พระราชวัง โกเลสตาน (Golestan Palace) หรือ วังสวนกุหลาบ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน สร้าง ขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 ในยุคสมัยของกษัตริย์คาจาร์ ( Qajar) เพื่อใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชวังมีความกว้างขวางใหญ่โต พร้อมด้วยสวนดอกไม้ที่งดงาม อ่างน้ำสีน้ำเงินที่ทำด้วยหินอ่อนในสนามรอบ นอกจากนี้ ยังมีตำหนักต่างๆ อีก 7 อาคารอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีอาคารรูปลักษณ์โบราณ และคลาสสิกแบบยุโรป
พระราชวัง โกเลสตาน ปัจจุบันยังคงใช้เป็น ที่รับรองบุคคลสำคัญอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขกบ้านแขกเมืองมาจากต่างประเทศ จากชั้นล่างสู่ชั้นบนต้องเดินขึ้นบันไดให้ถูกทางตามที่กำหนด ภายในตกแต่งด้วยหินอ่อนแบบไม่ธรรมดา และห้องต่าง ๆ ได้ถูกนำมาพัฒนากลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเปิดให้เข้าชมได้ การจัดแสดงออกแบบไว้อย่างหลากหลาย รวมถึงเครื่องถ้วยชาม ภาพวาดที่ดูเหมือนมีชีวิตชีวาซึ่งถูก เขียนขึ้นด้วยลายมือ ของกำนัลจากประเทศต่างๆ,โต๊ะเคลือบ, ลูกบิด เบียด และอื่นๆ อีกมากมาย
สิ่งที่ดึงดูดมากที่สุดคือ บัลลังค์นกยูง ซึ่งจะถูกตั้งไว้ ในด้านหลังสุดของห้องใหญ่กับเตียงนอนที่ใหญ่ ซึ่งงดงามไม่แพ้กัน และอดีตเคยใช้สำหรับใช้ในพิธีการสวมมงกุฎ นอกจากนี้ตัวบัลลังค์ที่ใช้ประกอบพิธีจะมีพลอย เนื้ออ่อน ปักเรียงรายอยู่ ถูกนำมาจากโรงงานที่มีชื่อเสียงใน เมืองเดลลี่ ประเทศอินเดีย โดยคณะทูตชาวอิหร่านที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำ นาเดอร์ ชาร์ (Nader Shah)
ปัจจุบันความสวยงามของ พระราชวัง โกเลสตาน ของ อิหร่าน ทางด้านองค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ล่าสุดปี 2013 คาดว่าในอนาคตจะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเที่ยว และถ่ายภาพ พระราชวังโกเลสตาน เป็นที่ระลึกกันเป็นจำนวนมากขึ้น
พระราชวัง โกเลสตาน, อิหร่าน
แต่เดิม พระราชวัง โกเลสตาน แห่งนี้ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มาก ย้อนไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ ซาฟาวิด เมื่อคริสต์วรรษที่ 16 ยังมีร่องรอยสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลืออยู่ คือ ป้อมสูง (Citadel) สำหรับส่องดูข้าศึก และสถานอาบน้ำแบบเติร์ก ส่วนตัวอาคารแบบตะวันตกที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนั้น มีเพิ่มเติมเข้ามาเมื่อกษัตริย์ราชวงศ์รองสุดท้ายของเปอร์เซีย คือ ราชวงศ์คาจาร์ คือกษัตริย์นัสเซอร์ อัล-ดิน ชาห์ ได้เสด็จยุโรปแล้วเห็นเจริญ และความสวยงามทางสถาปัตยกรรมแล้วประทับใจ จึงนำศิลปยุโรปดังกล่าวเข้ามาผสมกับวิถีชิวิตของชาวอิหร่าน ดังเช่น ตำหนักแบบนีโอคลาสสิกของยุโรป โกเลสตาน แห่งนี้พระราชวัง โกเลสตาน ปัจจุบันยังคงใช้เป็น ที่รับรองบุคคลสำคัญอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขกบ้านแขกเมืองมาจากต่างประเทศ จากชั้นล่างสู่ชั้นบนต้องเดินขึ้นบันไดให้ถูกทางตามที่กำหนด ภายในตกแต่งด้วยหินอ่อนแบบไม่ธรรมดา และห้องต่าง ๆ ได้ถูกนำมาพัฒนากลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเปิดให้เข้าชมได้ การจัดแสดงออกแบบไว้อย่างหลากหลาย รวมถึงเครื่องถ้วยชาม ภาพวาดที่ดูเหมือนมีชีวิตชีวาซึ่งถูก เขียนขึ้นด้วยลายมือ ของกำนัลจากประเทศต่างๆ,โต๊ะเคลือบ, ลูกบิด เบียด และอื่นๆ อีกมากมาย
สิ่งที่ดึงดูดมากที่สุดคือ บัลลังค์นกยูง ซึ่งจะถูกตั้งไว้ ในด้านหลังสุดของห้องใหญ่กับเตียงนอนที่ใหญ่ ซึ่งงดงามไม่แพ้กัน และอดีตเคยใช้สำหรับใช้ในพิธีการสวมมงกุฎ นอกจากนี้ตัวบัลลังค์ที่ใช้ประกอบพิธีจะมีพลอย เนื้ออ่อน ปักเรียงรายอยู่ ถูกนำมาจากโรงงานที่มีชื่อเสียงใน เมืองเดลลี่ ประเทศอินเดีย โดยคณะทูตชาวอิหร่านที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำ นาเดอร์ ชาร์ (Nader Shah)
ปัจจุบันความสวยงามของ พระราชวัง โกเลสตาน ของ อิหร่าน ทางด้านองค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ล่าสุดปี 2013 คาดว่าในอนาคตจะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเที่ยว และถ่ายภาพ พระราชวังโกเลสตาน เป็นที่ระลึกกันเป็นจำนวนมากขึ้น
ข้อมูลและภาพ : wiki / siamcornertravel.co.th / iranreview.org/ flickriver.com/
เรียบเรียงโดย Travel MThai
เรียบเรียงโดย Travel MThai