Home »
สาระ ความรู้
»
พระราชดำริของในหลวง ร. 9 โครงการสะพานน้ำ “ยกน้ำข้ามถนน” แห่งเดียวในประเทศไทย
พระราชดำริของในหลวง ร. 9 โครงการสะพานน้ำ “ยกน้ำข้ามถนน” แห่งเดียวในประเทศไทย
ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพสะพานน้ำแห่งหนึ่งกันอย่างมากมาย
โดยหลายคนเกิดความสงสัยว่ามันมีจริงหรือแล้วมันสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง?
โดยจากการตรวจสอบแล้วพบว่า
แท้ที่จริงแล้วสะพานน้ำดังกล่าวเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแนวทางพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ รวมถึงปัญหาการจราจร
ซึ่งสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศ
สะพานน้ำยกระดับ
ที่มีความยาวมากที่สุดแห่งแรกของประเทศไทย
ได้ถูกสร้างขึ้นจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี
2546
ที่พระราชทานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ
บางแห่งเป็นพื้นที่แอ่งท้องกระทะ และการขยายตัวของเมือง
ทำให้พื้นที่รับน้ำลดลง และการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยทำได้ยากขึ้น
รัฐบาลจึงได้จัดตั้งโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรรภูมิขึ้น
และเริ่มลงมือก่อสร้างสะพานยกน้ำตั้งแต่ปี 2548
แล้วเสร็จเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2553 สะพานน้ำยกระดับ
มีความยาวกว่า 10 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายคลองระบายน้ำ
ที่ถูกสร้างเป็นสะพานน้ำยกสูงจากถนนสุขุมวิทถึง 6 เมตร เป็นรูปตัวยู
ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท
โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ
1. เพื่อเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน
โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเลและสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง
ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล
2. เพื่อสามารถติดตามสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการน้ำหลาก ทั้งระบบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
3.
เพื่อเป็นถนนเชื่อมโยงถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ และถนนบางนา-ตราด
ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของจังหวัดสมุทรปราการ
ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมาก
และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ
4. เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้บางส่วน สำหรับทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นบริเวณใกล้เคียง
5. เพื่อช่วยเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศของจังหวัดสมุทรปราการ
การทำงานของ
สะพานน้ำยกระดับจะมีอาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำเป็นอาคารรับน้ำจากสถานีสูบน้ำ
โดยยกระดับให้น้ำไหลไปตามสะพานน้ำ อัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ให้ลงสู่ทะเลโดยตรง
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับ รูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25 เมตร
กำแพงสูงข้างละ 3.15 เมตร สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6 เมตร
ประสิทธิภาพของการใช้งาน
ช่วยระบายน้ำต่อจากคลองสำโรงได้สูงสุด 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
โดยมีเครื่องสูบระบายน้ำ 4 เครื่อง ผลักดันออกทะเล ซึ่งในช่วงอุทกภัยปี
2554 โครงการนี้ถือว่าเป็นจุดหลักที่ช่วยระบายน้ำได้มากถึง 560
ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากว่าครึ่งหนึ่งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1.
ลดพื้นที่น้ำท่วมลง 140 ตารางกิโลเมตร
และช่วยลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมขัง
ปัญหาน้ำหลากและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จาก 10 วันเหลือ 2 วัน
โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำฝนสูงสุดในรอบ 25 ปี ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2533
2. มีการสร้างถนนคันคลอง
และสะพานสำหรับรถยนต์เชื่อมจากถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ไปจนถึงบางนาตราดจำนวน 2
ช่องจราจร เพื่อเตรียมไว้รองรับการขยายถนน เป็น 4 ช่องจราจรในอนาคต
ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณพื้นที่โครงการและจังหวัดสมุทรปราการ
3. เป็นแหล่งน้ำจืดสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อการเกษตรกรรมประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร
4. การบริหารจัดการน้ำหลากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน
ไม่เพียงเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยให้เร็วขึ้นเท่านั้น
ยังใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้งทำการเกษตร และกิจกรรมอื่นๆ
รวมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการด้วย
แหล่งที่มา: Richard Barrow