เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เอาไว้ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวอะไรเลย ระวังจะถูกหักค่าธรรมเนียมจนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัว
ทำเอาประชาชนผู้มีบัญชีเงินฝากเกิดคำถามและข้อสงสัยไปตาม ๆ กัน เมื่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีความสำคัญตรงที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากของประชาชนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 10 ปี ซึ่งไม่รวมถึงการได้รับดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ หากใครเปิดบัญชีออมทรัพย์ทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำการทำธุรกรรมใด ๆ เกินกว่า 10 ปี เงินในบัญชีดังกล่าวจะถูกนำมาพักไว้ที่คลัง ก่อนจะแจ้งให้เจ้าของบัญชีหรือทายาทมารับคืนต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพบบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแตะระดับหมื่นล้าน (อ่านข่าว คลัง เผย ปัจจุบันมีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวระดับหมื่นล้านบาท )
จะเห็นได้ว่าเกือบจะทุกธนาคารเลย
ที่ล้วนมีการหักค่าธรรมเนียมกับบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
แม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่ถ้าโดนหักไปทุก ๆ เดือน
เงินที่ใครหลายคนต้องการเก็บไว้ในบัญชีก็มีโอกาสหมดไปได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ดังนั้น
ใครที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ก็อย่าลืมหมั่นเข้าไปอัปเดต ฝาก ถอน โอน
ให้บัญชีมีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
เพื่อจะได้ไม่โดนหักค่าธรรมเนียมส่วนนี้ไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทำเอาประชาชนผู้มีบัญชีเงินฝากเกิดคำถามและข้อสงสัยไปตาม ๆ กัน เมื่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีความสำคัญตรงที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากของประชาชนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 10 ปี ซึ่งไม่รวมถึงการได้รับดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ หากใครเปิดบัญชีออมทรัพย์ทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำการทำธุรกรรมใด ๆ เกินกว่า 10 ปี เงินในบัญชีดังกล่าวจะถูกนำมาพักไว้ที่คลัง ก่อนจะแจ้งให้เจ้าของบัญชีหรือทายาทมารับคืนต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพบบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแตะระดับหมื่นล้าน (อ่านข่าว คลัง เผย ปัจจุบันมีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวระดับหมื่นล้านบาท )
อย่างไรก็ตาม
เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิดอยู่เท่านั้น
ทว่า...ถึงจะยังไม่ได้เสนอออกเป็นกฎหมาย แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่า
จริง ๆ
แล้วการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทิ้งไว้โดยไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรเลยตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
ต่อให้ยังไม่เกิน 10 ปี เราก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมในการรักษาบัญชีนั้น ๆ
ในทุก ๆ เดือน มารู้ตัวอีกทีเงินฝากก็อาจจะหมดบัญชีไปแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้น
มาดูกันดีกว่า
ว่าปัจจุบันแต่ละธนาคารมีค่าธรรมเนียมในการเก็บรักษาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นจำนวนเท่าไหร่
และกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียค่ารักษาบัญชีเงินฝากแบบไม่ได้ตั้งใจ
สถาบันการเงิน |
ระยะเวลาที่ไม่เคลื่อนไหว
|
ยอดเงินคงเหลือต่ำกว่า
|
ค่ารักษาบัญชี
|
ธนาคารกรุงเทพ |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารกรุงไทย |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารไทยพาณิชย์ |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารกสิกรไทย |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารออมสิน
(ยกเว้นบัญชีส่วนราชการ องค์การรัฐ
รัฐวิสาหกิจ บัญชีกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนราษฎร์
บัญชีค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
บัญชีเงินฝากของเด็กที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี และบัญชีที่ได้ยกเว้นพิเศษ)
|
1 ปีขึ้นไป | 500 บาท | 20 บาท/เดือน |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | 1 ปีขึ้นไป | 500 บาท | เก็บ 2 ครั้ง/ปี ครั้งละ 50 บาท |
ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร |
1 ปีขึ้นไป | 500 บาท | 10 บาท/เดือน |
ธนาคารธนชาต |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารซีไอเอ็มบี |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารทิสโก้ |
2 ปีขึ้นไป | 1,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารยูโอบี |
1 ปีขึ้นไป | 5,000 บาท | 100 บาท/เดือน |
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ |
1 ปีขึ้นไป | 2,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารเกียรตินาคิน |
1 ปีขึ้นไป | 1,000 บาท | 50 บาท/เดือน |
ธนาคารซิตี้แบงก์ | 6 เดือนขึ้นไป | 200,000 บาท |
300 บาท/เดือน |
ธนาคารไทยเครดิต |
1 ปีขึ้นไป | 500 บาท | 50 บาท/เดือน |
*
หมายเหตุ :
บัญชีออมทรัพย์พิเศษของบางธนาคารอาจมีเงื่อนไขการเก็บค่ารักษาบัญชีอื่น ๆ
เพิ่มเติม โปรดตรวจสอบจากธนาคารเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง (ข้อมูล ณ
เดือนพฤศจิกายน 2560)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย