Home »
Uncategories »
เผยเทคนิคนำของเข้ามาขายในเซเว่นฯ บอกหมดไม่มีกั๊ก
เผยเทคนิคนำของเข้ามาขายในเซเว่นฯ บอกหมดไม่มีกั๊ก
นับว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการนำสินค้าของตนเองเข้าไปขายในร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ
และมีอยู่ทุกตรอกซอกซอยของไทยอย่าง เซเว่น (Seven Eleven)
โดยจากบทสัมภาษณ์ที่ทางเว็บไซต์ Smart SME ที่ได้สัมภาษณ์ คุณบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าร้านสะดวกซื้ออย่าง “เซเว่นอีเลฟเว่น” ได้นำเข้าขายสินค้าจาก
SMEs จำนวนไม่น้อย
แต่คนมักเข้าใจผิดเพราะจะเห็นว่าสินค้าเหล่านั้นได้ติดโลโก้ของเซเว่นฯบนบรรจุภัณฑ์
จึงอาจมองว่าเป็นสินค้าของเซเว่นฯที่ผลิตและขายเอง
ในขณะที่สินค้าเครือซีพีที่วางขายในเซเว่นฯมีไม่ถึง 10% ทั้งนี้เซเว่นฯ
จึงจำแนกสินค้าของ SMEs ที่ติดโลโก้เซเว่นฯออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1.Seven Select
หมายถึงร้านเซเว่นฯได้คัดสรรสินค้ามาให้ผู้บริโภคแล้ว ซึ่งเป็นสินค้าที่เซเว่นฯ ไม่ได้ผลิตเองแต่เป็นสินค้าของ SMEs
2.Seven Fresh
เป็นสินค้าที่เซเว่นฯต้องการนำเสนอถึงความสดใหม่ เช่น เบเกอรี ขนมปัง
ผลไม้ ฯลฯ
ซึ่งจริงอยู่ที่สินค้าประเภทนี้ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มซีพีออลล์เอง
แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นของบริษัทอื่นๆทั้งที่เป็น SMEs และผู้ค้ารายใหญ่
3.Only at Seven
คือสินค้าของ SMEs ทั้งรายเล็กรายกลาง ที่เซเว่นฯได้ร่วมคิดค้น
พัฒนาสินค้าชิ้นนั้นขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ทำให้เซเว่นฯต้องขอสงวนสิทธิ์ขายสินค้าชิ้นนั้นๆเฉพาะในเซเว่นฯเท่านั้น
เซเว่นฯถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีศักยภาพเพราะมีสาขาถึง 10,000
แห่งในประเทศไทย กับจำนวนสินค้าทั้งหมดกว่า 20,000 รายการ ซึ่งหาก SMEs
นำสินค้าเข้ามาวางขายก็จะเป็นการทำธุรกิจที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย ทั้ง SMEs
ก็จะมีตลาดกระจายสินค้าได้มากขึ้น ส่วนเซเว่นฯเองก็จะมีสินค้าที่
Differentiate เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดแข่งขัน การคัดเลือกสินค้า เซเว่นได้แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
มีทีม merchandise ออกไปค้นหาสินค้าน่าสนใจและตรงตามความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเข้ามาขายในร้าน
ด้านเจ้าของสินค้า ได้ติดต่อเข้ามาในบริษัทเพื่อขอนำเสนอสินค้า
เนื่องจากเซเว่นฯเป็นร้าน “อิ่มสะดวก” ที่มีสินค้าหลักในร้านเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นหน้าที่ของเซเว่นฯ
จึงต้องออกไปเสาะแสวงหาอาหารและเครื่องดื่มที่ “แปลกใหม่”
มีคุณภาพดีและปลอดภัยมาสนองความต้องการให้ลูกค้า
และขณะนี้เซเว่นฯกำลังมองหาสินค้าที่เป็น “ของดีประจำท้องถิ่นหรือจังหวัด”
มาขายในร้านเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้บริโภค
สำหรับสินค้า SMEs ที่ขายผ่านเซเว่นฯอยู่ 2
ลักษณะคือสินค้าทดลองตลาดซึ่งจะขายอยู่ในแคตตาล็อก 24 shopping ซึ่งมี SMEs
เข้าร่วม 1,800 ราย
และอีกส่วนคือสินค้าที่ขายดีมากแล้วก็จะถูกนำไปวางบนเชลล์ในร้าน มี SMEs
ร่วมอยู่ 200 ราย กับสินค้าที่วางขายในร้านกว่า 1,000 รายการ
โดยผู้ประกอบการที่ต้องการนำสินค้ามาแนะนำเพื่อวางขายในร้านต้องมีคุณสมบัติดังนี้
“SMEs
ต้องมั่นใจว่าสินค้าชิ้นนั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารก็ต้องมีความอร่อยและโดดเด่น มีความปลอดภัย
ที่สำคัญต้องมีราคาที่ไม่สูงมากเหมาะสมที่จะขายในเซเว่นฯ
เนื่องจากลูกค้าที่เข้าร้านไม่ได้จ่ายเงินต่อชิ้นแพงมาก
โดยยอดบิลเฉลี่ยต่อคนอยู่ทื่ 60-80 บาท
นี่จึงทำให้เซเว่นฯต้องคัดสรรสินค้าที่ดีและมีความเฉพาะเจาะจง
เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคทุกกลุ่ม”
เมื่อนำเสนอแล้ว ขั้นต่อมาต้องผ่านการชิมหรือผ่านการพิจารณาด้านต่างๆ
เช่น เรื่องความสวยงามของแพคเกจจิ้งและขนาด
เพราะหากใหญ่ไปก็จะไม่สามารถขายได้ในเซเว่นฯ “คนเข้าเซเว่นส่วนมากไม่ซื้อของที่เป็นไซส์ใหญ่ๆ”ถัดมาคือการทดลองนำไปวิเคราะห์ถึงความสะอาดว่ามีสารตกค้างหรือใส่สารกันบูดหรือไม่?
เมื่อมั่นใจว่าขายได้
จากนั้นเซเว่นฯก็จะส่งคนไปตรวจดูโรงงานถึงความน่าเชื่อถือ ความสะอาด
ตรงตามหลัก อย. และถูกกฎกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งต้องใช้เวลาคัดกรองหลายเดือนและในบางรายก็เป็นปี
เพราะสินค้าอย่างประเภทอาหารก็ต้องมีทีมพิจารณาหลายทีม เช่น ทีมพิจารณาสี,
กลิ่น, รส, ความสวยงาม ฯลฯ
หลายคนอาจมองว่าการจะนำสินค้าเข้าเซเว่นฯเป็นเรื่องยาก
ซึ่งก็ยากจริงๆเพราะกว่าที่เซเว่นฯจะมาถึงจุดนี้ได้
เราต้องผ่านการคัดสรรสินค้าคุณภาพและความอร่อยมาอย่างมากมาย
ฉะนั้นเซเว่นฯจึงต้องการสินค้าที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
แต่หากสินค้าของ SMEs
สามารถตอบสนองความต้องการของเซเว่นฯดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้
การนำเข้าสินค้าก็ไม่ไช่เรื่องยากอะไรเลย
ด้านสินค้า SMEs ที่ขายดีในเซเว่นฯ ได้แก่ กล้วยหอมสด
ที่ขายได้กว่าวันละ 200,000 ลูก, น้ำมะพร้าว, มะม่วงเกษตรแปรรูปแบบต่างๆ,
มะขามแปรรูป, กล้วยแปรรูปและทุเรียนทอด
นอกจากสินค้าเกษตรแปรรูปที่ขายดีแล้วยังมีขนมปังและแซนวิชที่ขายดีมากๆ
โดยเฉพาะแซนวิชแฮมชีสที่ขายได้ถึง 500,000 ชิ้นต่อวัน ซึ่งก็มี SMEs
จำนวนไม่น้อยที่เป็นธุรกิจไซส์ S จากการเริ่มต้นขายในเซเว่น
แล้วต่อมาก็เติบโตจนกลายมาเป็น SMEs ไซส์ M และ L
สุดท้ายอยากให้ SMEs หมั่นพัฒนาตนเองเพื่อก้าวให้ทันโลก
เพราะการทำธุรกิจยุคปัจจุบันต้องทันกระแสสังคมและตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าเป็นหลัก
ต่างจากอดีตที่ผู้ประกอบการต้องผลิตในสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบัน
SMEs ต้องเปลี่ยนมาผลิตในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
พร้อมกับการบริหารที่ทันสมัยและรู้จักใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสาน
สำคัญที่สุดคือต้องไม่ท้อถอยและอดทนรอความสำเร็จให้ได้
ติดต่อนำเสนอสินค้าเข้าเซเว่นฯ : 02- 677-9000