Home »
Uncategories »
เคยสงสัยไหมว่า “ผงชูรส” ทำมาจากอะไร แล้วทำไมมันทำให้อาหารอร่อยขึ้นได้
เคยสงสัยไหมว่า “ผงชูรส” ทำมาจากอะไร แล้วทำไมมันทำให้อาหารอร่อยขึ้นได้
สำหรับหลาย ๆ บ้าน
เมื่อถึงเวลาต้องทำอาหารสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ “ผงชูรส”
เพราะมันช่วยให้อาหารที่เราปรุงอร่อยขึ้น
ซึ่งผงชูรสเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมรสชาติของ
อาหารอย่างมีประสิทธิภาพมานานเกือบ ศตวรรษ
องค์ประกอบหลักของผงชูรส คือกรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า “กรดกลูตามิก” หรือ
“กลูตาเมต” ซึ่งเป็นส่วนประกอบตามธssมชาติที่พบได้ในอาหารแทบทุกชนิด
เราจะมาทำความรู้จัก กับผงชูรสให้มากขึ้นอย่างถูกต้อง
รวมไปถึงวิธีใช้ผงชูรสในการปรุงอาหารอย่างเหมาะสมอีกด้วย ผงชูรส
ผงชูรสผลิตจากอะไร?
คำตอบคือ ผงชูรสผลิตจากกระบวนการหมักเช่น เดียวกับเบียร์ น้ำส้มสายชู
หรือโยเกิร์ต โดยกระบวนการผลิตจะเริ่มต้นจากการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย
หรือน้ำตาลจากแป้งมันสำปะหลัง
ซึ่งเป็นวัตถุดิบธssมชาติโดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จะเป็นผลึกขๅวบริสุทธิ์
ละลายน้ำได้ง่าย และเข้ากับอาหารได้ทุกชนิด
จะใช้ผงชูรสในการปรุงอาหารอย่างไร?
ผงชูรสจะช่วยเสริมรสชาติของอาหารหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์
อาหารทะเล หรือผัก โดยจะช่วยให้อาหารมีรสชาติเด่นชัดขึ้น อาหารจำพวกซุป
แกงจืด เกรวี่สำหรับราดสเต็ก น้ำจิ้มต่าง ๆ
ก็เป็นตัวอย่างของอาหารที่มีรสชาติที่อร่อยมากขึ้นเมื่อเติมผงชูรสในปริมาณที่เหมาะสม
ผงชูรสเป็นสารปรุงแต่งรสอาหารที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยและจะเข้ากันได้ดีกับอาหารรสเค็มและเปรี้ยว
แต่จะมีผลน้อยมากเมื่อเติมในอาหารรสหวานและขม
การเติมผงชูรสลงในอาหารก็คล้ายกับการเติมเครื่องปรุงรสทั่ว ๆ ไป
เช่น เกลือ น้ำตาล และพริกไทย
โดยปริมาณการใช้ผงชูรสอย่างเหมาะสมจะอยู่ในระดัບ
เดียวกับปริมาณกลูตาเมตในอาหารธssมชาติ คือ 0.1 – 0.8% ของอาหาร
หรืออาจกล่าวได้ ว่าประมาณผงชูรส 1 ช้อนชาเหมาะที่จะใช้ในการปรุงอาหารที่
เป็นเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือปรุงอาหารจำพวกผักและซุปหรือแกงจืด 1 หม้อ
สำหรับเสิร์ฟ 4 – 6 ที่มัน-1
นอกจากนี้ผงชูรสเองก็มีคุณสมบัติจำกัด
ตัวเองในด้านรสชาติเช่นเดียวกับเกลือ พริก ไทย และน้ำส้มสายชู
การใช้สารปรุงรสเหล่านี้เกินกว่าปริมาณที่เหมาะสม
จะไม่ช่วยให้รสชาติดของอาหารดีขึ้น
เห็นได้จากการใส่เกลือหรือพริกไทยในอาหารในปริมาณที่มากเกินไป
ก็จะทำให้อาหารเค็มเกินไป มีรสชาติไม่เป็นที่ปรารถนา
ซึ่งเมื่อมาพิจารณาปริมาณกลูตาเมตที่เติมลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติแล้ว
จะพบว่ามีปริมาณเพีຍงเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับปริมาณกลูตาเมตทั้งหมดที่เราได้รับ
ในแต่ละวันโดยเฉลี่ยมนุษย์จะได้รับกลูตาเมตจากอาหารโปรตีน 10 กรัม
และกลูตาเมตอิสระอีกกว่า 1 กรัมต่อวัน
นอกจากนี้ร่างกายยังสามารถสร้างกลูตาเมต อิสระได้เอง
เพื่อใช้ในระบบอื่นๆ อีกวันละ 50 กรัม
แต่กลูตาเมตที่ได้รับจากการเติมผงชูรสลงในอาหารจะอยู่ ที่ 1.5 กรัมหรือ 0.1
ช้อนโต๊ะ / คน / วันเท่านั้uผงชูรส-1
นอกจากกลูตาเมตเป็นสารให้รสชาติที่มีในธssมชาติแล้วในเห็ดหอม เนื้อสัตว์
ปลา และกุ้งนั้น ก็ยังมีสารที่ให้รสของอูมามิอีกกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า
นิวคลีโอไทด์อยู่ด้วย สารในกลุ่มนี้ได้แก่ อิโนซิเนต (Inosimate)
และกัวนิเลต (Guanylate) และเมื่อลองนึกถึงรายการอาหารที่เราคุ้นเคย เช่น
ผัดผักคะน้ากับปลาเค็ม ผัดผักกระเฉดใส่หมูกรอบ ผัดผักกาดขๅวใส่เห็ดหอม
หรือพิซซ่าซึ่งมีมะเขือเทศกับชีส
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมการจับคู่ของผักกับเนื้อสัตว์ในการปรุงอาหาร
จึงทำให้เกิดรสชาติอร่อยที่เราชื่นชอบได้
คำตอบก็คือจากความชาญฉลาดในการปรุงอาหารของบรรดาพ่อครัวแม่ครัวในการจัดคู่ผักที่เป็นแหล่งของนิวคลีโอไทด์
เพื่อช่วยให้อาหารมีรสชาติอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมของอาหารที่เป็นแหล่งของกลูตาเมตและนิวคลีโอไทด์จะช่วยให้อาหาร
มีรสชาติดีกว่าเมื่อมีอาหารดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
เรียบเรียงโดย sharesod.com