เคยได้ยินมาว่า สมุนไพรไทยอย่าง "ฟ้าทะลายโจร" นั้นมีสรรพคุณดีเยี่ยมในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ จะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ มารู้จักฟ้าทะลายโจรกันให้มากขึ้นค่ะ
"ฟ้าทะลายโจร" เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees" และชื่อสามัญว่า "Kariyat" หรือ "The Creat" นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องที่ ได้แก่ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบเลี้ยงเดี่ยวสีเขียวเข้มเป็นมัน มีดอกออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ลักษณะของผล จะเป็นฝัก เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น
สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร
ทุกส่วนของฟ้าทะลายโจรมีรสขม จึงมีคุณสมบัติเป็นยาได้ดี โดยสรรพคุณหลัก ๆ ของฟ้าทะลายโจร มี 4 ประการคือ
1. แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่า ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัด หรือร้อนในบ่อย ๆ หากรับประทานฟ้าทะลายโจร จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น จึงไม่เป็นหวัดง่าย อาการร้อนในจะหายไป
2. ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี ฯลฯ
3. แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ
4. เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร
ทั้งนี้ ฟ้าทะลายโจรนี้สามารถเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ อีกทั้งไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือดื้อยา เหมือนยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจร ยังช่วยป้องกันตับ จากสารพิษหลาย ๆ ชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ตามอาการต่าง ๆ
แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ
ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ หรือหากเป็นฟ้าทะลายโจรผง ให้นำไปผสมน้ำผึ้งใช้กวาดคอ หรือหากเป็นยาเม็ด 250 มิลลิกรัม ให้รับประทาน 3 เวลาก่อนอาหาร และก่อนนอน 3-5 วัน เมื่ออาการหาย ก็หยุดยา
กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา
แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้ อาหารเป็นพิษ
ใช้ทั้งต้น หรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน หรือให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา ฟ้าทะลายโจรจะเข้าไปขับเอาสารพิษในลำไส้ออก และช่วยลดการระคายเคืองต่อผนังลำไส้ ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ลง ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากฟ้าทะลายโจร ไม่ใช่ยาหยุดอาการท้องเสียโดยตรง ดังนั้นผู้ป่วยจะยังคงถ่ายเหลวต่อไป หลังจากใช้ยา หากต้องการให้หยุดถ่าย ควรให้สารที่มีรสฝาดร่วมด้วย เช่นใบฝรั่ง น้ำชา หรือแป้งกล้วย
รักษาไข้ไทฟอยด์
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็น เวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรกินยาบำรุงฟื้นกำลังผู้ป่วย ฟ้าทะลายโจร จะทำลายเชื้อไทฟอยด์ที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ในผนังลำไส้เล็ก ลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยู่เดิม ก็จะเริ่มทำงาน นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจรยังช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารอีกด้วย
รักษาโรคตับ
รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และควร ให้ยาบำรุงร่วมด้วย หลังจากฟื้นไข้แล้ว
โรคงูสวัด
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ดก่อนอาหาร 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าให้ฟ้าทะลายโจรครบตามเวลา งูสวัดจะไม่กลับมาเป็นอีก ส่วนตุ่ม แผลพุพอง ใช้ยาเสลดพังพอนทา หรือใช้ว่านนาคราช หรือใบจักรนารายณ์ ตำใส่สุรา ใช้ทาหรือพอกก็ได้
แผลจากโรคเบาหวาน
สามารถใช้ฟ้าทะลายโจร รักษาแผลอักเสบเนื่องจากเบาหวานได้ เพราะฟ้าทะลายโจร ทำไห้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ใช้ได้ทั้งกิน ทั้งทา
โรคเบาหวาน
ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร และว่านเอ็นเหลือง กระชาย ทำเป็นยาเม็ดกิน
ริดสีดวงทวาร
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน อาการเลือดออก หรือปวดถ่วงจะหายไป และถ่ายได้สะดวกเป็นปกติ
รูปแบบการนำไปใช้
1. ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง แก้เจ็บคอได้ หากจะใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ให้ใช้ 2-3 กำมือ
2. ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทาน ครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
3. ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เพื่อให้สะดวกในการรับประทาน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล
4. ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
5. ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วรินเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้
บุคคลที่ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
1. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
2. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
3. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
4. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
5. ผู้ที่เป็นความดันต่ำ เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดความดันเลือดได้
6. สตรีมีครรภ์
ข้อควรระวัง
1. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
2. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์
3. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- กระทรวงสาธารณสุข
- rspq.or.th
"ฟ้าทะลายโจร" เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees" และชื่อสามัญว่า "Kariyat" หรือ "The Creat" นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องที่ ได้แก่ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบเลี้ยงเดี่ยวสีเขียวเข้มเป็นมัน มีดอกออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ลักษณะของผล จะเป็นฝัก เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น
ทุกส่วนของฟ้าทะลายโจรมีรสขม จึงมีคุณสมบัติเป็นยาได้ดี โดยสรรพคุณหลัก ๆ ของฟ้าทะลายโจร มี 4 ประการคือ
1. แก้ไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่า ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัด หรือร้อนในบ่อย ๆ หากรับประทานฟ้าทะลายโจร จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น จึงไม่เป็นหวัดง่าย อาการร้อนในจะหายไป
2. ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี ฯลฯ
3. แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ
4. เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร
ทั้งนี้ ฟ้าทะลายโจรนี้สามารถเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ อีกทั้งไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือดื้อยา เหมือนยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจร ยังช่วยป้องกันตับ จากสารพิษหลาย ๆ ชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ตามอาการต่าง ๆ
แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ
ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ หรือหากเป็นฟ้าทะลายโจรผง ให้นำไปผสมน้ำผึ้งใช้กวาดคอ หรือหากเป็นยาเม็ด 250 มิลลิกรัม ให้รับประทาน 3 เวลาก่อนอาหาร และก่อนนอน 3-5 วัน เมื่ออาการหาย ก็หยุดยา
กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา
แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้ อาหารเป็นพิษ
ใช้ทั้งต้น หรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน หรือให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา ฟ้าทะลายโจรจะเข้าไปขับเอาสารพิษในลำไส้ออก และช่วยลดการระคายเคืองต่อผนังลำไส้ ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ลง ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากฟ้าทะลายโจร ไม่ใช่ยาหยุดอาการท้องเสียโดยตรง ดังนั้นผู้ป่วยจะยังคงถ่ายเหลวต่อไป หลังจากใช้ยา หากต้องการให้หยุดถ่าย ควรให้สารที่มีรสฝาดร่วมด้วย เช่นใบฝรั่ง น้ำชา หรือแป้งกล้วย
รักษาไข้ไทฟอยด์
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็น เวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรกินยาบำรุงฟื้นกำลังผู้ป่วย ฟ้าทะลายโจร จะทำลายเชื้อไทฟอยด์ที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ในผนังลำไส้เล็ก ลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยู่เดิม ก็จะเริ่มทำงาน นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจรยังช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารอีกด้วย
รักษาโรคตับ
รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และควร ให้ยาบำรุงร่วมด้วย หลังจากฟื้นไข้แล้ว
โรคงูสวัด
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ดก่อนอาหาร 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าให้ฟ้าทะลายโจรครบตามเวลา งูสวัดจะไม่กลับมาเป็นอีก ส่วนตุ่ม แผลพุพอง ใช้ยาเสลดพังพอนทา หรือใช้ว่านนาคราช หรือใบจักรนารายณ์ ตำใส่สุรา ใช้ทาหรือพอกก็ได้
แผลจากโรคเบาหวาน
สามารถใช้ฟ้าทะลายโจร รักษาแผลอักเสบเนื่องจากเบาหวานได้ เพราะฟ้าทะลายโจร ทำไห้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ใช้ได้ทั้งกิน ทั้งทา
โรคเบาหวาน
ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร และว่านเอ็นเหลือง กระชาย ทำเป็นยาเม็ดกิน
ริดสีดวงทวาร
ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน อาการเลือดออก หรือปวดถ่วงจะหายไป และถ่ายได้สะดวกเป็นปกติ
รูปแบบการนำไปใช้
1. ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง แก้เจ็บคอได้ หากจะใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ให้ใช้ 2-3 กำมือ
2. ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทาน ครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
3. ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เพื่อให้สะดวกในการรับประทาน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล
4. ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
5. ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วรินเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้
บุคคลที่ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
1. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
2. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
3. ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
4. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
5. ผู้ที่เป็นความดันต่ำ เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดความดันเลือดได้
6. สตรีมีครรภ์
ข้อควรระวัง
1. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
2. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์
3. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- กระทรวงสาธารณสุข
- rspq.or.th