Home »
สาระ ความรู้
»
โรคนี้ควรหลีกเลี่ยง.. ดื่มน้ำมะพร้าวดีต่อสุขภาพมากๆ แต่รู้หรือไม่? ใครควรดื่มและไม่ควรดื่ม..
โรคนี้ควรหลีกเลี่ยง.. ดื่มน้ำมะพร้าวดีต่อสุขภาพมากๆ แต่รู้หรือไม่? ใครควรดื่มและไม่ควรดื่ม..
หลายคนมากที่ไม่รู้เรื่องนี้
เราเลยขออาสานำบทความมาให้อ่าน ได้ทำความเข้าใจกัน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดื่มน้ำมะพร้าว แต่รู้หรือไม่?
ใครควรดื่มและไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวนี้
1. นักกีฬา
น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มเกรือแร่ที่ดีที่สุดสำหรับนักกีฬา
เพราะมีทั้งโพแทสเซียมที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย
และน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ทันที นัก
กีฬาที่ปล่อยพลังเกินร้อยจนล้า จะสดใสขึ้นทันตาเห็น
2. คนท้องเสีย เวลาท้องเสียร่างกายจะต้องเสียเกลือแร่ไปด้วย
จนบางคนถึงกับช็อกไปก็มี แต่น้ำมะพร้าวช่วยชดเชยเกลือแร่ให้เราได้
ที่สำคัญไม่มีน้ำตาลขัดสีที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพด้วย
3. วัยรุ่น น้ำมะพร้าวมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอยู่หลายชนิด
วัยรุ่นวัยเรียนที่ดื่มเป็นประจำจะทำให้ควมจำดี ช่วยให้ผิวแข็งแรง
ป้องกันสิวได้เด็ดนัก
4. คนที่มีอาการความดันต่ำ ที่คุณหน้ามืดบ่อยๆก็เพราะเลือดน้อยแต่โพแทสเซียมในน้ำมะพร้าวจะเข้าไปบำรุง
และเพิ่มการสร้างเม็ดเลือด ระดับความดันจะเพิ่มขึ้นเป็น ปกติ
5. คนเป็นไข้หวัดตัวร้อน หรือไข้ติดเชื้อ เวลามีไข้ไม่ได้
น้ำมะพร้าวคือคำตอบ เพราะมะพร้าวมีฤทธิ์เย็นช่วยลดไข้ได้ดี
และยังมีกรดลอริกที่เป็นยาฆ่าเชื้อ ดื่มแล้ว อาการติดเชื้อทั้งหลายจะดีขึ้น
คนที่ต้องเลี่ยงน้ำมะพร้าวเพราะมันเกิดผลลบมากกว่า
คนเป็นโรคไตเสื่อม
น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ ถ้าร่างกายขาดน้ำ
คนที่เป็นโรคไตอาจจะหัวใจวายได้เรื่องนี้จำเป็นต้องรู้
ถ้าจะให้ดีคนที่เป็นโรคนี้ควรระวัง
คนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจเราได้
สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ควรลีกเหลี่ยงการดื่มน้ำมะพร้าวค่ะ
เพิ่มเติม สรรพคุณของมะพร้าว
น้ำมะพร้าวช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ (น้ำมะพร้าว)
น้ำมะพร้าวมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน
ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ
ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
ในเนื้อและน้ำมันมะพร้าวอ่อนมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี
วิตามินบี กรดอะมิโน ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส
ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที (น้ำมะพร้าว)
น้ำมะพร้าวมีประโยชน์ใช้เป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและไม่มีอันตรายใด
ๆ ต่อร่างกาย (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคไต)
น้ำมะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยดับร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
น้ำมะพร้าวอ่อนมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น ช่วยล้างพิษ ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย หรือช่วยดีท็อกซ์นั่นเอง (น้ำมะพร้าว)
ช่วยบำรุงร่างกาย (เนื้อมะพร้าว)
ช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่ร่างกายมีความเป็นกรดสูง
เพราะน้ำมะพร้าวมีความเป็นด่าง ทำให้กลไกการทำงานของระบบต่าง ๆ
ภายในร่างกายเป็นปกติแส่งผลให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง (น้ำมะพร้าว)
ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
ใช้เป็นเครื่องดื่มธรรมชาติที่ให้เกลือแร่ได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับนักกีฬา เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม (น้ำมะพร้าว)
ช่วยแก้กระหายน้ำ (น้ำมะพร้าว, เนื้อมะพร้าว, ดอก)
น้ำมะพร้าวลดบวม ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (น้ำมะพร้าว)
น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค
จึงนำไปใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดแบบผิดปกติ (น้ำมะพร้าว)
ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง เนื่องจากมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและช่วยรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
ด้วยการใช้มะพร้าวแก่ขูดเอาเนื้อมาคั่วให้เหลือง โรยเกลือเล็กน้อย
ใส่ภาชนะปิดให้แน่น แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ช้อนแกง เช้า กลางวัน เย็น
ประมาณ 10 วันจะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลลดลงเรื่อย ๆ
ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวปวดศีรษะได้ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
นำมาใช้รักษาโรคคอตีบได้ (เปลือกหุ้มรากของมะพร้าว )
ช่วยแก้อาการตาอักเสบ
ด้วยการใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย
นำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงไว้ดื่มเช้าและเย็น อาการอักเสบก็จะค่อย ๆ หายไปเอง
(น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยแก้อาการระคายเคืองตา ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสด ๆ แปะที่ดวงตา อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง (เนื้อมะพร้าว)
ช่วยลดอาการไข้สูง ตัวร้อน เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นจึงช่วยทุเลาอาการไข้ได้ (น้ำมะพร้าวอ่อน, เนื้อมะพร้าว)
ใช้รักษาคนไข้ที่มีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยแก้ไข้ทับระดู
ด้วยการเอาจั่นมะพร้าว ที่ยังมีกาบหุ้มอยู่นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า กลางวัน
เย็น อาการจะค่อยดีขึ้น (บางคนใช้รากก็ได้ผลเหมือนกัน)
ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนในช่วงเช้าและช่วงบ่าย (รับประทานเนื้อด้วย)
ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวห้าว (น้ำมะพร้าวห้าว)
ช่วยแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ด้วยการอมน้ำกะทิสด ๆ จากมะพร้าวแก่ประมาณ 5-10 นาที ประมาณ 3 วันแผลจะหายเร็วขึ้น (น้ำกะทิสด)
ใช้แก้อาการเจ็บฟัน ด้วยการใช้เปลือกต้นสดนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วนำมาสีฟัน (เปลือกต้นสดมะพร้าว)
ใช้เป็นยาแก้อาการเจ็บปากเจ็บคอ (ดอก)
รากใช้อมบ้วนปากแก้อาการเจ็บคอ (ราก)
ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยการใช้มะนาว 1 ซีกบีบผสมกับน้ำมะพร้าวอ่อนแล้วดื่ม (น้ำมะพร้าวอ่อนผสมมะนาว)
สำหรับผู้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกันให้ดื่มน้ำมะพร้าว
จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้เร็ว
ทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ (น้ำมะพร้าว)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน
ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ
ใส่ถ่านไฟแดงลงไป
แล้วรองเอาน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมาเก็บใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด
แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันที่ได้อุดรูฟันที่ปวด
แต่อย่าให้สัมผัสกับเหงือกหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆโดยตรง
เพราะจะทำให้ชาได้ (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ช่วยกล่อมเสมหะ (ดอก)
ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (น้ำมะพร้าว)
ช่วยรักษาโรคกระเพาะ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ใช้แก้อาการท้องเสีย
ด้วยการใช้รากล้างสะอาดประมาณ 3 กำมือ ทุบพอแตก ต้มน้ำ 5 แก้ว เคี่ยวเอา 2
แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น (ดอก, ราก, กะลา)
ช่วยแก้โรคบิด ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้น (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
ด้วยการใช้เปลือกมะพร้าวมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม
อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น (ควรใช้เปลือกมะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่)
ช่วยแก้อาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้กะลามะพร้าวสะอาดมาเผาไฟจนแดง
แล้วคีบเก็บไว้ในปี๊บสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย จะได้ถ่านกะลาสีดำ
นำมาบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (กะลา)
ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียจากอาการท้องเสียท้องร่วงได้ ช่วยเติมพลังหลังการเสียเหงื่อ เสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำมะพร้าวอ่อน, เนื้อมะพร้าว, ราก)
น้ำมะพร้าว สรรพคุณช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้นมาก (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ช่วยรักษาโรคตับและไต (ยังไม่ยืนยัน)
ช่วยรักษาโรคดีซ่าน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น เพียง 2 วันอาการก็จะดีขึ้นมาก (น้ำมะพร้าว)
ใช้ถ่ายพยาธิได้ (น้ำมะพร้าว, เนื้อมะพร้าว)
ช่วยบำรุงและแก้อาการปวดกระดูกและเอ็น (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
อักเสบ ช้ำบวม ด้วยการใช้น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน
แล้วนำผักเสี้ยนผีล้างให้สะอาดสับเคี่ยวเข้าด้วยกัน
ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยให้ตัวยาแทรกซึมได้ดีขึ้น
เสร็จแล้วนำมานวดบริเวณที่มีอาการ (น้ำกะทิเคี่ยว)
ช่วยแก้อาการเม็ดผดผื่นคันตามตัว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นประจำ (น้ำมะพร้าวอ่อน)
สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็น
ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาที่แผล
จะทำให้แผลหายเร็วภายในไม่กี่วัน และจะไม่เกิดรอยแผลเป็น
(น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ใช้รักษาแผลเรื้อรัง
ด้วยการเอากะลามะพร้าวมาถูตะไบเอาผง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว
ใส่พิมเสนเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณแผลเช้า กลางวัน เย็น
ใช้ทาแก้ผิวหนังแตกลาย (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้
ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่ขูดแล้ว มีรู มาใส่ถ่านไฟแดง ๆ
น้ำมันมะพร้าวจะไหลออกมา แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นทิ้งไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์
ยางจะติดอยู่ เกลื้อนจะค่อย ๆ หายไป (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ช่วยรักษาเล็บขบ
ฝ่ามือแตกลาย ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามาทาเช้า กลางวัน
เย็น หรือหยอดบริเวณที่เป็นเล็บขบ จะหายเร็วขึ้นและไม่มีอาการปวด
(น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
ช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส ด้วยการใช้ใบมะพร้าวต้มน้ำดื่ม (ใบมะพร้าว)
ใช้ทาแก้หิด (เปลือกต้นสดมะพร้าว)
ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้มะพร้าวกะทิปิดบริเวณแผล (มะพร้าวกะทิ)
ในไต้หวันและจีน นิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยลดอาการเมา แก้อาเจียนหลังการดื่มแอลกอฮอล์ (น้ำมะพร้าว)
ช่วยแก้พิษเบื่อเมา ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวซึ่งจะช่วยล้างพิษที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าวอ่อน)
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง
: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), กูรู สนุก, ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย, www.GotoKnow,
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)