Home »
ข่าว
»
พระยศใหม่ ‘สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ’ พระยศเคียงอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5..
พระยศใหม่ ‘สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ’ พระยศเคียงอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5..
เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
และโดยพระชนมพรรษาจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ
และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ
ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ภายหลังคือ
พระศรีนครินทราบรมราชชนนี)ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน
Pensionnat Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงหายจากอาการประชวรแล้ว
ก็ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม
พ.ศ. 2492
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ.
2493
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับด้วย
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น
ณ วังสระปทุมโดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น
หลังจากนั้น
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ
ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น
สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย
ต่อมา
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระราชดำริว่าตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว
ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ก่อนหน้านี้ย้อนไปเมื่อ 109
ปี่ก่อน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่
6 แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์ทรงพระราชดำริว่า
พระราชประเพณีได้เคยมีมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกใหม่
ได้ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศแลเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระพันปีหลวงฉลองพระเดชพระคุณเป็นปฐมเพื่อเป็นศุภมงคลและราชสมบัติ
พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี บางครั้งออกพระนามว่า
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง
และทูลเชิญพระองค์เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไท
ซึ่งพระองค์ก็เสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้จนกระทั่งสวรรคต
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 14 พระองค์
ซึ่งต้องมีพระราชภาระในการเลี้ยงดูซึ่งพระราชโอรส 2 พระองค์คือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
เป็นพระเจ้าแผ่นดิน อีกทั้งพระราชโอรสองค์อื่น ๆ
ก็ได้เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทนำพาความเจริญสู่ชาติบ้านเมืองเป็นอันมาก
อาทิ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระบิดาผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตนั้น
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
ก็ทรงทุกข์ระทมในพระราชหฤทัยทำให้พระองค์ทรงประชวรและปฏิบัติพระราชกรณียกิจไม่ได้มากหลังจากนั้น
พระองค์ต้องประทับอยู่แต่ที่พระราชวังพญาไท ไม่ให้ผู้ใดรบกวน
ห้ามไม่ให้รถยนต์ รถม้าถนนใกล้ขับเคลื่อนเสียงดังโดยเด็ดขาด
ที่มา siamlife24