ตำกุ้งสด-กุ้งแช่น้ำปลา อันตรายที่มาพร้อมกับความแซ่บ ไม่ควรกินบ่อย



  เมนูอาหารประจำร้านร้านอาหารก็คงหนีไม่พ้น ตำกุ้งสดและกุ้งแช่น้ำปลา แต่ละเมนูก็ชวนให้น้ำลายสออยู่ไม่ใช่น้อย ด้วยรสชาติน้ำยำที่เผ็ดเปรี้ยวอมหวานถูกใจลิ้นคนไทย แต่ถึงแม้ว่าจะอร่อยแค่ไหนหากเรารับประทานไม่เลือกหรือมากจนเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 

      กุ้งดิบที่อยู่ในอาหารเมนูต่างๆนั้น มีความสุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งเนื่องจากจะท้องร่วงแล้ว ในกุ้งสดๆ ยังมีการเชื้อก่อโรคอย่างเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัสซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล และตามตะกอนโคลนตมในทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง 

      แบคทีเรียที่เรียกว่าวิบริโอ แบ่งแยกเป็น 12 สายพันธุ์ที่เรารู้กันว่าเป็นสาเหตุของการป่วยในมนุษย์ จากการศึกษาในตัวอย่างกุ้งดิบ 299 ตัวอย่าง พบว่า 55% มีแบคทีเรียวิบริโอที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคกระเพาะ อหิวาตกโรค และการติดเชื้อ นอกจากนี้จากการศึกษาในฟาร์มเลี้ยงกุ้งพบว่า วิบริโอส่วนใหญ่ทนต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ 

นอกจากอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงแล้วอาหารทะเลสดยังเป็นบ่อเกิดของโรคพยาธิใบไม้ในปอดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุ้งน้ำจืดซึ่งถ้าหากรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ โดยจะมีอาการเริ่มจากไอเล็กน้อยแล้วเพิ่มมากขึ้น เสมหะสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียว ในที่สุดมีเลือดปนมากับเสมหะ โดยมากมักจะไอตอนเช้า หรือหลังทำงานหนักๆ ผู้ป่วยอาจจะเจ็บหน้าอก อาการคล้ายวัณโรคแต่ไม่มีไข้ สุขภาพไม่เสื่อมโทรม เสมหะผู้ป่วยบางครั้งอาจจะก้อนเล็กสีเหลือง

      อาหารดิบๆ นั้นไม่ได้ผ่านความร้อนซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เราจึงไม่ควรกินอาหารดิบบ่อยๆ และต้องเพิ่มความใส่ใจและเลือกกินให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทำได้ดังนี้ 

1. หากซื้อวัตถุดิบมาทำเอง ให้เลือกซื้อจากแหล่งวัตถุดิบที่ไว้ใจและต้องเป็นเกรดสำหรับกินดิบโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลาที่ต้องเป็น sashimi grade

      2. เลือกกินสดทะเลที่ผ่านการแช่แข็งในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -35 องศาอย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือแช่ในอุณหภูมิที่ -20 องศา นาน 7 วัน 

3. สินค้าที่วางจำหน่ายควรเก็บรักษาในอุณหภูมิแช่เย็นตลอดอายุการจำหน่าย เพื่อควบคุมการเพิ่มปริมาณของเชื้อแบคทีเรีย ฉะนั้นจึงไม่ควรซื้ออาหารดิบที่วางโชว์บนแผงในตลาดเพราะมีความเสี่ยงมากกว่า

      4. ควรสอบถามแหล่งที่มาของวัตถุดิบ หากเป็นปลาดิบที่แล่แล้ว ควรบรรจุในภาชนะที่ปิดเรียบร้อย เช่น ถาดที่มีแผ่นฟิล์มพลาสติกหุ้มมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่างๆ

      5. ผู้ประกอบอาหารและผู้แล่ปลาต้องล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร และถ้ามีบาดแผลที่มือให้ปิดพลาสเตอร์และใส่ถุงมือขณะประกอบอาหาร เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ สู่อาหาร

      6. กินปลาและอาหารทะเลให้หลากหลายประเภท และแหล่งที่มาเพื่อป้องกันการตกค้างของสารปนเปื้อนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com