เตรียมระวังครั้งยิ่งใหญ่!! “น้ำจะท่วมโลก” ใกล้หมดเวลา ของมนุษยชาติ เริ่มสะท้อนผลกระทบ แล้วจริงๆหรอ !! (รายละเอียด)

เรียกได้ว่าตั้งแต่ในปี 2016 เราคนไทยคงรู้สึกตรงกันว่า ฤดูหนาวครั้งที่ผ่านมานั้นสั้นกว่าทุกๆ ปี อุณหภูมิที่สูงขึ้นในไทยสะท้อนสภาพอากาศที่ร้อนทั่วทั้งโลก ทั้งภัยแล้งรุนแรงในแอฟริกา อากาศร้อนนานและมีท่าทีว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มสะท้อนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศชัดเจน และใกล้ตัวเราทุกคนมากขึ้นเรื่อยๆ!

ภาวะโลกร้อนนี้เองได้สะท้อนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศชัดเจนและเห็นได้ชัด ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของทวีปที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งอย่างทวีปอาร์กติกและแอนตาร์กติกาอย่างเห็นได้ชัด เช่น การ “ละลาย” ของ “แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้” ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมา แตกออกจากแผ่นหลัก จนหลายคนต่างตื่นตกใจว่า นี่อาจเป็น สัญญาณเตือนน้ำจะท่วมโลก??

หิ้งน้ำแข็งขนาดยักษ์ ชื่อ Larsen C ส่วนหนึ่งที่แตกตัวออกมาของ Larsen C ของน้ำแข็งขั้วโลกใต้ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาคือ 5,300 ตร.กม. ใหญ่กว่ากรุงเทพเกือบ 4 เท่า (กรุงเทพมีพื้นที่ 1,500 ตร.กม.) นอกจากใหญ่แล้ว ยังหนาถึง 350 เมตร สูงกว่าตึกมหานคร ตึกสูงที่สุดของประเทศไทย (ตึกสูง 314 เมตร) ใหญ่และหนาไม่พอ ยังหนักอึ้ง น้ำหนัก 1 ล้านล้านตัน

นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ทำการบันทึกจากดาวเทียมสำรวจขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา (NASA) ช่วงต้นเดือนมีนาคม 2017 ที่ผ่านมา น้ำแข็งที่ปกคลุมทั่วอาร์กติก (พื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ) และทวีปแอนตาร์กติกา (ทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้) เข้าสู่ขั้นละลายอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งได้รับข้อมูลสนับสนุนมาจากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ (National Snow and Ice Data Center) ในโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการสำรวจเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา และพบว่าน้ำแข็งรอบแอนตาร์กติกามีระดับลดลงถึงขั้นต่ำสุดจากบันทึกของการสำรวจผ่านดาวเทียม

ส่วนสาเหตุสำคัญที่น้ำแข็งหายไปนั้น เพราะโลกถูกบันทึกว่ามีสถิติความร้อนเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 3 ปี และเพิ่มความกังวลใหม่ๆ เกี่ยวกับการเกิดภาวะโลกร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งสิ่งที่เป็นกังวลเข้าขั้นวิกฤตคือ ปริมาณการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ที่มักปล่อยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากการผลิตพลังงานและการขนส่ง ซึ่งตัวเชื้อเพลิงฟอสซิลนี้คือตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ

โดยปกติแล้วน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกจะละลายในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อน หรือประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนกันยายน และจะก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว หรือประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนมีนาคม โดยแผ่นน้ำแข็งจะขยายตัวสูงสุดในรอบปีช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์กับเมษายน และจากการสรุปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2017 พบว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมนี้กลับถูกบันทึกได้ว่ากำลังลดต่ำลงที่สุดในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่าพื้นที่แผ่นน้ำแข็งของอาร์กติกจะมีปริมาณสูงสุดเพียง 5.57 ล้านตารางไมล์ หรือ 14.42 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าระดับต่ำสุดที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนมีนาคมปี 2016

นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ยังเผยว่าน้ำแข็งยังมีค่าเฉลี่ยลดลง 2.8% ต่อ 1 ทศวรรษมาตั้งแต่ปี 1979 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มบันทึกสถิติ หรือพูดง่ายๆ คือละลายลงมากที่สุดในรอบ 38 ปี

ขณะที่ตัวเลขของแอนตาร์กติกาในปีนี้ ระดับน้ำแข็งในทะเลในระยะ 815,000 ตารางไมล์ (2.11 ล้านตารางกิโลเมตร) เคยลดลงเหลือน้อยที่สุดอยู่ที่ 71,000 ตารางไมล์ (184,000 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งมีค่าต่ำกว่าการบันทึกข้อมูลของดาวเทียมที่วัดครั้งแรกในปี 1997

วอลต์ เมเออร์ (Walt Meier) นักวิจัยของนาซาในส่วนงานวิจัยด้านทะเลน้ำแข็งจากศูนย์การบินอวกาศ Goddard กล่าวว่า “มีน้ำในมหาสมุทรในปริมาณมาก และเราเห็นช่วงเวลาของการเพิ่มขึ้นของน้ำแข็งที่ช้าในช่วงปลายเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน นั่นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำจำนวนมากที่ละลายจากการสะสมความร้อน น้ำแข็งเริ่มก่อตัวช้าลงเรื่อยๆ”

“ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน (2016) เป็นต้นมา ปริมาณน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาอยู่ในระดับต่ำสุดจากบันทึกของดาวเทียม” นาซาเผย

“ทั้งในทะเลอาร์กติกและแอนตาร์กติกา มีความแปรปรวนมากในแต่ละปี แต่โดยรวมแล้วจนถึงปีที่ผ่านมาอย่างแอนตาร์กติกามีปริมาณน้ำทะเลมากขึ้นทุกเดือน เห็นได้ชัดจากปีที่แล้ว” แคลร์ พาร์กินสัน (Claire Parkinson) นักวิจัยอาวุโสของนาซา Goddard กล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่แน่ใจว่าค่าต่ำสุดที่วัดได้ในแอนตาร์กติกานี้หมายความว่าอย่างไร เพราะเชื่อว่าการยืนยันถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูลจากหลายแหล่งมายืนยันพร้อมกัน