ใครเสียภาษีต้องรู้ ! 18 ช่องทางขอ “ลดหย่อนภาษี”…ทำแล้วได้เงินคืนเป็นกอบเป็นกำ
อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปีแล้ว และเทศกาลเสียภาษีประจำปี 2560 ก็จะเข้ามาใกล้เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกท่านเข้าทุกทีๆ ทำให้หลายๆคนต่างพากันหาช่องทาง “การลดหย่อน” กันจ้าละหวั่น
แต่ที่คุณกำลังมีอยู่ในมือนั้นครอบคลุมทั้งหมดแล้วหรือยัง วันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลหรือช่องทางการลดหย่อนภาษี 18 อย่าง มาให้ทุกท่านได้รีบศึกษากันก่อนที่จะยื่นเสียภาษีในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2560 นี้ จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว สำหรับผู้ที่เงินได้แบบแสดงรายการ จำนวน 30,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส สำหรับสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้เพิ่งแต่งงานไม่ครบปีก็สามารถลดหย่อนได้เช่นกัน จำนวน 30,000 บาท
3. บุตร หากมีบุตรไม่เกิน 3 คน สามารถลดหย่อนได้ถึง 15,000 บาท ยิ่งถ้าลูกของคุณเรียนอยู่ในเมืองไทยจะสามารถลดเพิ่มได้อีก 2,000 บาท
4. อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา สำหรับคนที่ดูแลพ่อแม่ ซึ่งพ่อหรือแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถใช้ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
5. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา เช่นเดียวกับข้อ 5 พ่อหรือแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท และจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท
6. อุปการะเลี้ยงดูบุคคลทุพพลภาพหรือคนพิการ โดยบุคคลเหล่านี้ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
7. ประกันชีวิต นอกจากจะคุ้มครองชีวิตแล้วช่วงนี้ยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทด้วย
8. LTF สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุด 500,000 บาท
9. RMF เช่นเดียวกับ LTF โดยสามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุด 500,000 บาท
10. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากกองทุนนี้จะทำให้คุณมีเงินเก็บแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก 15% ของค่าจ้าง หรือไม่เกิน 500,000 บาท
11. เบี้ยประกันบำนาญที่ถูกหักภาษี สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
12. กองทุนบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
13. ค่าประกันสังคม เงินที่คุณโดนหักไปเป็นประจำทุกๆเดือนไม่ได้หายไปอย่างสูญเปล่า เพราะสามารถนำยอดประกันสังคมทั้งหมดมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
14. ค่าท่องเที่ยว รวมทั้งค่าใช้จ่ายจากการเข้าพักโรงแรมหรือซื้อทัวร์ในประเทศไทยภายในวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559 ที่ออกในรูปใบกำกับภาษีที่อยู่ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด
15. ช้อปช่วยชาติ อยากซื้ออะไรให้ไปซื้อเลยช่วงสิ้นปีนี้ เพราะคุณสามารถนำใบกำกับภาษีที่มีวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท มาลดหย่อนภาษีได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เรือ
16. ดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับกู้ยืมเงินมาซื้อหรือเช่าอาคารที่อยู่อาศัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
17. เงินที่ใช้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ไหนๆก็เสียเงินก้อนกับทรัพย์สินก้อนโตไปแล้ว นอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สิน
18. เงินบริจาค ไม่ว่าคุณจะบริจาคเงินให้กับองค์กรใดๆสามารถนำใบอนุโมทนาบัตรมาใช้เป็นส่วนลดภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาของทางราชการ องค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือ ที่ผ่านการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว
จะเห็นได้ว่ามีช่องทางมากมายที่จะช่วยให้คุณได้เงินคืนมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ เพียงแต่ว่าคุณจะต้องเก็บหลักฐานทุกอย่างให้ดี เพราะเมื่อถึงเวลายื่นภาษี สรรพากรอาจจะสุ่มชื่อคุณเพื่อขอดูกหลักฐานการลดหย่อนภาษีทั้งหมดได้
ซึ่งหากคุณยื่นหลักฐานปลอมหรือสร้างหลักฐานปลอมขึ้นมา ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ และต้องมากลับมาชดใช้ในสิ่งที่ได้ไม่คุ้มเสียอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กรมสรรพากร และ thaijobsgov
อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปีแล้ว และเทศกาลเสียภาษีประจำปี 2560 ก็จะเข้ามาใกล้เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกท่านเข้าทุกทีๆ ทำให้หลายๆคนต่างพากันหาช่องทาง “การลดหย่อน” กันจ้าละหวั่น
แต่ที่คุณกำลังมีอยู่ในมือนั้นครอบคลุมทั้งหมดแล้วหรือยัง วันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลหรือช่องทางการลดหย่อนภาษี 18 อย่าง มาให้ทุกท่านได้รีบศึกษากันก่อนที่จะยื่นเสียภาษีในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2560 นี้ จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว สำหรับผู้ที่เงินได้แบบแสดงรายการ จำนวน 30,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส สำหรับสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้เพิ่งแต่งงานไม่ครบปีก็สามารถลดหย่อนได้เช่นกัน จำนวน 30,000 บาท
3. บุตร หากมีบุตรไม่เกิน 3 คน สามารถลดหย่อนได้ถึง 15,000 บาท ยิ่งถ้าลูกของคุณเรียนอยู่ในเมืองไทยจะสามารถลดเพิ่มได้อีก 2,000 บาท
4. อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา สำหรับคนที่ดูแลพ่อแม่ ซึ่งพ่อหรือแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถใช้ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
5. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา เช่นเดียวกับข้อ 5 พ่อหรือแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท และจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท
6. อุปการะเลี้ยงดูบุคคลทุพพลภาพหรือคนพิการ โดยบุคคลเหล่านี้ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
7. ประกันชีวิต นอกจากจะคุ้มครองชีวิตแล้วช่วงนี้ยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทด้วย
8. LTF สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุด 500,000 บาท
9. RMF เช่นเดียวกับ LTF โดยสามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุด 500,000 บาท
10. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากกองทุนนี้จะทำให้คุณมีเงินเก็บแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก 15% ของค่าจ้าง หรือไม่เกิน 500,000 บาท
11. เบี้ยประกันบำนาญที่ถูกหักภาษี สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
12. กองทุนบำเหน็ดบำนาญข้าราชการ สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
13. ค่าประกันสังคม เงินที่คุณโดนหักไปเป็นประจำทุกๆเดือนไม่ได้หายไปอย่างสูญเปล่า เพราะสามารถนำยอดประกันสังคมทั้งหมดมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
14. ค่าท่องเที่ยว รวมทั้งค่าใช้จ่ายจากการเข้าพักโรงแรมหรือซื้อทัวร์ในประเทศไทยภายในวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559 ที่ออกในรูปใบกำกับภาษีที่อยู่ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด
15. ช้อปช่วยชาติ อยากซื้ออะไรให้ไปซื้อเลยช่วงสิ้นปีนี้ เพราะคุณสามารถนำใบกำกับภาษีที่มีวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท มาลดหย่อนภาษีได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เรือ
16. ดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับกู้ยืมเงินมาซื้อหรือเช่าอาคารที่อยู่อาศัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
17. เงินที่ใช้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดิน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ไหนๆก็เสียเงินก้อนกับทรัพย์สินก้อนโตไปแล้ว นอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สิน
18. เงินบริจาค ไม่ว่าคุณจะบริจาคเงินให้กับองค์กรใดๆสามารถนำใบอนุโมทนาบัตรมาใช้เป็นส่วนลดภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาของทางราชการ องค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือ ที่ผ่านการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว
จะเห็นได้ว่ามีช่องทางมากมายที่จะช่วยให้คุณได้เงินคืนมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ เพียงแต่ว่าคุณจะต้องเก็บหลักฐานทุกอย่างให้ดี เพราะเมื่อถึงเวลายื่นภาษี สรรพากรอาจจะสุ่มชื่อคุณเพื่อขอดูกหลักฐานการลดหย่อนภาษีทั้งหมดได้
ซึ่งหากคุณยื่นหลักฐานปลอมหรือสร้างหลักฐานปลอมขึ้นมา ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ และต้องมากลับมาชดใช้ในสิ่งที่ได้ไม่คุ้มเสียอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กรมสรรพากร และ thaijobsgov