Home »
สาระ ความรู้
»
ทำบุญไหว้พระ วัดประจำรัชกาลที่ 1 – 10 แห่งราชวงศ์จักรี งามสง่า สมพระเกียรติ
ทำบุญไหว้พระ วัดประจำรัชกาลที่ 1 – 10 แห่งราชวงศ์จักรี งามสง่า สมพระเกียรติ
ทำบุญไหว้พระ วัดประจำรัชกาลที่ 1 – 10 แห่งราชวงศ์จักรี งามสง่า สมพระเกียรติ
ทราบกันไหมว่ากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีนั้นมีวัดประจำรัชกาลด้วยนะ
ซึ่งแต่ละวันคน ไ ท ย ก็ต่างคุ้นเคยกันดีเหมือนกัน
และมีหลายคนมากคิดว่าวัดพระแก้วเป็นวันประจำรัชกาลที่ 1
แต่ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นเลย วันนี้เราก็เลยเอา วัดประจำรัชกาลที่ 1 –
10 มาเป็นความรู้และเผื่อว่าท่านไหนจะอยากไปทำบุญ
ใครใกล้วัดไหนก็ลองแวะไปทำบุญกันได้เลย
ถ้าพร้อมแล้วก็มาทำความรู้จักกับแต่ละวัดกันได้เลย
วัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
ไม่ใช่วัดพระแก้วนะ ใครเข้าใจผิดก็เข้าใจใหม่นะ วัดที่แท้จริงคือ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร นั่นเอง
ซึ่งวันนี้จะรู้จักกันดีในชื่อ “วัดโพธิ์” แล้วก็ยังมีชื่อเดิมก็คือ
วัดโพธาราม เป็นวัดเก่าแก่มากๆ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นพระอารมหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
แน่นอนว่าเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1
) ว่างๆ ก็ลองแวะมาเที่ยวกันดู
วัดประจำรัชกาลที่ 2 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
ที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า “วัดแจ้ง” หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า “วัดอรุณ”
เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าแต่เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก”
และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา
เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน
แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่
ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ)
แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก
ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310
ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดแจ้ง”
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(รัชกาลที่ 1) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด
แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(รัชกาลที่ 2) พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง
ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”
วัดประจำรัชกาลที่ 3 วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่เดิมมีชื่อว่า “วัดจอมทอง”
เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม
เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัด ทั พ พ ม่ า ที่ด่านพระเจดีย์สามองค์
กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363
เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง
ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลน ท ว า ร ตามตำราพิชัย ส ง ค ร า ม
พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มี ทั พ
พ ม่ า ยกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง
ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชโอรส” ซึ่งหมายถึง พระราชโอรส คือ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
วัดประจำรัชกาลที่ 4 วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า
ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ
วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน
จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี
และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย
ข้าราชการที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก
วัดราชประดิษฐฯ
จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้
เพราะวัดอื่นๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย
วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรม ไ ท ย
กับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรม ไ ท ย
ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ 6 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ สิ้ น พ ระ ช น ม์ เสียก่อน มีสถาปัตยกรรมแบบ ไ ท
ย ผสม จี น ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน คือ
พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง
ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลา จี น และซุ้ม จี น
ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋ง จี น นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง
บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ
ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศที่สยามมกุฎราชกุมาร
วัดประจำรัชกาลที่ 8 วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส”
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสัง ฆ า ราม
จึงเรียกกันว่า “วัดพระโต” “วัดพระใหญ่” หรือ “วัดเสาชิงช้า” บ้าง
จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็ สิ้ น รั ช ก
า ล เสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
การก่อสร้างวัด
มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390
และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า
วัดสุทัศนเทพธารามและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า
“พระศรีศากยมุนี” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี”
วัดประจำรัชกาลที่ 9 วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร (เดิมชื่อว่า วัดใหม่)
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 3
พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์
และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประ เ ท ศ ไ ท ย
ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
และ วัดประจำรัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
พระประธานในพระอารามนี้มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ โดยทั่วไป คือ
มีพระประธาน 2 องค์
และล้วนมีความสำคัญเนืองจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณ ได้แก่
พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์ราวปี
พ.ศ. 2373 และพระสุวรรณเขต หรือ “พระโต” หรือ หลวงพ่อเพชร
พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานไว้เบื้องหลังพระพุทธชินสีห์
เป็นพระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
วัดประจำรัชกาลที่ 10 วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต)
วัดนี้เดิมชื่อ วัดทุ่งสาธิต เดิมทีคหบดีชาวลาวเป็นผู้สร้างเมื่อประมาณ
พศ.2399 เล่าต่อกันมาว่าเป็นวัดร้างมาก่อน โดยคหบดีชาวลาวท่านนี้อพยพ ม า
สมัย เ วี ย ง จั น ท ร์ แตก หลังจากคหบดีท่านถึงแก่ ก ร ร ม วัดนี้เลย ร้
า ง เนื่องจากไม่มีใครอุปถัมป์ ประกอบกับเจ้าอาวาสองค์สุดท้าย ม ร ณ ภ า พ
ลง เลยไม่มีใครสืบสาน และก็สมัยก่อนนั้นวัดนี้อยู่ห่างไกลความเจริญ
เป็นทุ่งนาส่วนใหญ่
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
(พระยศในขณะนั้น) รับวัดทุ่งสาธิตไว้ในพระอุปถัมภ์
เป็นอารามหลวงได้พระราชทานนามว่า วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ที่ตั้ง เลขที่
1199 ซอย 101/1 สุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม 10260
ก็ลองหาเวลาไปทำบุญกันดูได้เลยนะ ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมวัดรัชกาลที่ 1 –
10 ถึงได้มีเพียง 9 ข้อ ลองกลับไปดูที่ข้อที่ 5 ดู วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ
รัชกาลที่ 7 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดเดียวกันเลย
และทุกวันไม่ได้เดินทางไปลำบากเลย
แต่ถ้าจะเที่ยวให้ครบทั้งหมดในวัดเดียวอาจจะเหนื่อยไปหน่อย
แต่ก่อนจะไปก็ควรวางแผนให้ดีแล้วก็ออกไปทำบุญกันได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : campus-star