จากกรณี
พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม
ทหารเกณฑ์ค่ายวิภาวดีรังสิตกระทำผิดวินัยจนถูกทำโทษสั่งขังในคุกทหาร
และถูกหามส่งโรงพยาบาล ก่อนเสียชีวิต ขณะที่ญาติ
ได้เดินทางเข้าร้องเรียนกับทาง พล.ต.วิชัย ทัศนมณเฑียร
ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45 สุราษฎร์ธานี เพื่อตั้งคณะกรรมการสอบสวน
จากนั้น พ.ต.อ.ศิริชัย ทรงวสิน ผกก.สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี
เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมให้ความเป็นธรรม
โดยฝ่ายทหารยืนยันจะไม่เข้าไปยุ่งเรื่องคดีความ
และจะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ทั้งนี้พล.ต.อ.จรัมพร
สุระมณี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวกรณี
พลทหารยุทธกินันท์ ถูกทำร้ายเสียชีวิตภายในค่ายวิภาวดีรังสิต
จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยว่า
เบื้องต้นอยู่ระหว่างการประสานว่าผู้ที่ทำร้ายเป็นครูฝึกหรือเกี่ยวข้องกับการฝึกหรือไม่
เพราะหากไม่เกี่ยวข้องจะเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว
ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ในการฝึกหรือซ่อม ป.ป.ท.ก็จะไม่มีอำนาจตรวจสอบ
แต่ตนขอยกตัวอย่างเทียบเคียงกับเหตุซ่อมพลทหารวิเชียร เผือกสม
ทหารเกณฑ์ค่ายเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งถูกซ่อมโดยบังคับให้นอนบนน้ำแข็ง
กินพริก กินกระเทียม มีร่องรอยฟกช้ำ เสียชีวิตเพราะไตวาย
สภาพบาดแผลถูกทรมานหลายวิธี " ซึ่งไม่ใช่คดีฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่เป็นคดีทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ป.ป.ท.ได้ไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อนลงมติชี้มูลความผิด ส่งสำนวนให้อัยการฟ้องดำเนินคดีอาญา ในความผิดมาตรา 157ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีโทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 2,000-20,000บาท และมาตรา 290 ฐานผู้ใดไม่ได้มีเจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุก 3-15 ปี และในกรณีเป็นทหารจะต้องถูกลงโทษทางวินัยสูงสุดคือไล่ออก งดบำเหน็จบำนาญและมีโทษอาญาทหารด้วย "
นอกจากนี้ พล.ต.อ.จรัมพร ยังกล่าวอีกว่า กรณีพลทหารวิเชียร ทางราชการจ่ายเงินเยียวยาให้ครอบครัวจำนวน 7 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาไม่มีนโยบายให้ทำร้ายร่างกายขณะฝึกซ้อม โดยการซ่อมทางทหารและตำรวจเป็นการลงโทษทางวินัยเพื่อปรับปรุงลักษณะ รุ่นพี่ซ่อมรุ่นน้องต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บังคุบบัญชา ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าห้ามใช้อาวุธ หลังเที่ยงคืนห้ามเรียกลงมาซ่อม และไม่ควรใช้วิธีทรมานด้วยความร้อนและความเย็นเพราะความอดทนของร่างกายแต่ละคนต่างกัน เช่นการบังคับให้ถอดเสื้อตากแดดอาจทำให้เสียชีวิตได้
" ผมเป็นตำรวจเคยทั้งถูกซ่อมและซ่อมรุ่นน้อง จึงอยากฝากข้อคิดว่าหากรุ่นพี่ซ่อมรุ่นน้องด้วยความเมตตาจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง แต่หากซ่อมด้วยอคติจะสร้างความบาดหมางและกินใจไปตลอด ทหารและตำรวจทุกคนต้องฝึกหนักตลอดทั้งวัน ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากระบบ แต่เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล เฉพาะครูฝึกบางรายที่มีพฤติกรรมส่วนตัวพยายามสร้างนวัตกรรมหรือต้องการให้ตนเองเป็นที่จดจำจึงหาวิธีการแปลกๆมาซ่อมรุ่นน้อง จึงขอยกตัวอย่างคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับครูฝึกและรุ่นพี่ว่าการฝึกเกินกว่าเหตุจะต้องรับโทษทางอาญา" พล.ต.อ.จรัมพร กล่าว
เรียบเรียงโดย