นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
เปิดเผยถึงกรณีที่มีแชร์กันในโลกโซเชียลว่าหากมีการขอเงินคืนประกันมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วหากมิเตอร์เสียหายจะต้องจ่ายเองว่า
เป็นการเข้าใจที่คาดเคลื่อน
เงินที่ประชาชนชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนขอรับเงินคืนนั้น เป็น
เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าไม่เกี่ยวกับมิเตอร์
จากเดิมเวลาประชาชนจะใช้ไฟฟ้าจะต้องมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ ค่าติดตั้งมิเตอร์ และค่าประกันการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าที่กฟภ.จะเรียกเก็บตามขนาดของมิเตอร์ เช่น มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ที่บ้านเรือนใช้กันจะต้องมีการจ่ายค่าประกันล่วงหน้า 300 บาท เพราะการที่จะเรียกเก็บเงินผู้ใช้ไฟฟ้าได้ต้องใช้ไฟครบเดือนก่อน และเมื่อถึงกำหนดผู้ใช้ไฟไม่จ่ายเงินก็จะหักเงินส่วนนี้ไป แต่กรณีที่ผู้ใช้ค้างชำระก็ใช่ว่ากฟภ.จะตัดทันทีมีกระบวนการตามขั้นตอนการแจ้งเตือนภายใน 28 วัน หากไม่ดำเนินการถึงจะตัดไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้แม้ว่ากฟภ.คืนเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟแล้ว หากพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านนั้น ๆ มีปัญหากฟภ.ก็ต้องไปเปลี่ยนให้ใหม่ เพราะมิเตอร์ถือเป็นทรัพย์สินของกฟภ. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยอมรับว่ามีประชาชนเข้าเว็บไซด์เพื่อลงทะเบียนขอรับเงินค่าประกันไฟฟ้าคืนเป็นจำนวนมากทำให้เกิดเว็บล่มดังนั้นขอให้ประชาชนทยอยการเข้าลงทะเบียน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันนี้ เป็น 3 เดือนข้างหน้า หรือปีหน้าก็ได้ เพราะไม่มีระยะเวลาการกำหนดคืนเงิน โดยในส่วนของกฟภ.ต้องคืนเงินค่าประกันไฟฟ้าให้ประชาชน 19,500,000 ราย สำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป โดยประชาชน 16 ล้านรายที่กฟภ.จะคืนเงินประกัน 300 บาท
นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า การเรียกค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นการเรียกผิดกันมานาน ซึ่งจริงแล้วเป็นเงินการประกันใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าของประชาชน เพราะกลัวว่าหากไม่เรียกเงินค้ำประกัน และหากประชาชนรายนั้น ๆ ย้ายที่อยู่อาศัยแล้วจะไปตามเก็บค่าไฟกับใคร เนื่องจากการเก็บค่าไฟได้ต้องใช้ไฟฟ้าให้ครบเดือนก่อน
สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของกฟน. หากประชาชนมีการแจ้งว่ามิเตอร์เสียหายก็จะไปเปลี่ยนให้ใหม่ ซึ่งความเสียหายนั้นเกิดจากความเสื่อมสภาพ และมีอายุการใช้งานมานาน ซึ่งปกติมิเตอร์ไฟไม่ได้มีการเก็บเงินประกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปกฟน.กำลังจัดทำแผนการติดตามผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากที่ไม่มีการเรียกเก็บเงินการใช้ไฟ และขอให้ประชาชนทยอยเข้ามาลงทะเบียนการขอคืนเงิน
ข้อมูลจาก https://www.dailynews.co.th/economic/764912
จากเดิมเวลาประชาชนจะใช้ไฟฟ้าจะต้องมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ ค่าติดตั้งมิเตอร์ และค่าประกันการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าที่กฟภ.จะเรียกเก็บตามขนาดของมิเตอร์ เช่น มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ที่บ้านเรือนใช้กันจะต้องมีการจ่ายค่าประกันล่วงหน้า 300 บาท เพราะการที่จะเรียกเก็บเงินผู้ใช้ไฟฟ้าได้ต้องใช้ไฟครบเดือนก่อน และเมื่อถึงกำหนดผู้ใช้ไฟไม่จ่ายเงินก็จะหักเงินส่วนนี้ไป แต่กรณีที่ผู้ใช้ค้างชำระก็ใช่ว่ากฟภ.จะตัดทันทีมีกระบวนการตามขั้นตอนการแจ้งเตือนภายใน 28 วัน หากไม่ดำเนินการถึงจะตัดไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้แม้ว่ากฟภ.คืนเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟแล้ว หากพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านนั้น ๆ มีปัญหากฟภ.ก็ต้องไปเปลี่ยนให้ใหม่ เพราะมิเตอร์ถือเป็นทรัพย์สินของกฟภ. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยอมรับว่ามีประชาชนเข้าเว็บไซด์เพื่อลงทะเบียนขอรับเงินค่าประกันไฟฟ้าคืนเป็นจำนวนมากทำให้เกิดเว็บล่มดังนั้นขอให้ประชาชนทยอยการเข้าลงทะเบียน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันนี้ เป็น 3 เดือนข้างหน้า หรือปีหน้าก็ได้ เพราะไม่มีระยะเวลาการกำหนดคืนเงิน โดยในส่วนของกฟภ.ต้องคืนเงินค่าประกันไฟฟ้าให้ประชาชน 19,500,000 ราย สำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป โดยประชาชน 16 ล้านรายที่กฟภ.จะคืนเงินประกัน 300 บาท
นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า การเรียกค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นการเรียกผิดกันมานาน ซึ่งจริงแล้วเป็นเงินการประกันใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าของประชาชน เพราะกลัวว่าหากไม่เรียกเงินค้ำประกัน และหากประชาชนรายนั้น ๆ ย้ายที่อยู่อาศัยแล้วจะไปตามเก็บค่าไฟกับใคร เนื่องจากการเก็บค่าไฟได้ต้องใช้ไฟฟ้าให้ครบเดือนก่อน
สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของกฟน. หากประชาชนมีการแจ้งว่ามิเตอร์เสียหายก็จะไปเปลี่ยนให้ใหม่ ซึ่งความเสียหายนั้นเกิดจากความเสื่อมสภาพ และมีอายุการใช้งานมานาน ซึ่งปกติมิเตอร์ไฟไม่ได้มีการเก็บเงินประกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปกฟน.กำลังจัดทำแผนการติดตามผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากที่ไม่มีการเรียกเก็บเงินการใช้ไฟ และขอให้ประชาชนทยอยเข้ามาลงทะเบียนการขอคืนเงิน
ข้อมูลจาก https://www.dailynews.co.th/economic/764912