ปัญหาร้ายแรงที่นักขับรถไม่อยากพบเจอมากที่สุดคือ
ยางระเบิดหรือยางแตกขณะขับรถ
เพราะการแก้ไขปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคนที่จะสามารถควบคุมสติและควบคุมรถให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุได้
บางครั้งร้ายแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต หรือพิการ บาดเจ็บ
ข่าวอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นบนท้องถนนมีหลายครั้งที่เกิดจากปัญหายางระเบิดขณะวิ่งบนถนน
ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหานี้เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้
หากเจ้าของรถใส่ใจดูแลตรวจสภาพยางรถอย่างสม่ำเสมอ
และฝึกฝนวิธีการขับรถที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย
การหมั่นดูแลตรวจสภาพยางรถทุกเส้นตามระยะเวลาใช้งานที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการตรวจสภาพยางรถแต่ละครั้งใช้เวลาไม่มาก อาการเบื้องต้นของยางที่เสื่อมสภาพมีดังนี้
• ลมอ่อนบ่อยๆ โดยไม่พบรอยรั่ว
• มีอาการบวมที่แก้มยางหรือหน้ายาง
• เบรกรถที่ความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดังคล้ายการเบรกอย่างรุนแรง
• ขณะเลี้ยวโค้งที่มีความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดัง
• พวงมาลัยหรือตัวรถมีอาการสั่น ทั้งๆ ที่ได้ทำการถ่วงล้อมาแล้ว และโช้กอัพไม่เสีย
ถ้าพบอาการดังกล่าว สิ่งที่ควรทำคือเปลี่ยนยางใหม่จะปลอดภัยกว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้ยางระเบิดขณะขับรถ พอจะประมวลได้ดังนี้
• ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ เป็นต้น
• ยางเก่าเก็บ
• ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินพิกัดยางที่กำหนดไว้
• บรรทุกน้ำหนักเกินค่ากำหนด
• สูบลมยางไม่ถูกต้อง
• เปลี่ยนยางใหม่แต่ใช้จุ๊บเติมลมอันเก่า
นอกจากนี้ ยังมีกรณีของยางร้อนจัดเนื่องมาจากเบรกติดที่ล้อใดล้อหนึ่ง กรณีนี้อาจทำให้เกิดไฟไหม้รถได้ สาเหตุที่เกิดคือ เลือกใช้ยางไม่ถูกขนาด เช่น เอายางรถเก๋งไปใส่รถปิกอัพ เป็นต้น หรือแก้มยางเสียดสีกับขอบถนน
อาการเตือนก่อนที่ยางจะระเบิด
ขณะที่ขับรถอยู่ ถ้ารู้สึกว่าพวงมาลัยเริ่มสั่นสะเทือนผิดปกติและบังคับรถได้ยากโดยเฉพาะในขณะเลี้ยว ทั้งๆที่ไม่มีปัญหาเรื่องถ่วงล้อและศูนย์ล้อหน้าปกติ ลูกหมากไม่หลวม และขณะขับมาระยะแรกๆพวงมาลัยไม่สั่น อาการนี้เป็นสิ่งบอกเหตุว่ายางรถยนต์เริ่มบวมพร้อมที่จะระเบิดแล้ว ควรชะลอความเร็วและจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ลงจากรถแล้วรีบตรวจสภาพยางทันที ซึ่งโดยส่วนมากจะพบว่ายางร้อนจัดและบวมเนื่องจากเสื่อมสภาพ
แต่หากไม่ได้เฉลียวใจยังคงขับต่อไปก็มีข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิด ล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้ายรถจะแฉลบไปด้านซ้าย แล้วจะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกสลับกันไป และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการจะกลับเป็นตรงกันข้าม อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดจากกรณีนี้และมีผลเสียหายที่รุนแรงส่วนมากเป็นเพราะขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิดขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ผู้ขับจึงไม่มีเวลาและโอกาสที่จะทำอะไรได้เลย ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น จึงไม่ควรขับรถเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะขับรถไม่เร็วแต่หากประสบกับปัญหายางระเบิดในขณะขับรถ ก็มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อสามารถควบคุมรถให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุได้ ดังนี้
• มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
• ถอนคันเร่งออก
• ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจ มองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
• แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
• ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาด เพราะถ้าเหยียบคลัตช์ รถจะไม่เกาะถนน รถจะลอยตัว บังคับได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลัก เพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลา
• ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาดจะทำให้รถหมุน
• เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้ว ให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
• เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
Credit: คุณชรินทร์พร ธนศุภานุเวช
การหมั่นดูแลตรวจสภาพยางรถทุกเส้นตามระยะเวลาใช้งานที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการตรวจสภาพยางรถแต่ละครั้งใช้เวลาไม่มาก อาการเบื้องต้นของยางที่เสื่อมสภาพมีดังนี้
• ลมอ่อนบ่อยๆ โดยไม่พบรอยรั่ว
• มีอาการบวมที่แก้มยางหรือหน้ายาง
• เบรกรถที่ความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดังคล้ายการเบรกอย่างรุนแรง
• ขณะเลี้ยวโค้งที่มีความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดัง
• พวงมาลัยหรือตัวรถมีอาการสั่น ทั้งๆ ที่ได้ทำการถ่วงล้อมาแล้ว และโช้กอัพไม่เสีย
ถ้าพบอาการดังกล่าว สิ่งที่ควรทำคือเปลี่ยนยางใหม่จะปลอดภัยกว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้ยางระเบิดขณะขับรถ พอจะประมวลได้ดังนี้
• ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ เป็นต้น
• ยางเก่าเก็บ
• ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินพิกัดยางที่กำหนดไว้
• บรรทุกน้ำหนักเกินค่ากำหนด
• สูบลมยางไม่ถูกต้อง
• เปลี่ยนยางใหม่แต่ใช้จุ๊บเติมลมอันเก่า
นอกจากนี้ ยังมีกรณีของยางร้อนจัดเนื่องมาจากเบรกติดที่ล้อใดล้อหนึ่ง กรณีนี้อาจทำให้เกิดไฟไหม้รถได้ สาเหตุที่เกิดคือ เลือกใช้ยางไม่ถูกขนาด เช่น เอายางรถเก๋งไปใส่รถปิกอัพ เป็นต้น หรือแก้มยางเสียดสีกับขอบถนน
อาการเตือนก่อนที่ยางจะระเบิด
ขณะที่ขับรถอยู่ ถ้ารู้สึกว่าพวงมาลัยเริ่มสั่นสะเทือนผิดปกติและบังคับรถได้ยากโดยเฉพาะในขณะเลี้ยว ทั้งๆที่ไม่มีปัญหาเรื่องถ่วงล้อและศูนย์ล้อหน้าปกติ ลูกหมากไม่หลวม และขณะขับมาระยะแรกๆพวงมาลัยไม่สั่น อาการนี้เป็นสิ่งบอกเหตุว่ายางรถยนต์เริ่มบวมพร้อมที่จะระเบิดแล้ว ควรชะลอความเร็วและจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ลงจากรถแล้วรีบตรวจสภาพยางทันที ซึ่งโดยส่วนมากจะพบว่ายางร้อนจัดและบวมเนื่องจากเสื่อมสภาพ
แต่หากไม่ได้เฉลียวใจยังคงขับต่อไปก็มีข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิด ล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้ายรถจะแฉลบไปด้านซ้าย แล้วจะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกสลับกันไป และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการจะกลับเป็นตรงกันข้าม อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดจากกรณีนี้และมีผลเสียหายที่รุนแรงส่วนมากเป็นเพราะขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิดขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ผู้ขับจึงไม่มีเวลาและโอกาสที่จะทำอะไรได้เลย ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น จึงไม่ควรขับรถเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะขับรถไม่เร็วแต่หากประสบกับปัญหายางระเบิดในขณะขับรถ ก็มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อสามารถควบคุมรถให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุได้ ดังนี้
• มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
• ถอนคันเร่งออก
• ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจ มองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
• แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
• ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาด เพราะถ้าเหยียบคลัตช์ รถจะไม่เกาะถนน รถจะลอยตัว บังคับได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลัก เพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลา
• ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาดจะทำให้รถหมุน
• เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้ว ให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
• เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
Credit: คุณชรินทร์พร ธนศุภานุเวช