"ไมยราบ" ที่ทุกคนคิดว่าเป็นแค่ "วัชพืช" ไม่มีค่า! แต่มันกลับมีคุณค่าทางยาสูงกว่าที่คุณคิด
อยู่ใกล้ตัวแท้ ๆ แต่ไม่เคยรู้เลย! ปกติแอดเห็นมันก็จะไปแหย่เล่นอย่างเดียวเลยค่ะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามันจะมีประโยชน์มากขนาดนี้!
"ไมยราบ" ใคร ๆ ก็รู้จักเพราะพ้องกับชื่อยักษ์หลานทศกัณฐ์ ที่อาสาสะกดทัพวานรแล้วจับตัวพระรามหมายจะเอาไป "ต้มกินต่างสุกรแกล้มสุรา" ในเมืองบาดาล ยักษ์ไมยราพมีฤทธิ์ต่างจากยักษ์ตนอื่นคือเป็นหมอยาสมุนไพรวิเศษ สามารถปรุงยานอนหลับแล้วใช้เป่าสะกดลิงให้หลับได้ทั้งกองทัพ ขนาดพญาวานรอย่างสุครีพ หนุมานก็ยังหลับไม่เป็นท่าเพราะฤทธิ์ยาสมุนไพรของไมยราพ อันที่จริงต้นไมยราบเองก็มีสรรพคุณช่วยระงับประสาท และแก้โรคนอนไม่หลับได้ด้วย
"ต้นไมยราบ" ในที่นี้หมายถึงวัชพืชไม้เลื้อยแผ่ไปบนพื้นดินลำต้นมีหนามแหลมเล็ก ๆ พบเห็นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้างทั่วไป เอกลักษณ์ของไมยราบคือใบของมันจะหุบลงได้เมื่อถูกกระทบกระเทือน จึงมีชื่อในภาษาฝรั่งว่า Sensitive Plant (พืชอ่อนไหว) ไมยราบชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. มีช่อฝักเล็กๆ เหมือนพืชตระกูลถั่วทั่วไป เป็นคนละพันธุ์กับ "ต้นหัวใจไมยราบ" หรือกระทืบยอบ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Biophytum sensitive DC. ซึ่งสรรพคุณคล้ายกันและเป็นพืชอ่อนไหวเหมือนกัน
หมอแผนโบราณและหมอพื้นบ้านรู้จักเอาไมยราบทั้งต้นมาล้างสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากให้แห้งสนิทแล้วนำมาต้มกินต่างน้ำ เพื่อแก้โรคกษัยไตพิการ ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในสังคมเกษตร
คำว่าโรคกษัย หมายถึงโรคสังขารเสื่อม ผอมแห้งแรงน้อย ซูบซีด เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย เจ็บตามเนื้อตัว โลหิตจาง ส่วนโรคไตพิการ หมายถึง โรคระบบการทำงานของไตไม่ปกติ ทำให้มีอาการไตอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะขุ่นข้น ปวดเอว ปวดท้องแดกขึ้นแดกลง บวมตามเนื้อตามตัว ยิ่งกว่านั้น ยาต้มไมยราบทั้งต้นยังช่วยถอนพิษไข้ (ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหญ้าระงับพิษ) แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้หัด แก้ซางตานในเด็กเล็ก แก้ผื่นคันตามตัว แก้แผลฝี แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ขับน้ำนม บำรุงร่างกาย แก้ปวดข้อ แก้ตาบวม แก้บวมตามเนื้อตามตัว แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แก้บิด ท้องร่วง และยังนิยมนำใบไมยราบมาตำพอกแก้ปวดบวม รักษาแผลฝีหนอง แผลเรื้อรังต่าง ๆ
ที่นำเรื่องไมยราบมาบอกกล่าว ก็เพราะหญ้าวัชพืชข้างถนนตัวนี้กำลังถูกนำไปวิจัยพัฒนาต่อยอดเป็นยารักษาเบาหวาน ประโยชน์จากงานวิจัยก็คือ ช่วยตอกย้ำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในสรรพคุณของไมยราบและยืนยันว่า แม้ดื่มชาสมุนไพรตัวนี้ต่างน้ำทุกวันก็ไม่มีพิษข้างเคียงใด ๆ เลย แม้หมอโบราณจะมิได้บอกสรรพคุณรักษาเบาหวานของไมยราบไว้
แต่การที่สมุนไพรตัวนี้ช่วยแก้กษัยย่อมสัมพันธ์กับการแก้เบาหวานด้วย จากผลการวิจัยพบว่า สารสกัดน้ำ (ธรรมดา) จากต้นและรากของไมยราบขนาด 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมออกฤทธิ์ลดน้ำตาล ได้เทียบเท่ากับการใช้ยามาตรฐาน โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ขนาด 100 ม.ก./ก.ก. น้ำหนักตัว
โดยออกฤทธิ์ได้ต่อเนื่องถึง 5 ชั่วโมง นี่เป็นการทดลองในกระต่ายซึ่งใกล้เคียงกับคนมากกว่าหนูเสียอีก ที่น่าสนใจคือ ฤทธิ์ลดน้ำตาลของน้ำต้มไมยราบนั้น มีผลต่อคนหรือสัตว์ที่เป็นเบาหวานเท่านั้น เพราะสารสำคัญของไมยราบจะไปช่วยยับยั้งเอ็นไซม์ที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลในร่างกายให้ลดน้อยลง และมีผลให้ระดับปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดเป็นปกติด้วย ที่สำคัญยังมีการทดลองป้อนน้ำต้มไมยราบแห้งในปริมาณสูงขนาด 20, 40 และ 80 ม.ก./ก.ก. น้ำหนักตัว แก่หนูทดลองทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 6 เดือน ไม่พบความเป็นพิษหรืออาการผิดปกติใด ๆ ในสัตว์ทดลองเลย
อากาศร้อนระอุแบบนี้ หากใครพบเห็นวัชพืชไมยราบข้างถนนก็ให้เก็บเอามาทำยาชงดื่มต่างน้ำได้เลยใช้ขนาดแค่ 1 - 2 กรัมแห้งต่อน้ำ 1 ลิตร ก็จะช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ผดผื่นคันยิบๆ ในยามร้อน ช่วยบำรุงร่างกายยามแห้งโหยและช่วยแก้ท้องเสียจากอาหารบูดเน่า
ข้อมูลและภาพจาก matichonweekly
อยู่ใกล้ตัวแท้ ๆ แต่ไม่เคยรู้เลย! ปกติแอดเห็นมันก็จะไปแหย่เล่นอย่างเดียวเลยค่ะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามันจะมีประโยชน์มากขนาดนี้!
"ไมยราบ" ใคร ๆ ก็รู้จักเพราะพ้องกับชื่อยักษ์หลานทศกัณฐ์ ที่อาสาสะกดทัพวานรแล้วจับตัวพระรามหมายจะเอาไป "ต้มกินต่างสุกรแกล้มสุรา" ในเมืองบาดาล ยักษ์ไมยราพมีฤทธิ์ต่างจากยักษ์ตนอื่นคือเป็นหมอยาสมุนไพรวิเศษ สามารถปรุงยานอนหลับแล้วใช้เป่าสะกดลิงให้หลับได้ทั้งกองทัพ ขนาดพญาวานรอย่างสุครีพ หนุมานก็ยังหลับไม่เป็นท่าเพราะฤทธิ์ยาสมุนไพรของไมยราพ อันที่จริงต้นไมยราบเองก็มีสรรพคุณช่วยระงับประสาท และแก้โรคนอนไม่หลับได้ด้วย
"ต้นไมยราบ" ในที่นี้หมายถึงวัชพืชไม้เลื้อยแผ่ไปบนพื้นดินลำต้นมีหนามแหลมเล็ก ๆ พบเห็นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้างทั่วไป เอกลักษณ์ของไมยราบคือใบของมันจะหุบลงได้เมื่อถูกกระทบกระเทือน จึงมีชื่อในภาษาฝรั่งว่า Sensitive Plant (พืชอ่อนไหว) ไมยราบชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. มีช่อฝักเล็กๆ เหมือนพืชตระกูลถั่วทั่วไป เป็นคนละพันธุ์กับ "ต้นหัวใจไมยราบ" หรือกระทืบยอบ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Biophytum sensitive DC. ซึ่งสรรพคุณคล้ายกันและเป็นพืชอ่อนไหวเหมือนกัน
หมอแผนโบราณและหมอพื้นบ้านรู้จักเอาไมยราบทั้งต้นมาล้างสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากให้แห้งสนิทแล้วนำมาต้มกินต่างน้ำ เพื่อแก้โรคกษัยไตพิการ ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในสังคมเกษตร
คำว่าโรคกษัย หมายถึงโรคสังขารเสื่อม ผอมแห้งแรงน้อย ซูบซีด เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย เจ็บตามเนื้อตัว โลหิตจาง ส่วนโรคไตพิการ หมายถึง โรคระบบการทำงานของไตไม่ปกติ ทำให้มีอาการไตอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะขุ่นข้น ปวดเอว ปวดท้องแดกขึ้นแดกลง บวมตามเนื้อตามตัว ยิ่งกว่านั้น ยาต้มไมยราบทั้งต้นยังช่วยถอนพิษไข้ (ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหญ้าระงับพิษ) แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้หัด แก้ซางตานในเด็กเล็ก แก้ผื่นคันตามตัว แก้แผลฝี แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ขับน้ำนม บำรุงร่างกาย แก้ปวดข้อ แก้ตาบวม แก้บวมตามเนื้อตามตัว แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แก้บิด ท้องร่วง และยังนิยมนำใบไมยราบมาตำพอกแก้ปวดบวม รักษาแผลฝีหนอง แผลเรื้อรังต่าง ๆ
ที่นำเรื่องไมยราบมาบอกกล่าว ก็เพราะหญ้าวัชพืชข้างถนนตัวนี้กำลังถูกนำไปวิจัยพัฒนาต่อยอดเป็นยารักษาเบาหวาน ประโยชน์จากงานวิจัยก็คือ ช่วยตอกย้ำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในสรรพคุณของไมยราบและยืนยันว่า แม้ดื่มชาสมุนไพรตัวนี้ต่างน้ำทุกวันก็ไม่มีพิษข้างเคียงใด ๆ เลย แม้หมอโบราณจะมิได้บอกสรรพคุณรักษาเบาหวานของไมยราบไว้
แต่การที่สมุนไพรตัวนี้ช่วยแก้กษัยย่อมสัมพันธ์กับการแก้เบาหวานด้วย จากผลการวิจัยพบว่า สารสกัดน้ำ (ธรรมดา) จากต้นและรากของไมยราบขนาด 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมออกฤทธิ์ลดน้ำตาล ได้เทียบเท่ากับการใช้ยามาตรฐาน โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ขนาด 100 ม.ก./ก.ก. น้ำหนักตัว
โดยออกฤทธิ์ได้ต่อเนื่องถึง 5 ชั่วโมง นี่เป็นการทดลองในกระต่ายซึ่งใกล้เคียงกับคนมากกว่าหนูเสียอีก ที่น่าสนใจคือ ฤทธิ์ลดน้ำตาลของน้ำต้มไมยราบนั้น มีผลต่อคนหรือสัตว์ที่เป็นเบาหวานเท่านั้น เพราะสารสำคัญของไมยราบจะไปช่วยยับยั้งเอ็นไซม์ที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลในร่างกายให้ลดน้อยลง และมีผลให้ระดับปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดเป็นปกติด้วย ที่สำคัญยังมีการทดลองป้อนน้ำต้มไมยราบแห้งในปริมาณสูงขนาด 20, 40 และ 80 ม.ก./ก.ก. น้ำหนักตัว แก่หนูทดลองทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 6 เดือน ไม่พบความเป็นพิษหรืออาการผิดปกติใด ๆ ในสัตว์ทดลองเลย
อากาศร้อนระอุแบบนี้ หากใครพบเห็นวัชพืชไมยราบข้างถนนก็ให้เก็บเอามาทำยาชงดื่มต่างน้ำได้เลยใช้ขนาดแค่ 1 - 2 กรัมแห้งต่อน้ำ 1 ลิตร ก็จะช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ผดผื่นคันยิบๆ ในยามร้อน ช่วยบำรุงร่างกายยามแห้งโหยและช่วยแก้ท้องเสียจากอาหารบูดเน่า
ข้อมูลและภาพจาก matichonweekly