Home »
Uncategories »
รู้ไว้ก่อนไป ทำไมไปสักการะรอยพระบาท ณ เขาคิชฌกูฏ ถึงอธิษฐานได้แค่ 1 ข้อ
รู้ไว้ก่อนไป ทำไมไปสักการะรอยพระบาท ณ เขาคิชฌกูฏ ถึงอธิษฐานได้แค่ 1 ข้อ
รู้ไว้ก่อนไป ทำไมไปสักการะรอยพระบาท ณ เขาคิชฌกูฏ ถึงอธิษฐานได้แค่ 1 ข้อ
ตามความเชื่อแล้วนั้น
เขาคิชฌกูฏ สำหรับการอธิษฐานให้เพียง 1 ข้อ
และมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญนั่นก็คือความตั้งใจ ความจริงใจในการทำให้พร 1
ข้อนั้นประสบความสำเร็จ
ซึ่งการที่จะเดินทางไปยังเขาคิชฌกูฏนั้นไม่ได้ง่ายเลย
แต่ใครหลายคุณก็มีความพากเพียรพยายามไปถึงได้ ขึ้นไปเพื่อไหว้พระขอพร
ขออธิษฐาน ซึ่งหลายคนขึ้นไปขอก็เป็นจริง
ก็เลยเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของความเชื่อและความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ
เหมือนมีแรงฮึดสู้ในการใช้ชีวิต ทำให้ประสบความสำเร็จ
จนพรข้อสำคัญนั้นกลายเป็นจริงก็ว่าได้
ตำนานศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องลือ
อย่างที่บอกว่าที่เขาคิชฌกูฏ
มีสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั่นคือ รอยพระพุทธบาท
ที่ประดิษฐานอยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
ว่ากันว่าใครได้มานมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏก็เปรียบเหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งจะได้รับกุศลอันยิ่งใหญ่ ประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง
และเชื่อกันว่าหากได้มาอธิษฐานขอพรแล้วจะสมหวังดั่งใจปรารถนา
โดยมีตำนานเล่าถึงรอยพระพุทธบาทว่า
ชายหนุ่มชื่อนายติ่งกับพวกมีอาชีพหาของป่า
วันหนึ่งก็ได้ออกไปหาของป่ากันอย่างเคย
จนไปหยุดพักเหนื่อยอยู่ที่ลานหินบนยอดเขาแห่งหนึ่ง
พอหายเหนื่อยแล้วก็พากันเดินกลับที่พัก
แต่เดินกันไปมาก็ปรากฏว่าได้วกกลับมาที่ลานหินเดิมนั้นอีก
เป็นที่น่าอัศจรรย์
ชายคนหนึ่งในกลุ่มได้ถอนหญ้าที่ลานหินนั้น
เพื่อจะนอนก็ปรากฏว่าพบแหวนนาคขนาดใหญ่วงหนึ่ง ทำให้ทุกคนก็เข้าใจว่า
ที่ตรงนี้คงจะมีทรัพย์สมบัติมากจึงได้ช่วยกันถอนหญ้าบนลานหินนั้นจนหมดแต่ก็
ไม่พบอะไรอีก นอกจากลานหินซึ่งมีรอยเท้าขนาดใหญ่ของมนุษย์
ต่อมาที่วัดพลับ
ตำบลบางกะจะ
ซึ่งเป็นเมืองเก่าของจังหวัดจันทบุรีได้มีงานเทศกาลปิดทองรอยพระพุทธบาท
นายติ่งได้ไปปิดทองรอยพระบาท
และรู้สึกแปลกใจมากที่รอยพระพุทธบาทนี้ช่างเหมือนกับที่แกเห็นอยู่บนลานหินยอดเขาคิชฌกูฏ
ต่อมาทางเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรีทราบเรื่องเข้า
ท่านเจ้าคณะจังหวัดจึงเรียกไปสอบถาม และให้พระภิกษุ 2 รูปตามนายติ่งไปดู
เมื่อพิจารณาแล้วได้ลงความเห็นว่าเป็นรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง
อีกทั้งบนลานหินนั้นมีหินก้อนใหญ่โตมาก ลักษณะคล้ายบาตรพระตะแคง
ตั้งลอยอยู่เรียกว่า “ลูกบาตร”
ต่อมาเมื่อเรื่องกระจายออกไปจึงมีผู้คนมาไหว้สักการะไม่ขาดสาย
ควรเริ่มต้นขึ้นเขากี่โมงดี
คำตอบจริงๆ
คือ เอาความสะดวกของผู้เดินทางเป็นหลัก จะตอนเช้า ตอนบ่าย หรือตอนค่ำ
หรือดึก ไปเลยก็ได้ทั้งนั้น เพราะสามารถขึ้นเขาคิชฌกุฎได้ตลอด 24 ชั่วโมง
มีรถให้บริการขึ้นไปถึงต่อที่ 3 ตลอดเวลา ถ้าเดินทางตอนเช้า ตอนบ่าย
อาจจะร้อนหน่อยแต่ได้เห็นวิว บรรยากาศรอบข้าง เดินทางตอนค่ำหรือดึก
อากาศก็เย็นสบาย บางวันอาจถึงหนาวจัดเลยก็มี แต่ก็จะมองไม่เห็นอะไร
ที่ไกลกว่าความสว่างของหลอดไฟไปถึง
ความเห็น
จขกท. : เวลาที่เหมาะสมน่าจะประมาณ ตี 3 ตี 4 เนื่องด้วยว่า
อากาศไม่ร้อนเย็นสบายๆ และการเดินทางน่าจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
ในการนั้งรถขึ้นถึงตรงพระศรีวลี และเดินอีกประมาณ 1.2 กม. อีกประมาณ 30
นาที เพื่อขึ้นไปให้ถึงตรงหินลูกบาตร รวมแล้วก็ 1 ชั่วโมง
นั้นหมายความว่าประมาณ
ตี 5 ก็จะถึงยอดเขาคิชฌกุฎ ซึ่งเป็นเวลาสวดมนต์
ทำวัตรเช้าตรงหินลูกบาตรพอดี เสร็จจากทำวัตรเช้า
เราก็เดินไปให้สุดทางที่ผ้าแดง
ซึ่งทางเดินค่อนข้างลำบากไม่เหมือนทางเดินขึ้นมาหินลูกบาตร
ที่มีการปรับปรุงให้เดินทางได้สะดวกกว่าทางไปผ้าแดง
ไม่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องหัวเขา ข้อเท้าครับ
แล้วค่อยลงเขา (เวลาที่ผมคำนวนไม่รวมเวลาที่ต้องรอเรียกคิวขึ้นรถ
และเวลาที่นั้งพักตามทางบ่อยๆ นะครับ)
ที่มา : หนุ่มเวียงพิงค์ เขยจันทบูร, เพจเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี