Home »
Uncategories »
ผลวิจัยชี้ “คนขี้ลืม” เขาไม่ใช่คนโง่ แต่กลับเป็นคนฉลาดมาก
ผลวิจัยชี้ “คนขี้ลืม” เขาไม่ใช่คนโง่ แต่กลับเป็นคนฉลาดมาก
ผลวิจัยชี้ “คนขี้ลืม” เขาไม่ใช่คนโง่ แต่กลับเป็นคนฉลาดมาก
เป็นอีกหนึ่งบทความดีๆ ที่อยากให้ได้อ่าน
สำหรับใครในที่นี่เคยถูกว่าถูกด่าว่าตัวเองนั้นเป็นคนขี้หลงขี้ลืม
ขอยกมือขึ้น เย้ บอกเลยว่าคุณต้องลืมสิ่งที่ถูกต่อว่านั้นไปได้เลย
ทำจิตใจให้สบายและมาอ่านเรื่องราวที่เรากำลังจะมาเสนอในวันนี้
เพราะล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้มีผลการวิจัยของต่างประเทศ
ได้ชี้ให้เห็นชัดๆแล้วว่า คนขี้ลืมนั้นไม่ใช่คนที่โง่
แต่คนที่ลืมคือคนที่ฉลาดต่างหาก
Paul Frankland และ Blake Richards สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต
ประเทศแคนาดา
ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องกลไกการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ
และพวกเขาก็ได้พบว่า
ความขี้หลงขี้ลืม
ไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพในการเรียกคืนข้อมูลล้มเหลว
หากแต่นี่เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สมองสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Blake Richards กล่าวว่า “เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ
สมองของคนเราต้องลืมหรือตัดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง
และให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับเรื่องที่จำเป็นหรือเรื่องที่ต้องตัดสินใจในช่วงเวลา
ณ ขณะนั้น เพราะถ้าคุณพยายามจะจำทุกสิ่งอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
Paul Frankland ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
“จากผลการวิจัยที่เราได้ศึกษาค้นคว้ากันมา แสดงให้เห็นว่า
สมองของคนเรามีกลไกบางอย่างที่สนับสนุนให้เกิดอาการหลงๆ ลืมๆ
ซึ่งมันแตกต่างจากกลไกของสมองที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลเป็นอย่างมาก
และประโยชน์ของเจ้ากลไกชนิดนี้ก็คือ
ทำให้คนที่ขี้ลืมนั้นมีความคิดความอ่านที่ฉลาดและหลักแหลมนั่นเอง”
สมองของคุณก็จะอัดแน่นไปด้วยความจำเหล่านั้นมากเกินไป ทำให้สมองเบลอ
เชื่องช้า ส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำได้ยาก พูดง่ายๆ ก็คือ
คุณจะลังเลไม่กล้าตัดสินใจในทุกๆ เรื่องนั่นเอง
และสมองของคนเราเป็นตัวกรองข้อมูลชั้นดี นั่นหมายความว่า
อะไรที่ไม่สำคัญก็ควรจะลืมๆ มันไปซะ
เหมือนเป็นการเคลียร์สมองเพื่อเก็บพื้นที่เอาไว้จดจำในเรื่องที่สำคัญๆ
หรือเรื่องที่ตัวเองสนใจก็เพียงพอแล้ว”
อย่างไรก็ตามนักวิจัยทั้งสองคนก็ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า
ผลงานวิจัยของพวกเขาชิ้นนี้หมายถึงคนที่มีนิสัยขี้ลืมหน่อยๆ
ไม่ได้หมายถึงคนที่ขี้หลงขี้ลืมมากๆ ชนิดที่ว่าจำเรื่องราวสำคัญๆ ต่างๆ
ไม่ได้เลย
เพราะนั่นคืออาการป่วยหรือเป็นอาการของโรคความจำเสื่อมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย
แต่ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจะเป็นการดีที่สุดนั่นเอง
ขอขอบคุณ : SpokeDark.TV