลกออนไลน์ได้มีเว็บไซต์ .ispacethailand.org รายงานว่า ประเทศไทยทุบสถิติหนี้สาธารณะทะลุ 6.7 ล้านล้านบาทแล้ว

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเปิดเผยรายงานหนี้สาธารณะคงค้างเดือนกันยายน 2561 ไทยมีหนี้สาธารณะมากกว่า 7 ล้านล้านบาท จากหนี้สาธารณะคงค้าง 6,780,953 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ของรัฐบาลถึง 5,450,220 ล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด

ข้อมูลหนี้สาธารณะเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่รัฐบาลคสช.เข้ามาบริหารประเทศ พบว่ามีหนี้สาธารณะ 5,655,420 ล้านบาท เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะปัจจุบันพบว่าเพิ่มขึ้นมากถึง 1,125,533 ล้านบาท คิดเป็น 9%
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลยกับตัวเลข “หนี้สาธารณะ” ของประเทศไทย ที่ล่าสุดจากรายงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุตามรายงานหนี้สาธารณะคงค้างในเดือนกันยายน 2561 พุ่งสูงขึ้นจนทะลุตัวเลข 6.7 ล้านล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้เปิดเผยรายงานหนี้สาธารณะคงค้างประจำเดือนกันยายน 2561 ระบุว่าตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้างของประเทศไทยในเดือนกันยายน 2561 มีมากถึง 6,780,953 ล้านบาท

โดยแยกเป็นหนี้รัฐบาลมากถึง 5,450,220 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80.38% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีหนี้ของรัฐวิสาหกิจอีก 1,321,763 ล้านบาท หรือคิดเป็น19.49% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด และอีก 8,968 ล้านบาทเป็นหนี้ของหน่วยงานรัฐ คิดเป็น 0.13% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด

จากตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้างตามรายงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ พบว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะในเดือนกันยายน 2561 นี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2561 ที่มีหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ทั้งสิ้น 6,672,886 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 108,067 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2561 ซึ่งมีปริมาณหนี้สาธารณะเท่ากับ 6,441,357 ล้านบาท กับเดือนกันยายน 2561 พบว่าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมากถึง 339,596 ล้านบาทในระยะเวลา 9 เดือน สำหรับเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่รัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศพบว่ามีหนี้สาธารณะเท่ากับ 5,655,420 ล้านบาท

เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลหนี้สาธารณะล่าสุด จะเห็นว่าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมากถึง 1,125,533 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากถึง 19.9% ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลคสช.บริหารประเทศ

จากสถิติเชิงตัวเลขที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลงนั้น เมื่อพิจารณาร่วมกับปริมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจโดยรวม และโครงการพัฒนาของภาครัฐที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะตัวเลขหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ไม่สัมพันธ์กับโครงการพัฒนาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือ หากหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แต่โครงการพัฒนาเศรษฐกิจของภาครัฐมีโครงการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีผลสำเร็จที่น่าพอใจต่อเศรษฐกิจของประเทศก็อาจจะไม่น่ากังวลเท่าใดนัก หากแต่ปัจจุบันโครงสร้างและโครงการเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม ยังไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมในเติบโต หรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้

เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นรถไฟความเร็วสูง หรือ รถไฟรางคู่ ที่ตอนนี้ยังไม่เป็นรูปธรรม และยังไม่ได้ใช้เงินลงทุน จากหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้น ประกอบกับสภาพทางการจัดการงบประมาณที่เป็นการจัดงบประมาณแบบขาดดุลของภาครัฐ ย่อมเป็นสิ่งที่ชี้ชัดได้ในระดับหนึ่งว่าตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแน่นอน

คำถามก็คือหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ จะแปลงสภาพมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน เพราะหากทำไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาคือเศรษฐกิจนอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้ว รัฐบาลยังต้องรับผิดชอบต่อหนี้ก้อนใหญ่ก้อนนี้อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลที่ต้องมารับผิดชอบก็คงไม่ใช่รัฐบาลคสช.เสียด้วย

 

แหล่งที่มา: taibann.com