ทำไมดินดำในพื้นที่ลุ่มน้ำอะเมซอน ปลูกพืชผัก ต้นไม้โตเร็ว
ลำต้นอุดมสมบูรณ์ แทบไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ย
นักวิทยาศาสตร์จึงเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์
จึงรู้ว่าดินดำมีส่วนผสมคาร์บอนและธาตุโปแตสเซียมสูง
คาร์บอนหรือถ่าน นอกจากจะเป็นเชื้อเพลิง ยังมีคุณสมบัติดูดซับกลิ่น ช่วยเก็บกักธาตุอาหารส่งต่อให้พืชนำไปใช้ สร้างราก ลำต้น ดูดซับอาหาร เมื่อลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง จะต้านทานโรคต่างๆได้ดี ให้ผลผลิตไว เกษตรกรไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย หายามารักษาโรค
จากข้อมูลดังกล่าว ดร.สุวรรณี แทนธานี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงทำการวิจัยคิดหาวิธีเพิ่มคาร์บอนให้กับดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน, เปลือกกล้วยดิบ, แกลบ, ไม้, กะลาปาล์ม มาทดลองเผาให้กลายเป็นถ่านสีดำหรือคาร์บอน แล้วบดให้ละเอียด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า วัสดุประเภทไหนมีธาตุอาหารโปแตสเซียมสูงที่สุด ปรากฏว่า ถ่านแกลบและไม้มีโปแตสเซียมแค่ 1%, กะลาปาล์มมี 15%, ถ่านเปลือกกล้วยดิบมี 20%, เปลือกทุเรียนมีมากที่สุดถึง 30%
เพื่อปรับสภาพดินให้มีโครงสร้างเหมือนดินลุ่มน้ำอะเมซอน ปลูกพืชไปแล้วไม่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า จึงต้องเพาะเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัส ที่ได้จากการนำสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 จำนวน 1 ซอง โปรตีนเกษตรบดละเอียด 1 กก. น้ำ 10 ลิตร นำทั้งหมดผสมให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ 2 วัน จากนั้นนำมาผสมกับถ่านเปลือกทุเรียนบดละเอียด 40 กก. แล้วนำมาผสมคลุกเคล้าเข้ากับถ่านเปลือกทุเรียน
เมื่อนำมาทดลองปลูกมะเขือเทศ, คะน้า, ผักสลัด, ข้าวโพด ในเนื้อที่ 1 ไร่ แบบเปรียบเทียบแปลงที่ 1 โรยเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 ร่วมกับปุ๋ยคอก 50 กก. ในขณะที่แปลงที่ 2 ใส่แต่เพียงปุ๋ยคอก 50 กก. แต่ไม่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียน ดร.สุวรรณี พบว่า แปลงที่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 พืชทั้ง 4 ชนิด มีลำต้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเร็วเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่า 5-7 วัน นอกจากจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาได้แล้ว ยังช่วยลดปริมาณเปลือกทุเรียน ขณะเหลือใช้ทางการเกษตรได้อีกด้วย.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thairath.co.th
คาร์บอนหรือถ่าน นอกจากจะเป็นเชื้อเพลิง ยังมีคุณสมบัติดูดซับกลิ่น ช่วยเก็บกักธาตุอาหารส่งต่อให้พืชนำไปใช้ สร้างราก ลำต้น ดูดซับอาหาร เมื่อลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง จะต้านทานโรคต่างๆได้ดี ให้ผลผลิตไว เกษตรกรไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย หายามารักษาโรค
จากข้อมูลดังกล่าว ดร.สุวรรณี แทนธานี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงทำการวิจัยคิดหาวิธีเพิ่มคาร์บอนให้กับดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน, เปลือกกล้วยดิบ, แกลบ, ไม้, กะลาปาล์ม มาทดลองเผาให้กลายเป็นถ่านสีดำหรือคาร์บอน แล้วบดให้ละเอียด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า วัสดุประเภทไหนมีธาตุอาหารโปแตสเซียมสูงที่สุด ปรากฏว่า ถ่านแกลบและไม้มีโปแตสเซียมแค่ 1%, กะลาปาล์มมี 15%, ถ่านเปลือกกล้วยดิบมี 20%, เปลือกทุเรียนมีมากที่สุดถึง 30%
เพื่อปรับสภาพดินให้มีโครงสร้างเหมือนดินลุ่มน้ำอะเมซอน ปลูกพืชไปแล้วไม่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า จึงต้องเพาะเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัส ที่ได้จากการนำสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 จำนวน 1 ซอง โปรตีนเกษตรบดละเอียด 1 กก. น้ำ 10 ลิตร นำทั้งหมดผสมให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ 2 วัน จากนั้นนำมาผสมกับถ่านเปลือกทุเรียนบดละเอียด 40 กก. แล้วนำมาผสมคลุกเคล้าเข้ากับถ่านเปลือกทุเรียน
เมื่อนำมาทดลองปลูกมะเขือเทศ, คะน้า, ผักสลัด, ข้าวโพด ในเนื้อที่ 1 ไร่ แบบเปรียบเทียบแปลงที่ 1 โรยเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 ร่วมกับปุ๋ยคอก 50 กก. ในขณะที่แปลงที่ 2 ใส่แต่เพียงปุ๋ยคอก 50 กก. แต่ไม่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียน ดร.สุวรรณี พบว่า แปลงที่ใส่ถ่านเปลือกทุเรียนผสมหัวเชื้อสารเร่ง พด.3 พืชทั้ง 4 ชนิด มีลำต้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเร็วเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่า 5-7 วัน นอกจากจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาได้แล้ว ยังช่วยลดปริมาณเปลือกทุเรียน ขณะเหลือใช้ทางการเกษตรได้อีกด้วย.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thairath.co.th