ว่านธรณีสาร..ว่านศักดิ์สิทธิ์ เป็นยาดี แก้ไข้ แก้ปวดฟัน ลดอาการบวม
“ว่านธรณีสาร” เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่นๆ ของต้นเกลี้ยง คนไทยเรานิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ตามความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ปลูกไว้กับบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น หากว่านธรณีสารงอกงามดี จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และยังเชื่อว่าว่านธรณีสารคุ้มครองบ้านจากมนต์ดำต่างๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้ ทั้งนี้ว่านธรณีสารยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรดีๆ ที่เราควรได้รู้กันอีกด้วย ไปดูพร้อม Kaijeaw.com กันค่ะ
ว่านธรณีสารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) แงะมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะขามป้อมดิน (เชียงใหม่), เสนียด (กรุงเทพมหานคร), กระทืบยอด (ชุมพร), ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช), ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), คดทราย (สงขลา), รุรี (สตูล), ก้างปลา (นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณทางสมุนไพรของว่านธรณีสาร
ราก มีรสจืดเย็น
- มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน
- นำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใบ
- ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก เพื่อลดไข้ รักษาอาการตัวร้อน รักษาพิษตานทรางของเด็ก รักษาแผลในปาก และยังเป็นยาขับลมในลำไส้อีกด้วย หรือจะใช้ใบนำมาขยำเอาน้ำใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก
- นำใบมาตำ ใช้พอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน และแก้โรคเหงือก
- แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร
- ช่วยแก้นิ่วในไต
- นำใบมาตำพอกแก้ผื่นคันตามร่างกาย
- ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกฝี ดูดหนองรักษาแผลได้ดี
- ใบใช้ตำพอกแก้อาการบวม แก้ปวดบวม
- ใบใช้ตำผสมกับข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหัก
ต้น
- ใช้ภายนอกเป็นยาล้างตา
- ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง
- นำต้นมาฝนทาท้องเด็ก ช่วยแก้ขัดเขา
- ใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน
- ใช้ฝนทาแก้ฝีอักเสบ พิษฝีอักเสบ
พบในประเทศมาเลเซียมีการใช้ใบเป็นยาแก้แผล แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ แก้บวมคัน
“ว่านธรณีสาร” เป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าคู่ความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยนะคะ นับว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าปลูกแล้วให้คุณกับผู้ปลูก สำหรับใครที่สนใจนำว่านธรณีสารมาปลูกล่ะก็ ว่านชนิดนี้มักขึ้นในที่ร่ม ให้ใช้กระถางใบใหญ่ ส่วนดินที่ใช้ปลูก ให้ใช้ดินร่วน หากใส่ปุ๋ยคอกด้วยก็จะช่วยให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น และเมื่อเอาดินกลบหัวว่านอย่ากดดินให้แน่น และให้รดน้ำพอชุ่มๆ ซึ่งก่อนรดให้สวดด้วยคาถา “นโม พุทธยะ” จำนวน 3 จบก่อนทุกครั้ง เมื่อว่านตั้งตัวได้ควรให้ได้รับแสงแดดรำไร เพื่อหัวว่านจะได้มีขนาดใหญ่ และควรปลูกว่านธรณีสารในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด ตามความเชื่อของคนโบราณค่ะ
“ว่านธรณีสาร” เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่นๆ ของต้นเกลี้ยง คนไทยเรานิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ตามความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ปลูกไว้กับบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น หากว่านธรณีสารงอกงามดี จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และยังเชื่อว่าว่านธรณีสารคุ้มครองบ้านจากมนต์ดำต่างๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้ ทั้งนี้ว่านธรณีสารยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรดีๆ ที่เราควรได้รู้กันอีกด้วย ไปดูพร้อม Kaijeaw.com กันค่ะ
ว่านธรณีสารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) แงะมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะขามป้อมดิน (เชียงใหม่), เสนียด (กรุงเทพมหานคร), กระทืบยอด (ชุมพร), ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช), ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), คดทราย (สงขลา), รุรี (สตูล), ก้างปลา (นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณทางสมุนไพรของว่านธรณีสาร
ราก มีรสจืดเย็น
- มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน
- นำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใบ
- ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก เพื่อลดไข้ รักษาอาการตัวร้อน รักษาพิษตานทรางของเด็ก รักษาแผลในปาก และยังเป็นยาขับลมในลำไส้อีกด้วย หรือจะใช้ใบนำมาขยำเอาน้ำใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก
- นำใบมาตำ ใช้พอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน และแก้โรคเหงือก
- แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร
- ช่วยแก้นิ่วในไต
- นำใบมาตำพอกแก้ผื่นคันตามร่างกาย
- ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกฝี ดูดหนองรักษาแผลได้ดี
- ใบใช้ตำพอกแก้อาการบวม แก้ปวดบวม
- ใบใช้ตำผสมกับข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหัก
ต้น
- ใช้ภายนอกเป็นยาล้างตา
- ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง
- นำต้นมาฝนทาท้องเด็ก ช่วยแก้ขัดเขา
- ใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน
- ใช้ฝนทาแก้ฝีอักเสบ พิษฝีอักเสบ
พบในประเทศมาเลเซียมีการใช้ใบเป็นยาแก้แผล แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ แก้บวมคัน
“ว่านธรณีสาร” เป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าคู่ความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยนะคะ นับว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าปลูกแล้วให้คุณกับผู้ปลูก สำหรับใครที่สนใจนำว่านธรณีสารมาปลูกล่ะก็ ว่านชนิดนี้มักขึ้นในที่ร่ม ให้ใช้กระถางใบใหญ่ ส่วนดินที่ใช้ปลูก ให้ใช้ดินร่วน หากใส่ปุ๋ยคอกด้วยก็จะช่วยให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น และเมื่อเอาดินกลบหัวว่านอย่ากดดินให้แน่น และให้รดน้ำพอชุ่มๆ ซึ่งก่อนรดให้สวดด้วยคาถา “นโม พุทธยะ” จำนวน 3 จบก่อนทุกครั้ง เมื่อว่านตั้งตัวได้ควรให้ได้รับแสงแดดรำไร เพื่อหัวว่านจะได้มีขนาดใหญ่ และควรปลูกว่านธรณีสารในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด ตามความเชื่อของคนโบราณค่ะ