กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณดีงาม บำรุงร่างกาย สาว ๆ และ สตรีไวทอง ยิ่งกินยิ่งดี

กระเจี๊ยบแดง พืชสมุนไพรที่พูดถึงหลายคนคงนึกถึงน้ำกระเจี๊ยบที่เปรี้ยวอมหวาน ดื่มที่ไรก็ดับกระหาย วันนี้เรามีสาระความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับกระเจี๊ยบแดงมาฝากทุกคนค่ะ เชื่อว่าหลายคนรู้แล้วจะรีบหามากินอย่างแน่นอน สรรพคุณดี ๆ ของกระเจี๊บแดงมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

1. ลดไข้

ในกระเจี๊ยบมีสารพฤกษเคมีที่สำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสsะทั้งสารในกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารในกลุ่มแอนโธไซยานิน ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า สารพฤกษเคมีดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสsะ ลดไข้ และต้านการอักเสบ นอกจากนี้วิตามินซีในกระเจี๊ยบยังมีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วยนะคะ

2. แก้ไอ ละลายเสมหะ

ในตำรับยาแผนโบราณพบว่าใบกระเจี๊ยบมีฤทธิ์แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ไหลลงสู่ทวารหนัก ทั้งยังช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้อีกต่างหาก

3. ขับปัสสาวะ

จากการศึกษาให้ผู้ป่Ձยดื่มน้ำสกัดกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง พบว่า กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ดี โดยในการทดลองได้ใช้กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงตากแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือประมาณ 300 มิลลิลิตร ให้ผู้ป่Ձยดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี ส่วนในตำราพื้นบ้าน แนะนำให้นำกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงมาชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้

4. แก้กระหาย ให้ร่างกายสดชื่น

ดอกกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว เพราะมีวิตามินซี และกรดซิตริก จึงช่วยขับน้ำลายและแก้กระหาย โดยนำดอกกระเจี๊ยบตากแห้ง ต้มในน้ำเดือดเป็นน้ำกระเจี๊ยบหอมหวานชื่นใจ

5. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ดอกกระเจี๊ยบมีสรรพคุณต้านการอักเสบ และมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

6. ลดไขมันในเลืoด

ส่วนเมล็ดของกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลืoด โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบตากแห้งมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำมาชงกับน้ำร้อนหรือต้มน้ำดื่ม ช่วยลดไขมันในเลืoด บำรุงเลืoด ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัด

7. ป้องกันโรคหัวใจ

สารแอนโธไซยานินที่ทำให้กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบมีสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสsะที่ช่วยทำให้เลืoดไม่หนืด ช่วยลดไขมันIลวในเส้นเลืoด จึงป้องกันไม่ให้หลอดเลืoดแข็งตัว ป้องกันหัวใจขาดเลืoด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยนิยมนำกระเจี๊ยบแดงไปต้มกับพุทราจีน เพื่อบำรุงหัวใจ

8. รักษาแผล

ใบของกระเจี๊ยบมีสรรพคุณในการต้านอาการอักเสบ จากตำรับยาแผนโบราณจะพบว่ามีการนำใบสดของกระเจี๊ยบแดง ล้างให้สะอาด และตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาประคบฝีหรือต้มใบแล้วนำน้ำต้มใบมาล้างแผล ก็จะช่วยบรรเทาอาการแผลให้หายเร็วขึ้น นอกจากนี้ ใบยังมีวิตามินเอ สามารถทานบำรุงสายตาได้

9. ป้องกันโลหิตจาง

กระเจี๊ยบแดงมีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของฮีโมโกลบิน อีกทั้งความเป็นกรดของสารพฤกษเคมีในดอกกระเจี๊ยบแดงยังช่วยเพิ่มการดูดซึมและการกระจายแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้กระเจี๊ยบแดงช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้

10. ลดน้ำตาลในเลืoด

จากการศึกษากับผู้ป่Ձยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลืoดของอาสาสมัครลดลงสูงสุดจาก 162.1 เป็น 112.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากกลไกทางชีวภาพของสารพฤกษเคมีที่ช่วยลดการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ผ่านการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส แลแอลฟา-กลูโคซิเดส

11. ลดความดันโลหิต

จากการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง โดยให้อาสาสมัครดื่มชากระเจี๊ยบแดง 1.25 กรัม ชงกับน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ความดันโลหิตของอาสาสมัครลดลง 7.2 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจบีบตัว) และ 3.1 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจคลายตัว)

12. ปกป้องไต

การศึกษาในคลินิกที่ให้อาสาสมัครดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง 24 กรัมต่อวัน พบว่า สารพฤกษเคมีในกระเจี๊ยบแดงมีส่วนช่วยขับครีเอตินิน กรดยูริก ซิเตรต ทราเทรต แคลเซียม โพแทสเซียม และฟอสเฟต และในข้อมูลสัตว์ทดลองยังพบว่า กรดของสารพฤกษเคมีในดอกกระเจี๊ยบแดงขนาด 750 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถป้องกันและยับยั้งการพัฒนาของก้อนนิ่วได้ ทว่าผลการยับยั้งนิ่วในคนยังต้องศึกษากันต่อไป

13. กำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ

มีการศึกษาที่ยืนยันว่า กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ โดยสารในกระเจี๊ยบแดงจะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้

14. ดีต่อสาว ๆ

กินดีบำรุงเพศมีงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากกลีบดอกกระเจี๊ยบมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนสตรี เหมาะเอาไว้ให้สตรีวัยทองดื่มดูแลร่างกาย ปรับฮอร์โมนให้คงที่และถ้าบริโภคกระเจี๊ยบต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน สามารถลดไขมันในเส้นเลืoด น้ำตาลในเลืoด ไขมัน คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันiลว(LDL)แต่ไขมันชนิดดี HDL กลับเพิ่มขึ้น

แหล่งที่มา :health.kapook.com , loveyim.com
เรียบเรียงโดย : esancuisine.com