แชร์เก็บไว้เลย เตือนอันตราย! ใครชอบอดนอนมากๆ โชคร้ายอาจป่วยเป็นโรคนี้
หลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสจะซ่อนอยู่ตามปมประสาทของเราไปตลอดชีวิต เมื่อร่างกายอ่อนแอ เครียด อดนอน ไวรัสจะจู่โจมทำให้เกิดตุ่มพองใสที่เรียกว่า งูสวัด
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและแฝง ตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น อายุมาก เครียด อดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและ แฝงตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น อายุมาก เครียด อดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัส ระยะที่ติดต่อเป็นระยะช่วงที่มีผื่น ตุ่มน้ำใส และตกสะเก็ด ในรายที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ถ้าไปสัมผัสกับคนไข้ที่เป็นงูสวัดก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน
ผู้ป่วยมักมีอาการเหมือนไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือเจ็บแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้นจะเริ่มมีผื่นลักษณะแดง คัน เป็นทางยาวตามแนวประสาทของร่างกาย แต่ไม่กว้างมากนัก โดยมักเริ่มในแนวใกล้ๆ กลางลำตัวตามแนวปมประสาท เช่น ตามประสาทของลำตัว แขน ขา ตา และหู มักเกิดเพียงด้านเดียว โดยส่วนใหญ่จะพบที่ลำตัวบ่อยที่สุด
หลังเกิดผื่นได้ 1 วัน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส เมื่อตกสะเก็ดบางครั้งจะมีสะเก็ดสีดำๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะหายไปเองได้ และสามารถทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้
ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มนี้ผื่นจะรุนแรงมาก สามารถเป็นได้รอบตัว แต่ถ้าภูมิคุ้มกันปกติผื่นจะเป็นแค่ซีกเดียว
ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาไม่ทันเวลา หลังอาการที่ผิวหนังหายไปแล้วจะยังคงมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป การฟื้นตัวของเส้นประสาทนั้นจะใช้เวลานาน ส่วนมากจึงยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอีกหลายปี
สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน ภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ควรรักษากับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทานและหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
แต่ยาที่ใช้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่จะทำให้การอักเสบสงบลง และเชื้อไวรัสจะกลับไปฝังตัวอยู่ที่ปมประสาทเหมือนเดิม ถ้าร่างกายมีภาวะอ่อนแอก็กลับมาเป็นอีกได้
ซึ่งระยะหวังผลการรักษาให้หายมีอยู่แค่ 3 วันเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ถ้าบริเวณที่เจ็บนั้นมีตุ่มพองขึ้นในบริเวณเดียวกัน ต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งตรวจพบเจอเร็วก็สามารถใช้ยาต้านทานไวรัสไว้ได้ อาการเจ็บหลังเกิดโรคนั้นก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
• ในระยะเป็นตุ่มน้ำใส ให้รักษาแผลให้สะอาด โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริค 3 % ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุปเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง
• ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ จะเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
• ถ้าปวดแผลมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้
• ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และ กลายเป็นแผลเป็นได้
• การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อห้าม
• ไม่ควรเป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้
• ติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการแกะเกา หรือ ดูแลผื่นไม่ถูกต้อง ทำให้แผลหายช้าและเกิดเป็นแผลเป็นได้
• ในรายที่งูสวัดขึ้นตา อาจทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ ต้อหิน ประสาทตาอักเสบ อาจมีผลต่อการมองเห็นได้
• ในรายที่เป็นงูสวัดบริเวณหู อาจทำให้เกิดอัมพาตในหน้าครึ่งซีก มีอาการบ้านหมุน อาเจียน ตากระตุกได้
• ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือเข้าสู่สมอง และอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
• ผู้หญิงที่เป็นงูสวัดขณะตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่ไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติ เช่น มีแผลเป็นตามตัว แขนขาลีบ ศีรษะเล็ก และมีปัญหาทางสมองได้
พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด โดยเฉพาะคนไข้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ในบางรายอาจจะใช้การฉีดวัคซีนได้ โรคเริม กับ
ความแตกต่างระหว่าง เริม กับ งูสวัด
มีอาการและลักษณะคล้ายๆ กัน วิธีการสังเกตุง่ายๆ คือ งูสวัดมีลักษณะผื่นที่เป็นปื้นกระจายตัวตามเส้นประสาท ถ้าเป็นเริมตุ่มน้ำใสจะขึ้นทีละน้อยมากันเป็นกลุ่มๆ งูสวัดจะปวดแสบปวดร้อนมากกว่า ในเริมอาจแค่แสบๆ คันๆ งูสวัดส่วนใหญ่เป็นแค่ครั้งเดียว แต่เริมเป็นซ้ำได้บ่อยๆ
• ถ้าหากเห็นมีตุ่มใสๆ เห่อขึ้นตามผิวหนังส่วนไดก็ตามให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคงูสวัดเอาไว้ก่อน และรีบไปรักษาโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยไว้จะยิ่งรักษายาก
• ถ้าไปพบแพทย์ในช่วงมีอาการปวดหัว หรือปวดตามปมประสาท ส่วนใหญ่แพทย์จะวินัจฉัยผิดว่าเป็นการปวดหัว หรือปวดเส้นประสาททั่วไป
• อาการแสบร้อนมักเป็นในช่วงกลางคืน วันรุ่งขึ้นจะมีตุ่มพองเหมือนถูกยุงกัดบริเวณที่ปวด ให้สงสัยว่าเป็นงูสวัด
• คนที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสจะไม่มีทางเป็นงูสวัส
ข้อมูลจาก medicthai
หลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสจะซ่อนอยู่ตามปมประสาทของเราไปตลอดชีวิต เมื่อร่างกายอ่อนแอ เครียด อดนอน ไวรัสจะจู่โจมทำให้เกิดตุ่มพองใสที่เรียกว่า งูสวัด
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและแฝง ตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น อายุมาก เครียด อดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท
โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและ แฝงตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น อายุมาก เครียด อดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท
โรคงูสวัดติดต่ออย่างไร?
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัส ระยะที่ติดต่อเป็นระยะช่วงที่มีผื่น ตุ่มน้ำใส และตกสะเก็ด ในรายที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ถ้าไปสัมผัสกับคนไข้ที่เป็นงูสวัดก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน
งูสวัดมีอาการอย่างไรบ้าง?
ผู้ป่วยมักมีอาการเหมือนไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือเจ็บแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้นจะเริ่มมีผื่นลักษณะแดง คัน เป็นทางยาวตามแนวประสาทของร่างกาย แต่ไม่กว้างมากนัก โดยมักเริ่มในแนวใกล้ๆ กลางลำตัวตามแนวปมประสาท เช่น ตามประสาทของลำตัว แขน ขา ตา และหู มักเกิดเพียงด้านเดียว โดยส่วนใหญ่จะพบที่ลำตัวบ่อยที่สุด
หลังเกิดผื่นได้ 1 วัน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส เมื่อตกสะเก็ดบางครั้งจะมีสะเก็ดสีดำๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะหายไปเองได้ และสามารถทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้
ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มนี้ผื่นจะรุนแรงมาก สามารถเป็นได้รอบตัว แต่ถ้าภูมิคุ้มกันปกติผื่นจะเป็นแค่ซีกเดียว
อาการปวดหลังเป็นงูสวัด
ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาไม่ทันเวลา หลังอาการที่ผิวหนังหายไปแล้วจะยังคงมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป การฟื้นตัวของเส้นประสาทนั้นจะใช้เวลานาน ส่วนมากจึงยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอีกหลายปี
การรักษาโรคงูสวัด
สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน ภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ควรรักษากับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทานและหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
แต่ยาที่ใช้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่จะทำให้การอักเสบสงบลง และเชื้อไวรัสจะกลับไปฝังตัวอยู่ที่ปมประสาทเหมือนเดิม ถ้าร่างกายมีภาวะอ่อนแอก็กลับมาเป็นอีกได้
ซึ่งระยะหวังผลการรักษาให้หายมีอยู่แค่ 3 วันเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ถ้าบริเวณที่เจ็บนั้นมีตุ่มพองขึ้นในบริเวณเดียวกัน ต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งตรวจพบเจอเร็วก็สามารถใช้ยาต้านทานไวรัสไว้ได้ อาการเจ็บหลังเกิดโรคนั้นก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
การดูแลรักษาด้วยตัวเอง
• ในระยะเป็นตุ่มน้ำใส ให้รักษาแผลให้สะอาด โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริค 3 % ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุปเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง
• ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ จะเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
• ถ้าปวดแผลมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้
• ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และ กลายเป็นแผลเป็นได้
• การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อห้าม
• ไม่ควรเป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด
• ติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการแกะเกา หรือ ดูแลผื่นไม่ถูกต้อง ทำให้แผลหายช้าและเกิดเป็นแผลเป็นได้
• ในรายที่งูสวัดขึ้นตา อาจทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ ต้อหิน ประสาทตาอักเสบ อาจมีผลต่อการมองเห็นได้
• ในรายที่เป็นงูสวัดบริเวณหู อาจทำให้เกิดอัมพาตในหน้าครึ่งซีก มีอาการบ้านหมุน อาเจียน ตากระตุกได้
• ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือเข้าสู่สมอง และอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
• ผู้หญิงที่เป็นงูสวัดขณะตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่ไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติ เช่น มีแผลเป็นตามตัว แขนขาลีบ ศีรษะเล็ก และมีปัญหาทางสมองได้
วิธีป้องกันงูสวัด
พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด โดยเฉพาะคนไข้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ในบางรายอาจจะใช้การฉีดวัคซีนได้ โรคเริม กับ
ความแตกต่างระหว่าง เริม กับ งูสวัด
มีอาการและลักษณะคล้ายๆ กัน วิธีการสังเกตุง่ายๆ คือ งูสวัดมีลักษณะผื่นที่เป็นปื้นกระจายตัวตามเส้นประสาท ถ้าเป็นเริมตุ่มน้ำใสจะขึ้นทีละน้อยมากันเป็นกลุ่มๆ งูสวัดจะปวดแสบปวดร้อนมากกว่า ในเริมอาจแค่แสบๆ คันๆ งูสวัดส่วนใหญ่เป็นแค่ครั้งเดียว แต่เริมเป็นซ้ำได้บ่อยๆ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคงูสวัด
• ถ้าหากเห็นมีตุ่มใสๆ เห่อขึ้นตามผิวหนังส่วนไดก็ตามให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคงูสวัดเอาไว้ก่อน และรีบไปรักษาโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยไว้จะยิ่งรักษายาก
• ถ้าไปพบแพทย์ในช่วงมีอาการปวดหัว หรือปวดตามปมประสาท ส่วนใหญ่แพทย์จะวินัจฉัยผิดว่าเป็นการปวดหัว หรือปวดเส้นประสาททั่วไป
• อาการแสบร้อนมักเป็นในช่วงกลางคืน วันรุ่งขึ้นจะมีตุ่มพองเหมือนถูกยุงกัดบริเวณที่ปวด ให้สงสัยว่าเป็นงูสวัด
• คนที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสจะไม่มีทางเป็นงูสวัส
ข้อมูลจาก medicthai