Home »
ไอเดีย
»
ลาออกจากงานมาดูแลพ่อ ตัดสินใจเลี้ยงปูนาด้วยวิธีง่ายๆ แต่โกยรายได้หลักล้าน
ลาออกจากงานมาดูแลพ่อ ตัดสินใจเลี้ยงปูนาด้วยวิธีง่ายๆ แต่โกยรายได้หลักล้าน
วันนี้จะพาทุกท่านมาดูการเลี้ยงปูนาเพื่อสร้างรายได้
เป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลัก ซึ่งจะพามาดูเรื่องราวของ “ปานศิริ ปาดกุล”
หรือ ตูมตาม เคยลำบากแม้กระทั่งไม่มีเงินซื้อข้าวสารกิโลกรัมละ 33 บาท
เคยเป็นหนี้นอกระบบ ต้องทำอาชีพสารพัด สุดท้าย หันมาเลี้ยงปูนา
บังคับผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้ง ส่งขายร้านอาหารบางเดือนสร้างรายได้หลักล้าน
คุณตูมตามเล่าว่า หลังจบปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์
ทำงานแรกคือแผนกบัญชี บริษัทแห่งหนึ่ง
จากนั้นย้ายไปโรงงานผลิตอะไหล่โทรศัพท์มือถือจังหวัดปทุมธานีได้ราว 5 เดือน
ก็ลาออก
เพราะต้องกลับบ้านไปดูแลพ่อที่จังหวัดสิงห์บุรีซึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้
ผมทำงานประจำรับเงินเดิน 2 หมื่นบาท อยู่ราวๆ 5 เดือน พอรู้พ่อวัน 60 ปี
ประสบอุบัติเหตุตกต้นไผ่สูงกว่า 2 เมตร จึงเลือกที่จะลาออก
ด้วยการเป็นเสาหลักหารายได้เลี้ยงปากท้อง 3 คน ทว่าผ่านไปสักระยะ
เงินเริ่มไม่พอ จึงไปกู้เงินในระบบะและนอกระบบ คุณตูมตามบอกว่า
เนื่องจากพ่อเดินไม่ได้ ต้องกินอาหารผ่านสายยางอยู่ 5 เดือนแม่ก็ป่วย
ทั้งบ้านเหลือเงิน 1,000 บาท
สุดท้ายสำเงิน 1000 บาทได้ลงทุกขายไก่ย่าง และหมูปิ้ง
จนมีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ขายได้สักระยะก็เริ่มมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น
หนนี้จำต้องเลิกขาย แล้วหันมาใช้วิธีพรีออรเดอร์สินค้า ผ่านเฟสบุค
กินกำไรส่วนต่าง สินค้าจำพวกผัดสด ปลา กำไรกิโลกรัมละ 20-30 บาท
รายได้จำพวกอาหารสดค่อนข้างดี
มีเงินหมุนเวียนในครอบครัวแต่ละเดือนเป็นหมื่น แต่นายวันอยากหาความยั่งยืน
แล้วจู่จึงคิดเลี้ยงปูนาขึ้นมา
ด้วยความชอบกินปูนา ตูมตามบอกว่า
ได้เงินเก็บที่มีอยู่จากพรีออเดอร์สินค้า 2 หมื่นบาท เลี้ยงปูนาในบ่อปูน
ที่ดินที่มีอยู่ 1 ไร่ 44 ตารางวา สั่งปูนา คละไซต์มาจากหลายจังหวัด
ครั้งแรกราว 4 ตัน
การเลี้ยงปูนาครั้งแรก ของคุณตูมตาม นั้นไม่สำเร็จ เสียหมดเลย 4 ตัน
เนื่องจากเลี้ยงในบ่อปูน ซึ่งมีความเย็น อีกทั้งใส่น้ำปะปาลงไปมีคลอรีน
ปูนาปรับสภาพไม่ทัน ตายเกลี้ยง
ด้วยความไม่ยอมแพ้ และกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
คราวนี้สั่งปูนามาอีกครั้ง โดยเลือกซื้อพ่อแม่พันธุ์ปูนามาเลี้ยงแทน
ปัจจุบันเลี้ยงปู 2 สายพันธุ์ คือปูธรรมดา ตัวจะมีขนาดเล็ก
และปูนาพันธุ์กำแพง ตัวใหญ่ รสชาติมัน
ส่วนวิธีการเลี้ยงปูนา เจ้าของฟร์าม บอกว่า
หลังจากได้ปูนาพ่อแม่พันธุ์มาแล้ว ให้เลี้ยงในบ่อดินเหนียว
ใส่น้ำให้ดินแฉะๆ เพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติเลี้ยงต่อไป
จนปูนาเริ่มกินอาหารได้เอง ประมาณ 5 วัน ค่อยย้ายไปในบ่อปูน
บ่อปูนที่ใช้เลี้ยงปู มี 70 บ่อ ขนาดบ่อละ 2×3 เมตร 1
บ่อเลี้ยงปูนาได้ประมาณ 10,000 ตัว
การให้อาหารพ่อแม่พันธุ์ เจ้าของฟาร์ม จะให้อาหารวันละ 2 มื้อ
ช่วงเช้ามืด และช่วงค่ำ อาหารเป็นอาหารปลาดุกเม็ดเล็กโปรตีน 32
หรือจะเสริมด้วยรำข้าวก็ได้ วางตามพื้นดิน ช่วงกลางคืนและช่วงเช้ามืด
ปูนาจะออกมากิน ส่วนอาหารของลูกปลาลงดิน จนถึงอายุ 3 เดือน
เป็นไข่แดงต้มสุก ให้อาหารวันละ 1 มื้อ ช่วงเช้า
สำหรับเทคนิคผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้งนั้น คุณตูมตามเผยว่า
โดยปกติปูนาจะออกลูกเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณต้นเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
แต่เพื่อให้ปูนาจำหน่ายตลอดปี วิธีการผสมพันธุ์ปีละ 2-3 ครั้ง วิธีการคือ
หลังจากปูนาออกลูกแล้ว ในช่าวงฤดูฝน ให้ปล่อยดินแห้งแตกระแหง
จากนั้นให้ฉีดน้ำเข้าไปเต็มที่ ทำให้ปูนาคิดว่าเข้าฤดูฝนอีกครั้ง
ก็จะออกมาผสมพันธุ์กันเอง
ส่วนการตลาด เด็กหนุ่มบอกว่า ขายทั้งปูสด ปูดอง
และนำปูมาแปลรูปเป็นน้ำพริกเผา กะปิปู ส่งขายร้านอาหาร
บางเดินสร้างรายได้หลักร้านบาทต่อเดือน
ผมขายปูทั้งตัวเล็กที่ใช้ส้มตำกิโลกรัมละ 80-100 บาท
ส่วนปูตัวใหญ่ที่กำลังลอกคราบ เรียกว่าปูนิ่ม กิโลกรัมละ 1,200 บาท
และก้ามปูกิโบกรัมละ 1,000 บาท ส่งตามร้านอาหาร ภัตตาคาร
รวมถึงขายพ่อแม่พันธุ์ด้วย คู่ละ 100 บาท
นอกจากนี้ยังมีการนำปูนามาเพิ่มมูลค่าเป็นปูดอง กะปิปูนา น้ำพริกเผาปู