“ยูนิลีเวอร์“ยึด“เวียดนาม“ต้นแบบปั้นฐานผลิต“เอธิโอเปีย“รุกคืบแอฟริกา


ยูนิลีเวอร์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่อันดับ 2 ของโลก วางแผนเปิดตัวโรงงานแห่งใหม่ในเอธิโอเปียในปีหน้า โดยยึดโมเดลเดียวกันกับการขยายโรงงานผลิตของยูนิลีเวอร์ในเวียดนาม

สำ นักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ยูนิลีเวอร์ได้เข้าไปเช่าที่ดินเพื่อสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแถบตะวัน ออกของเมือง Dukem เอธิโอเปีย โดย "โดกี้ บริว" หัวหน้าแผนกสื่อสารองค์กรในแอฟริการะบุว่า หลังจากที่ยูนิลีเวอร์นำเข้าสินค้า อาทิ ซุปก้อนคนอร์ และผงซักฟอกโอโมมายังเอธิโอเปีย ในระยะแรกของการสร้างฐานการผลิตที่นี่ จะเป็นการผลิตสินค้าจำพวกสบู่ทำความสะอาด ก่อนที่จะเริ่มการผลิตกลุ่มอาหารในอนาคต

"เราค่อนข้างจะคาดหวังกับ เอธิโอเปียมาก เพราะเป็นตลาดที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจลงทุนระยะยาวที่นี่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างจำนวนประชากร และเป็นโอกาสที่จะสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง"

เศรษฐกิจ ของเอธิโอเปียถูกคาดการณ์จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า จะมีการขยายตัว 8% ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 7 กรกฎาคม หลังจากที่มีการเติบโตต่อเนื่อง 9.3% มาตลอด 4 ปี โดยสิ้นปี 2556 เอธิโอเปียมีประชากร 93.9 ล้านคน

ก่อนหน้านี้ยูนิลีเวอร์ได้เข้าไปลง ทุนในเวียดนาม โดยใช้เม็ดเงินรวมกว่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ธุรกิจมีการเติบโตต่อปีมากกว่า 10% มาเป็นระยะเวลา 14 ปี หลังจากเริ่มเข้าไปทำธุรกิจในปี 2538 ด้วยความสำเร็จดังกล่าว "บริว" ระบุว่า บริษัทกำลังวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิตในเอธิโอเปียในสเกลที่ใกล้เคียงกับ เวียดนามด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากเทียบขนาดเศรษฐกิจแล้ว ข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ประเทศเอธิโอเปียมีขนาดเศรษฐกิจมูลค่า 41.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งน้อยกว่าเวียดนาม 4 เท่า

แผนเบื้องต้นยูนิลีเวอร์ วางแผนสร้าง "ฐานการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ครอบคลุม" ในเอธิโอเปีย โดยสรรหาแหล่งวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ในประเทศ ขณะที่การจัดจำหน่าย "บริว" ระบุว่า ด้วยธุรกิจค้าปลีกยังเป็นเซ็กเตอร์ที่ถูกจำกัดในเอธิโอเปีย ทำให้แนวทางของบริษัทจะเน้นผนึกกับ "ดิสทริบิวเตอร์" ในท้องถิ่นเพื่อช่วยขยายตลาดให้กับยูนิลีเวอร์

กรณีศึกษาจากสถาบัน วิจัยเศรษฐกิจกลางของเวียดนาม ได้ชื่นชมยูนิลีเวอร์ที่ได้ใช้วัตถุดิบ 60% รวมถึงบรรจุภัณฑ์ 100% จากในประเทศในปี 2550 ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,200 ตำแหน่ง และอีก 8,000 ตำแหน่งในทางอ้อม

ขณะที่การลงทุนจากต่าง ประเทศ (FDI) ในเอธิโอเปีย มีมูลค่าอยู่ราว 2.8% ของจีดีพีในปีนี้ และยังคงเติบโตขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 4.5% ต่อเนื่องไปอีกหลายปี จากนโยบายของรัฐบาลที่หันมาให้ความสนใจกับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น

ข้อมูล จากไอเอ็มเอฟเมื่อปลายปีที่แล้ว ค่าเฉลี่ยการลงทุนในประเทศแถบแอฟริกาใต้ซาฮารา มีสัดส่วนอยู่ที่ 5% ของจีดีพี ด้วยชื่อเสียงของยูนิลีเวอร์ในระดับสากล อาจนำมาสู่การสนับสนุนให้บริษัทสัญชาติตะวันตกรายอื่น ๆ เข้ามาลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตที่เอธิโอเปียมากขึ้น และเพื่อรับกับโอกาสดังกล่าว รัฐบาลควรจะพัฒนาระบบการเก็บภาษีให้ดีขึ้น "อับดุลเมนาน โมฮัมเหม็ด ฮามซา" นักเศรษฐศาสตร์เอธิโอเปียระบุ

"เมื่อ พิจารณาถึงความสามารถและประสบการณ์ที่รัฐบาลมีอยู่ ในการดำเนินการตรวจสอบบริษัทที่มีความซับซ้อนทั้งหลาย อาจนำไปสู่การเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างร้ายแรงในเอธิโอเปีย"

นอก จากยูนิลีเวอร์แล้ว ยัมแบรนด์ เจ้าของฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง เคเอฟซี และพิซซ่าฮัท ก็มีความสนใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเอธิโอเปียด้วยเช่นกัน จากแนวทางที่ต้องการขยายธุรกิจมายังทวีปนี้มากขึ้น

ไม่มีนักลงทุนรายใหญ่ๆระดับโลกหน้าไหนที่เขาจะสนใจประเทศที่การเมืองไม่นิ่งแบบไทยหรอกคะ
 
 
 
ที่มา: sanook.com