Home »
ข้อคิด
»
คนที่ไม่มีลูก แก่มาแล้วใครจะเลี้ยง ลองเรื่องนี้แล้วจะเข้าใจ
คนที่ไม่มีลูก แก่มาแล้วใครจะเลี้ยง ลองเรื่องนี้แล้วจะเข้าใจ
เป็นอีกหนึ่งบทความดีๆ
สำหรับการมีลูกเพื่อหวังจะให้พวกเขาเลี้ยงดูในยามแก่นั้นเป็นแนวคิดของคนสมัยก่อนที่มีสืบกันมานานมาก
ซึ่งก็มักจะเป็นแบบนั้นจริง ๆ เสียด้วยในสังคมของเรา
แต่ว่าหากจะมองในความเป็นจริงแล้วมันยังจะใช้ความคิดแบบนี้ได้อยู่ไหม
“มีลูก ตอนแก่จะได้มีคนเลี้ยงดู” ซึ่งมันจะแปลได้อีกทางว่า
หากลูกไม่ยอมเลี้ยงดูคืออกตัญญูอย่างนั้นหรือ
ในความเป็นจริงมันเป็นความเห็นแก่ตัวของคนเป็นพ่อแม่กันแน่ ลองมาอ่านกันดู
ในปัจจุบันนี้ก็มีคนแก่ชราหลายคนมากที่เข้ากับครอบครัวของลูก ๆ ไม่ได้
บางทีความคิดแบบเดิมมันอาจจะต้องปรับแล้วก็ได้
ทำไมไม่คิดว่าอยากจะให้ลูกเลี้ยงดูในตอนแก่เป็นการ
ดูแลตัวเองได้ในตอนแก่บ้าง จะเอาสมัยก่อนกับปัจจุบันมาเที่ยวกันมันไม่ได้
ที่พ่อแม่มีลูกตั้งหลายคนยังเลี้ยงได้ ทำไมลูกเลี้ยงพ่อแม่บ้างไม่ได้
ซึ่งมันก็อาจจะน่าคิด
แต่ลองมองถึงค่าครองชีพและการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันสิมันเหมือนสมัยก่อนงั้นหรือ
เรามีเรื่องราวน่าอ่านและอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจตาม ทั้งในมุมของคนเป็นพ่อแม่ และในมุมของความเป็นลูก เรื่องราวมีดังนี้
มีคุณแม่คนหนึ่ง สามีเสียไปนานแล้ว เธอสอนหนังสือหาเงินเลี้ยงลูกชายจนโต
เขาเป็นคนเชื่อฟังตั้งแต่ตอนเล็ก พอลูกโต เธอก็ส่งลูกไปเรียนอเมริกา
พอลูกเรียนจบก็อยู่ทำงานต่อที่อเมริกาหาเงินซื้อบ้าน แต่งงาน มีลูกหนึ่งคน
สร้างครอบครัวที่แสนสุข
ตัวเธอเองคิดถึงประโยคที่ว่ามีลูกจะได้มีคนเลี้ยงตอนแก่
คิดถึงสายตาอิจฉาของญาติๆและเพื่อนฝูง เธอมีความสุขจากใจ
ระหว่างรอจดหมายตอบจากลูกชาย เธอก็จัดการเรื่องบ้านและงานจนเรียบร้อย
คืนสุดท้ายก่อนเธอจะเกษียณ
เธอก็ได้รับจดหมายที่ส่งมาจากอเมริกาของลูกชาย
พอเปิดออกดูข้างในก็เป็นเช็คมูลค่า 3 หมื่นเหรียญดอลล่าร์
เธอรู้สึกแปลกใจมาก เพราะลูกชายไม่เคยส่งเงินให้เธอมาก่อน
เธอรีบเปิดจดหมายออกอ่าน ในจดหมายเขียนว่า “แม่ครับ พวกเราได้คุยกันแล้ว
ตัดสินใจ และสรุปว่า พวกเราไม่ยินดีให้แม่มาอยู่ด้วยกันที่อเมริกา
ถ้าแม่คิดว่าแม่มีบุญคุณที่เลี้ยงดูผมมา คำนวณตามราคาตลาด ก็ประมาณ 2
หมื่นกว่าเหรียญ ผมก็เลยเพิ่มให้นิดหน่อย แล้วส่งเช็ค 3 หมื่นมาให้แม่
หวังว่าต่อไปนี้แม่จะไม่เขียนจดหมายมาอีก”
แม่อ่านจดหมายฉบับนั้นจบก็น้ำตาไหลพราก
รู้สึกว่าตัวเองเป็นม่ายมาตลอดชีวิต จากนี้ไปต้องแก่อย่างโดดเดี่ยว
เธอเจ็บปวดจนไม่อยากมีชีวิต ต่อมาเธอก็ศึกษาพระพุทธศาสนา หลังศึกษา
เธอก็คิดได้ เธอใช้เงิน 3 หมื่นเหรียญเอาไปเดินทางเที่ยวรอบโลก
ได้เห็นสิ่งใหม่ๆมากมาย
หลังจากนั้นเธอจึงเขียนจดหมายหนึ่งฉบับถึงลูกชาย ในจดหมายว่า “ลูกรัก
ลูกไม่อยากให้แม่เขียนจดหมายมาอีก
ก็ถือซะว่าจดหมายฉบับนี้เป็นข้อความเพิ่มเติมจากฉบับที่แล้วละกัน
แม่ได้รับเช็คแล้ว และใช้เงินจำนวนนั้นไปเดินทางรอบโลก
ระหว่างเดินทางท่องเที่ยว อยู่ๆแม่ก็รู้สึกว่า แม่ควรขอบใจลูก
ขอบใจที่ทำให้แม่เห็นอะไรทะลุปรุโปร่ง ปล่อยวาง
ทำให้แม่ได้เห็นว่าความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อน และคนรักไม่มีรากหยั่งลึก
เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ถ้าวันนี้แม่ยังคิดไม่ตก ยังยึดติด ยังทุกข์อยู่
แม่คงสิ้นลมหายใจไปภายในปีครึ่งปี การปฏิเสธของลูก
ทำให้แม่ได้เห็นว่าคนเรามีวาสนาก็ได้เจอ หมดวาสนาก็จากกัน
ทุกอย่างไม่เที่ยงแท้ ทำให้แม่เรียนรู้ที่จะสงบและใจเย็น
มองทุกอย่างในเชิงบวก แม่ไม่มีลูกแล้ว ไม่มีอะไรให้เป็นห่วง
เพราะงั้นแม่ถึงสามารถอยู่ได้โดยไม่มีมัน
“พ่อแม่ที่น่าสงสาร” คนเป็นพ่อแม่อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก
แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้รับกลับไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดมีคนกล่าวไว้ว่า
บ้านของพ่อแม่คือบ้านของลูกตลอดเวลา บ้านของลูกไม่เคยเป็นบ้านของพ่อแม่
การให้กำเนิดลูกเป็นงานที่ต้องทำ การเลี้ยงดูลูกเป็นภาระหน้าที่
การพึ่งพาลูกเป็นความเข้าใจผิด ช่างเป็นเรื่องราวที่ไม่น่าฟัง
แต่ก็ไม่ฟังก็ไม่ได้ แม้ว่าไม่ใช่ลูกทุกคนจะเป็นเหมือนลูกชายในเรื่องที่
ไม่ มี หัว ใ จ แต่คนเป็นพ่อแม่ไม่ควรคิดว่าแก่แล้วจะพึ่งพาลูก
พูดกันตามตรง แก่แล้วต้องดูแลตัวเอง ลูกกตัญญูต่อคุณถือเป็นบุญ
ถ้าลูกกตัญญูไม่พอ พ่อแม่ก็บังคับไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ
วางแผนชีวิตพึ่งพาตัวเองตอนแก่ไว้
จากมุมมองของสังคม การมีลูกจะได้มีคนเลี้ยงตอนแก่เป็นความปรารถนาในใจ
แต่ในยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคม วัตถุนิยม วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป
สถานการณ์ในปัจจุบันคือ คนยุคใหม่เปลี่ยนไป คนอายุมากยังยึดติด
การที่คนอายุมากยึดแนวความคิดว่ามีลูกจะได้มีคนเลี้ยงตอนแก่ไม่เหมาะสมกับอีกต่อไป
สิ่งที่ตามมาคือ โ ศ ก น า ฏ ก ร ร ม
พ่อ แม่
ทวงบุญคุณกับลูกได้แต่มันไม่ใช่ลูกทุกคนที่มีศักยภาพพอที่จะดูแลพ่อแม่ได้
เพราะเพียงแค่ชีวิตและครอบครัวของเรามันก็ต้องดูแลเช่นกัน
การวางแผนดูแลตัวเองตอนแก่จึงเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อ
แม่คนควรวางแผนและอย่าฝากความหวังทั้งหมดมาทิ้งไว้ที่ลูกได้แล้ว
มันไม่ใช่ความผิดของลูกที่ดูแลคุณไม่ได้
แต่มันผิดที่คุณที่ไม่ยอมดูแลตัวเองต่างหาก ฝากไว้ให้คิดกันนะ