การบริจาคโลหิตถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะช่วยให้ผู้บริจาคได้รู้จักการเสียสละ และเกิดจิตกุศลที่คิดจะช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น
ซึ่งบ่อยครั้งเราจะได้ยินข่าวว่า
สภากาชาดไทยออกมาประกาศวอนให้ประชาชนมาร่วมบริจาคโลหิต
เนื่องจากขาดแคลนเลือดจำนวนมาก
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มีการเดินทางก็ยิ่งต้องสำรองเลือดไว้จำนวนมาก
เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะมีจิตกุศลคิดจะไปบริจาคโลหิต แต่ก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถบริจาคโลหิตได้หรือไม่ แล้วก่อนจะไปควรจะเตรียมตัวอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้างในการบริจาคเลือด กระปุกดอทคอม รวบรวมข้อมูลจากสภากาชาดไทยมาบอกแล้วค่ะ เพื่อที่การบริจาคโลหิตของคุณจะได้เกิดประโยชน์มากที่สุดทั้งต่อตัวผู้ให้และผู้รับ
ใครสามารถบริจาคโลหิตได้บ้าง
1. ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ (ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบาย หรือกำลังรับประทานยาใด ๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
เตรียมตัวอย่างไรดี ก่อนไปบริจาคเลือด
1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใด ๆ
3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
4. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง
6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
7. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
สิ่งที่ควรทราบ ขณะบริจาคโลหิต
- เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี
- ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะไม่มีผื่นคันหรือรอยเขียวช้ำ
- ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
- ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
- ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
- ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
- หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูง จนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
ขั้นตอนการบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทย
ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่า เรามีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ ดังนั้น อย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่จะตอบคำถาม
ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต ที่ชั้น 2
ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว
หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว ควรดูแลร่างกายอย่างไร
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ
- งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนัก ๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
- ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
บริจาคโลหิตได้ที่ไหน
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร. 0-2256-4300, 0-2263-9600-99 ต่อ 1101 หรือเว็บไซต์ สภากาชาดไทย
- หน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตตามพื้นที่ต่าง ๆ ตรวจสอบได้ที่ปฏิทินเวลารับบริจาคโลหิต สภากาชาดไทย
- สาขาบริการโลหิต โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะมีจิตกุศลคิดจะไปบริจาคโลหิต แต่ก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถบริจาคโลหิตได้หรือไม่ แล้วก่อนจะไปควรจะเตรียมตัวอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้างในการบริจาคเลือด กระปุกดอทคอม รวบรวมข้อมูลจากสภากาชาดไทยมาบอกแล้วค่ะ เพื่อที่การบริจาคโลหิตของคุณจะได้เกิดประโยชน์มากที่สุดทั้งต่อตัวผู้ให้และผู้รับ
1. ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ (ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบาย หรือกำลังรับประทานยาใด ๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
เตรียมตัวอย่างไรดี ก่อนไปบริจาคเลือด
1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใด ๆ
3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
4. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง
6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
7. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
สิ่งที่ควรทราบ ขณะบริจาคโลหิต
- เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี
- ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะไม่มีผื่นคันหรือรอยเขียวช้ำ
- ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
- ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
- ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
- ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
- หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูง จนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
ขั้นตอนการบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทย
ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่า เรามีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ ดังนั้น อย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่จะตอบคำถาม
ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต ที่ชั้น 2
ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว
หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว ควรดูแลร่างกายอย่างไร
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ
- งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนัก ๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
- ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
บริจาคโลหิตได้ที่ไหน
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร. 0-2256-4300, 0-2263-9600-99 ต่อ 1101 หรือเว็บไซต์ สภากาชาดไทย
- หน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตตามพื้นที่ต่าง ๆ ตรวจสอบได้ที่ปฏิทินเวลารับบริจาคโลหิต สภากาชาดไทย
- สาขาบริการโลหิต โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก