ใครที่สงสัยว่า ไม้ดอกกินได้มีอะไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมได้รวบรวมเอาไม้ดอกกินได้ รสชาติโดนใจ พร้อมเมนูตัวอย่างมาฝากทุกคนแล้วค่ะ
ดอกไม้กินได้ มีอะไรบ้าง ? คำถามยอดฮิตสำหรับคนที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเอาไว้ที่บ้าน เพราะนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ดอกไม้ก็ดูเหมือนจะไม่ได้มีประโยชน์สักเท่าไร แต่รู้ไหมคะว่าจริง ๆ แล้ว ดอกไม้จัดสวนของเราสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ แถมมีประโยชน์เพียบ เอาเป็นว่าจะมีดอกไม้อะไรที่ควรค่าแก่การรับประทาน หรือดอกไม้ชนิดไหนเอาไปทำอะไรอร่อยบ้าง เรามาไขคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
1. ดอกชบา
ชบาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่เรียงสลับ ขอบใบคล้ายจักฟันเลื่อย ส่วนดอกจะออกดอกตามซอกใบ โดยมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ลักษณะและสีของกลีบดอกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งมีสีแดง สีชมพู สีส้ม สีเหลือง และสีขาว เกสรชูสูงเห็นเด่นชัดอยู่เหนือกลีบดอก นิยมนำดอกชบามาทำให้แห้ง แล้วสกัดเป็นชาหรือเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เพราะดอกชบามีฤทธิ์ช่วยลดไข้และขับเสมหะ บำรุงเส้นผมและผิวพรรณ นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกชบาไปชุบแป้งทอดหรือทำเป็นสลัดก็ได้
วิธีปลูก : ชบาเป็นพืชที่ปลูกง่าย เพราะสามารถขึ้นได้ในดินทุกสภาพ แต่ถ้าอยากให้เจริญงอกงามได้ดี ควรปลูกบนดินร่วนที่มีการระบายน้ำสะดวก และวางเอาไว้ในที่ที่ต้นชบาจะโดนแสงแดดเยอะ ๆ ด้วย ส่วนการรดน้ำ ก็ให้รดแค่เพียงวันละครั้ง และหากวันไหนมีฝนตกแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำซ้ำอีก เพราะพืชชนิดนี้ไม่ชอบน้ำมาก ที่สำคัญอย่าปล่อยให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป ส่วนใครจะขยายพันธุ์เพิ่ม ต้นชบาสามารถทำได้ทั้งวิธีปักชำ เสียบยอด และติดตาค่ะ
2. ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน ดอกไม้ที่มีเกสรขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยกลีบดอกสีเหลือง และมักจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ (ยกเว้นดอกที่แก่แล้ว) จึงทำให้ได้ชื่อว่าดอกทานตะวัน เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 13-26 เซนติเมตร ความสูงลำต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายหยักฟันเลื่อย ส่วนของดอกไม้ที่นำมารับประทานกันมากคือ เมล็ด โดยนำไปอบแห้งพร้อมแต่งรสไว้รับประทานเล่น และสกัดเป็นน้ำมันดอกทานตะวันสำหรับทำอาหาร นอกจากนี้ในส่วนดอกของดอกทานตะวันยังสามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย
วิธีปลูก : การปลูกทานตะวันสามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่าดอกทานตะวันจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีต่อดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังทนต่อความร้อนได้ดี ฉะนั้นหากคิดจะปลูกก็ควรจัดหาพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด ๆ หรือปลูกบริเวณกลางแจ้ง และปลูกด้วยดินร่วนปนดินทราย เพราะระบายน้ำได้ดีด้วย ส่วนเรื่องการรดน้ำ ก็ควรรดให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องแฉะ เพราะทานตะวันเป็นพืชที่ต้องการน้ำในระดับปานกลาง
3. กุหลาบ
เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักดอกกุหลาบ ดอกไม้แห่งความรักที่มีสีสันสดใสอย่าง สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง ฯลฯ ซึ่งต้องบอกว่านอกจากจะนำมาจัดสวน ตกแต่งบ้าน หรือมอบให้คนรักในโอกาสสำคัญแล้ว ดอกกุหลาบยังนำมารับประทานได้ โดยเมนูเด็ดของดอกกุหลาบสำหรับคนไทย ต้องยกให้การนำกลีบดอกกุหลาบไปชุบแป้งทอด หรือนำไปใส่ในแกงต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มสีสัน นอกจากนี้ก็เป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำไปสกัดเป็นชา
วิธีปลูก : แม้กุหลาบจะออกดอกได้ดีในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว แต่ก็สามารถปลูกดอกกุหลาบได้ทั้งปี โดยดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วน ดินเหนียวผสมดินร่วน หรือดินเหนียวผสมทราย และแน่นอนว่าดินต้องระบายน้ำได้ดี แถมพื้นที่ปลูกต้องมั่นใจว่ากุหลาบจะได้รับแสงแดดอย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งถ้าปลูกไว้ใกล้แหล่งน้ำได้ ก็จะดีมาก ในเรื่องของการรดน้ำ ควรให้น้ำในระบบน้ำหยดหรือรดน้ำ หรือถ้าพื้นที่ปลูกไม่มากก็ให้รดอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง โดยช่วงหน้าร้อนควรจะรดตอนแดดจัด ๆ แต่ถ้าเป็นหน้าฝน อาจจะเปลี่ยนเป็นรดน้ำวันเว้นวัน หรือรดแค่ในวันที่ฝนไม่ตกก็ได้ นอกจากนี้กุหลาบยังเป็นพืชที่ถูกรบกวนจากศัตรูพืชและเชื้อราได้ง่าย ทางที่ดีควรหมั่นตรวจดูแลต้นกุหลาบเป็นประจำ ถ้าเมื่อไรที่พบแมลงให้รีบกำจัดทิ้งทันที
4. ดอกขจร
อีกหนึ่งดอกไม้จัดสวนที่หลายคนนิยมนำมาทานก็คือ ดอกขจร ไม้เลื้อยเถาเล็ก ที่มีน้ำยางสีขาว ดอกสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 10-20 ดอก โดยปลายกลีบของดอกจะแยกเป็น 5 แฉก และเมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็นจนถึงกลางคืน ซึ่งคนไทยก็นิยมนำไปทำเป็นเมนูอาหารกันหลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด เช่น ข้าวต้มดอกขจร ดอกขจรผัดน้ำมันหอย แกงจืดดอกขจร และยำดอกขจร เพราะนอกจากดอกขจรจะให้รสชาติอร่อยแล้ว ยังให้ประโยชน์ดี ๆ ต่อสุขภาพ ทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ และแก้ท้องเฟ้อ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบำรุงสายตา เลือด ตับ และฮอร์โมนของผู้หญิงอีกด้วย เรียกได้ว่าใครที่ปลูกดอกขจรไว้ที่บ้าน เท่ากับได้ประโยชน์คูณ 3 เลยล่ะ
วิธีปลูก : การปลูกต้นขจร ควรปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ผลดีที่สุดหากปลูกในดินร่วนปนทราย โดยขุดหลุมลึก 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี จากนั้นนำกิ่งลงปลูกและกลบให้แน่น สามารถรดน้ำได้วันละ 1-2 ครั้ง เพราะจริง ๆ แล้วขจรเป็นพืชที่ชอบแดดจัดและไม่ต้องการน้ำมากเท่าไร ส่วนใครที่อยากขยายพันธุ์เพิ่ม ก็สามารถทำได้โดยการปักชำหรือทาบกิ่ง ส่วนเรื่องศัตรูพืช ต้นขจรเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน แต่ก็ต้องคอยระวังเรื่องเพลี้ยไฟมาเกาะบ้าง
5. ดอกเข็ม
ต้นเข็ม เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 3-5 เมตร มีดอกขนาดเล็กปลายแหลม กลีบสีแดง สีชมพู สีเหลือง สีส้ม หรือสีขาวรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าดอกเข็มเป็นดอกประจำวันไหว้ครู แต่จุดเด่นอีกอย่างของดอกเข็ม ก็คือน้ำหวานที่หลาย ๆ คนชอบดูดเล่น รวมถึงการนำดอกเข็มมาชุมแป้งทอด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตด้วย โดยการทานดอกเข็มก็ไม่ใช่แค่อร่อย หอมหวานอย่างเดียว แต่ดอกเข็มยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ แก้อาการเบื่ออาหาร บรรเทาอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด และลดความดันโลหิตได้ด้วย
วิธีปลูก : ต้นเข็มสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและในแปลง โดยการปลูกต้นเข็มในกระถาง ก็ให้ใช้กระถางทรงสูงใส่ดินร่วมผสมปุ๋ยและแกลบ วางเอาไว้ในที่ที่มีแสงแดด ที่สำคัญคือควรเปลี่ยนกระถางและดินเมื่อต้นมีอายุครบ 1 ปี สำหรับการปลูกในแปลง แต่ละหลุมควรมีขนาด 30X30X30 เซนติเมตร และปลูกด้วยดินร่วมผสมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่ยาก เพียงแค่รดน้ำสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เนื่องจากพืชชนิดนี้ชอบแสงแดดจัด ๆ ดังนั้นควรใส่ใจในเรื่องพื้นที่ปลูก ที่จะโดนแสงมากกว่า
6. ดอกบัว
บัว เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินในน้ำ แต่มีก้านบางส่วนและดอกจะชูขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนดอกมีด้วยกันหลายสี ต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เป็นดอกไม้ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำไปไหว้พระ หรือนำดอกบัวไปตากแห้งมาชงดื่ม ซึ่งช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ลดน้ำหนัก และสร้างเสริมระบบสืบพันธุ์ได้ หรือหากใครสนใจอยากจะใช้กลีบดอกบัวปรุงเป็นอาหาร ก็สามารถทำเป็นเมนูเมี่ยงกลีบบัว ได้ ส่วนอื่น ๆ ก็สามารถนำมารับประทานได้ เช่น เม็ดบัว สำหรับใบบัวก็นำไปห่ออาหารได้ เช่น ข้าวห่อใบบัว เป็นต้น
วิธีปลูก : การปลูกบัวปลูกได้ทั้งในดินแห้งและดินโคลน โดยปลูกได้ทั้งดินร่วนและดินเหนียวที่มีหน้าดินเป็นโคลนตมไม่หนา แต่บัวจะเจริญเติบโตในดินเหนียวได้ดีกว่า หากปลูกในดินร่วนก็ให้ใบเยอะกว่า โดยจะใช้วิธีแยกเหง้า ยาวประมาณ 2-3 ข้อ มีตาประมาณ 2-3 ตา แล้วนำปักลงไปในหลุมหรือในดิน แต่ให้ข้อเหนือดินประมาณ 1-2 ข้อ จากนั้นก็ปล่อยน้ำให้สูงกว่าปลายเหง้าบัวเล็กน้อย จากนั้นรอให้ต้นบัวเริ่มงอกและตั้งตัวได้จึงปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
7. ดอกเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้า เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยว รูปไข่ ส่วนดอกประกอบไปด้วยใบประดับ ช่อดอก และใบดอกหลากสี เช่น สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง สีส้ม ส่วนที่คนส่วนใหญ่นำมาทานชุบแป้งทอด ทว่าหากอยากให้การทานดอกเฟื่องฟ้ามีประโยชน์แบบสุด ๆ ขอแนะนำให้ทานดอกสีแดง สีชมพู หรือสีม่วง เพราะดอกเฟื่องฟ้าทั้ง 3 สีนี้ จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งอยู่สูง
วิธีปลูก : เฟื่องฟ้าสามารถปลูกได้หลายวิธี แต่ที่นิยมที่สุดคือการปักชำ เนื่องจากประหยัด เร็ว และง่าย โดยวิธีการปลูกจะนำกิ่งแก่ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ควรตัดในช่วงที่ยังไม่ออกดอก มาปักลงในดินผสมอินทรีย์วัตถุ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย หรือขี้วัว หลังจากนั้นก็เพียงแค่รดน้ำวันละครั้งทุกวัน เพียงไม่นานต้นเฟื่องฟ้าก็จะเริ่มโตแล้ว ทว่าควรระวังอย่าให้มีน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นเฟื่องฟ้าไม่ออกดอกหรือตายได้ แล้วก็อย่าลืมหมั่นกำจัดหนอน เพลี้ยอ่อน และผีเสื้อกลางคืนที่อาจมารบกวนต้นเฟื่องฟ้าด้วย
8. ดอกโสน
โสน มีอีกชื่อหนึ่งซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า ผักฮองแฮง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งค่อนข้างน้อย เปลือกไม้สามารถลอกเป้นเส้นใช้แทนเชือกได้ ใบดูคล้ายใบมะขาม ในฝักเรียวยาวคล้ายถั่วฝักนาว มีดอกมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายดอกแค แต่มีขนาดเล็กกว่า และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายประเภททั้งผัด แกง ทอด เช่น ไข่เจียวดอกโสน ลาบดอกโสน แกงดอกโสน ยำดอกโสน ดอกโสนผัดน้ำมันหอย เป็นต้น
วิธีปลูก : โสนสามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่หากจะปลูกทำได้โดยการเพาะเมล็ด โดยควรปลูกในดินชื้น พื้นที่ลุ่ม ริมน้ำ เพราะต้นโสนจะเติบโตเองได้ดีจากฝนที่ตกหรือการซึมของบ่อน้ำ ทว่าถ้าบ้านไม่ใครมีแหล่งน้ำ ก็สามารถปลูกโสนในดินที่มีความชื้นน้อยได้เหมือนกัน แต่ต้องคอยรดน้ำบ่อยหน่อย หากใครอยากให้ต้นโสนเจริญงอกงามได้ดี นักวิจัยจากศูนย์พันธ์วิศวกรรมแห่งชาติก็แนะนำว่า ให้นำเมล็ดโสไปน้ำร้อนสักประประมาณ 10 นาทีก่อน จากนั้นก็นำไปแช่ในน้ำกรดแบตเตอร์รี่สัก 30 นาที เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้โสนงอกงามพร้อมกัน อีกทั้งยังแก้ปัญหาดินเค็มและช่วยกำจัดศัตรูพืชด้วย
9. ดอกอัญชัน
อัญชันเป็นไม้เลื้อย เถาอ่อนและมีขนาดเล็ก เลื้อยไปได้ไกลถึง 20 ฟุต ใบค่อนข้างกลม มีขนปกคลุมทั่ว ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีน้ำเงิน สีม่วง หรือสีขาว มีทั้งแบบดอกชั้นเดียวและแบบดอกซ้อนกัน จุดเด่นอยู่ที่การนำอัญชันมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร ช่วยให้อาหารมีสีสันน่าทานขึ้น รวมถึงการนำดอกไปทำน้ำอัญชัน ก็อร่อยและได้ประโยชน์ไม่แพ้เครื่องดื่มอื่น ๆ ด้วย
วิธีปลูก : แค่มีรั้วหรือไม้ในต้นอัญชันเลื้อยก็สามารถนำต้นกล้าหรือเมล็ดมาปลูกต้นอัญชันที่บ้านได้แล้ว เพราะพืชชนิดนี้เป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายมาก แถมออกดอกตลอดทั้งปี และไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงมารบกวน แต่หากใครอยากจะปลูกอัญชันให้เจริญเติบโตได้ดี แนะนำให้เพาะเมล็ดในดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยหมักกับปุ๋ยคอก แล้วรดน้ำให้ชุ่มประมาณวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น รวมถึงควรปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดด แต่ไม่จัดเกินไป ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะเริ่มออกดอก
นอกจากดอกไม้จัดสวนนี้จะช่วยให้สวนที่บ้านของเราด้วยได้แล้ว ยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย แถมมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย แหม...น่าปลูกทุกต้นเลยนะเนี่ย ว่าแล้วก็ไปจัดสวนพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์,
- สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล,
- ดอกไม้กินได้, ilovekaset
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/ดอกทานตะวัน
- puechkaset/กุหลาบ
- panmai/ดอกขจร
- สวนมีสุข/ดอกขจร
- vichakaset/ดอกขจร
- ponmam/ดอกบัว
- puechkaset/การปลูกบัวหลวง
- puechkaset/ดอกเฟื่องฟ้า
- panmai/ดอกโสน
- puechkaset/ดอกโสน
- พืชเกษตร/ดอกอัญชัน
- ไม้ประดับออนไลน์/ดอกอัญชัน
ดอกไม้กินได้ มีอะไรบ้าง ? คำถามยอดฮิตสำหรับคนที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเอาไว้ที่บ้าน เพราะนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ดอกไม้ก็ดูเหมือนจะไม่ได้มีประโยชน์สักเท่าไร แต่รู้ไหมคะว่าจริง ๆ แล้ว ดอกไม้จัดสวนของเราสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ แถมมีประโยชน์เพียบ เอาเป็นว่าจะมีดอกไม้อะไรที่ควรค่าแก่การรับประทาน หรือดอกไม้ชนิดไหนเอาไปทำอะไรอร่อยบ้าง เรามาไขคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ชบาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่เรียงสลับ ขอบใบคล้ายจักฟันเลื่อย ส่วนดอกจะออกดอกตามซอกใบ โดยมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ลักษณะและสีของกลีบดอกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งมีสีแดง สีชมพู สีส้ม สีเหลือง และสีขาว เกสรชูสูงเห็นเด่นชัดอยู่เหนือกลีบดอก นิยมนำดอกชบามาทำให้แห้ง แล้วสกัดเป็นชาหรือเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ เพราะดอกชบามีฤทธิ์ช่วยลดไข้และขับเสมหะ บำรุงเส้นผมและผิวพรรณ นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกชบาไปชุบแป้งทอดหรือทำเป็นสลัดก็ได้
วิธีปลูก : ชบาเป็นพืชที่ปลูกง่าย เพราะสามารถขึ้นได้ในดินทุกสภาพ แต่ถ้าอยากให้เจริญงอกงามได้ดี ควรปลูกบนดินร่วนที่มีการระบายน้ำสะดวก และวางเอาไว้ในที่ที่ต้นชบาจะโดนแสงแดดเยอะ ๆ ด้วย ส่วนการรดน้ำ ก็ให้รดแค่เพียงวันละครั้ง และหากวันไหนมีฝนตกแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำซ้ำอีก เพราะพืชชนิดนี้ไม่ชอบน้ำมาก ที่สำคัญอย่าปล่อยให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป ส่วนใครจะขยายพันธุ์เพิ่ม ต้นชบาสามารถทำได้ทั้งวิธีปักชำ เสียบยอด และติดตาค่ะ
2. ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน ดอกไม้ที่มีเกสรขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยกลีบดอกสีเหลือง และมักจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ (ยกเว้นดอกที่แก่แล้ว) จึงทำให้ได้ชื่อว่าดอกทานตะวัน เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 13-26 เซนติเมตร ความสูงลำต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายหยักฟันเลื่อย ส่วนของดอกไม้ที่นำมารับประทานกันมากคือ เมล็ด โดยนำไปอบแห้งพร้อมแต่งรสไว้รับประทานเล่น และสกัดเป็นน้ำมันดอกทานตะวันสำหรับทำอาหาร นอกจากนี้ในส่วนดอกของดอกทานตะวันยังสามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย
วิธีปลูก : การปลูกทานตะวันสามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่าดอกทานตะวันจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีต่อดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังทนต่อความร้อนได้ดี ฉะนั้นหากคิดจะปลูกก็ควรจัดหาพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด ๆ หรือปลูกบริเวณกลางแจ้ง และปลูกด้วยดินร่วนปนดินทราย เพราะระบายน้ำได้ดีด้วย ส่วนเรื่องการรดน้ำ ก็ควรรดให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องแฉะ เพราะทานตะวันเป็นพืชที่ต้องการน้ำในระดับปานกลาง
3. กุหลาบ
เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักดอกกุหลาบ ดอกไม้แห่งความรักที่มีสีสันสดใสอย่าง สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง ฯลฯ ซึ่งต้องบอกว่านอกจากจะนำมาจัดสวน ตกแต่งบ้าน หรือมอบให้คนรักในโอกาสสำคัญแล้ว ดอกกุหลาบยังนำมารับประทานได้ โดยเมนูเด็ดของดอกกุหลาบสำหรับคนไทย ต้องยกให้การนำกลีบดอกกุหลาบไปชุบแป้งทอด หรือนำไปใส่ในแกงต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มสีสัน นอกจากนี้ก็เป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำไปสกัดเป็นชา
วิธีปลูก : แม้กุหลาบจะออกดอกได้ดีในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว แต่ก็สามารถปลูกดอกกุหลาบได้ทั้งปี โดยดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วน ดินเหนียวผสมดินร่วน หรือดินเหนียวผสมทราย และแน่นอนว่าดินต้องระบายน้ำได้ดี แถมพื้นที่ปลูกต้องมั่นใจว่ากุหลาบจะได้รับแสงแดดอย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งถ้าปลูกไว้ใกล้แหล่งน้ำได้ ก็จะดีมาก ในเรื่องของการรดน้ำ ควรให้น้ำในระบบน้ำหยดหรือรดน้ำ หรือถ้าพื้นที่ปลูกไม่มากก็ให้รดอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง โดยช่วงหน้าร้อนควรจะรดตอนแดดจัด ๆ แต่ถ้าเป็นหน้าฝน อาจจะเปลี่ยนเป็นรดน้ำวันเว้นวัน หรือรดแค่ในวันที่ฝนไม่ตกก็ได้ นอกจากนี้กุหลาบยังเป็นพืชที่ถูกรบกวนจากศัตรูพืชและเชื้อราได้ง่าย ทางที่ดีควรหมั่นตรวจดูแลต้นกุหลาบเป็นประจำ ถ้าเมื่อไรที่พบแมลงให้รีบกำจัดทิ้งทันที
4. ดอกขจร
อีกหนึ่งดอกไม้จัดสวนที่หลายคนนิยมนำมาทานก็คือ ดอกขจร ไม้เลื้อยเถาเล็ก ที่มีน้ำยางสีขาว ดอกสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 10-20 ดอก โดยปลายกลีบของดอกจะแยกเป็น 5 แฉก และเมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็นจนถึงกลางคืน ซึ่งคนไทยก็นิยมนำไปทำเป็นเมนูอาหารกันหลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด เช่น ข้าวต้มดอกขจร ดอกขจรผัดน้ำมันหอย แกงจืดดอกขจร และยำดอกขจร เพราะนอกจากดอกขจรจะให้รสชาติอร่อยแล้ว ยังให้ประโยชน์ดี ๆ ต่อสุขภาพ ทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ และแก้ท้องเฟ้อ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบำรุงสายตา เลือด ตับ และฮอร์โมนของผู้หญิงอีกด้วย เรียกได้ว่าใครที่ปลูกดอกขจรไว้ที่บ้าน เท่ากับได้ประโยชน์คูณ 3 เลยล่ะ
วิธีปลูก : การปลูกต้นขจร ควรปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ผลดีที่สุดหากปลูกในดินร่วนปนทราย โดยขุดหลุมลึก 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี จากนั้นนำกิ่งลงปลูกและกลบให้แน่น สามารถรดน้ำได้วันละ 1-2 ครั้ง เพราะจริง ๆ แล้วขจรเป็นพืชที่ชอบแดดจัดและไม่ต้องการน้ำมากเท่าไร ส่วนใครที่อยากขยายพันธุ์เพิ่ม ก็สามารถทำได้โดยการปักชำหรือทาบกิ่ง ส่วนเรื่องศัตรูพืช ต้นขจรเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน แต่ก็ต้องคอยระวังเรื่องเพลี้ยไฟมาเกาะบ้าง
5. ดอกเข็ม
ต้นเข็ม เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 3-5 เมตร มีดอกขนาดเล็กปลายแหลม กลีบสีแดง สีชมพู สีเหลือง สีส้ม หรือสีขาวรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าดอกเข็มเป็นดอกประจำวันไหว้ครู แต่จุดเด่นอีกอย่างของดอกเข็ม ก็คือน้ำหวานที่หลาย ๆ คนชอบดูดเล่น รวมถึงการนำดอกเข็มมาชุมแป้งทอด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตด้วย โดยการทานดอกเข็มก็ไม่ใช่แค่อร่อย หอมหวานอย่างเดียว แต่ดอกเข็มยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ แก้อาการเบื่ออาหาร บรรเทาอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด และลดความดันโลหิตได้ด้วย
วิธีปลูก : ต้นเข็มสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและในแปลง โดยการปลูกต้นเข็มในกระถาง ก็ให้ใช้กระถางทรงสูงใส่ดินร่วมผสมปุ๋ยและแกลบ วางเอาไว้ในที่ที่มีแสงแดด ที่สำคัญคือควรเปลี่ยนกระถางและดินเมื่อต้นมีอายุครบ 1 ปี สำหรับการปลูกในแปลง แต่ละหลุมควรมีขนาด 30X30X30 เซนติเมตร และปลูกด้วยดินร่วมผสมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ส่วนการดูแลรักษาก็ไม่ยาก เพียงแค่รดน้ำสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เนื่องจากพืชชนิดนี้ชอบแสงแดดจัด ๆ ดังนั้นควรใส่ใจในเรื่องพื้นที่ปลูก ที่จะโดนแสงมากกว่า
6. ดอกบัว
บัว เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินในน้ำ แต่มีก้านบางส่วนและดอกจะชูขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนดอกมีด้วยกันหลายสี ต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เป็นดอกไม้ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำไปไหว้พระ หรือนำดอกบัวไปตากแห้งมาชงดื่ม ซึ่งช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ลดน้ำหนัก และสร้างเสริมระบบสืบพันธุ์ได้ หรือหากใครสนใจอยากจะใช้กลีบดอกบัวปรุงเป็นอาหาร ก็สามารถทำเป็นเมนูเมี่ยงกลีบบัว ได้ ส่วนอื่น ๆ ก็สามารถนำมารับประทานได้ เช่น เม็ดบัว สำหรับใบบัวก็นำไปห่ออาหารได้ เช่น ข้าวห่อใบบัว เป็นต้น
วิธีปลูก : การปลูกบัวปลูกได้ทั้งในดินแห้งและดินโคลน โดยปลูกได้ทั้งดินร่วนและดินเหนียวที่มีหน้าดินเป็นโคลนตมไม่หนา แต่บัวจะเจริญเติบโตในดินเหนียวได้ดีกว่า หากปลูกในดินร่วนก็ให้ใบเยอะกว่า โดยจะใช้วิธีแยกเหง้า ยาวประมาณ 2-3 ข้อ มีตาประมาณ 2-3 ตา แล้วนำปักลงไปในหลุมหรือในดิน แต่ให้ข้อเหนือดินประมาณ 1-2 ข้อ จากนั้นก็ปล่อยน้ำให้สูงกว่าปลายเหง้าบัวเล็กน้อย จากนั้นรอให้ต้นบัวเริ่มงอกและตั้งตัวได้จึงปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
7. ดอกเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้า เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบเดี่ยว รูปไข่ ส่วนดอกประกอบไปด้วยใบประดับ ช่อดอก และใบดอกหลากสี เช่น สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง สีส้ม ส่วนที่คนส่วนใหญ่นำมาทานชุบแป้งทอด ทว่าหากอยากให้การทานดอกเฟื่องฟ้ามีประโยชน์แบบสุด ๆ ขอแนะนำให้ทานดอกสีแดง สีชมพู หรือสีม่วง เพราะดอกเฟื่องฟ้าทั้ง 3 สีนี้ จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งอยู่สูง
วิธีปลูก : เฟื่องฟ้าสามารถปลูกได้หลายวิธี แต่ที่นิยมที่สุดคือการปักชำ เนื่องจากประหยัด เร็ว และง่าย โดยวิธีการปลูกจะนำกิ่งแก่ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ควรตัดในช่วงที่ยังไม่ออกดอก มาปักลงในดินผสมอินทรีย์วัตถุ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย หรือขี้วัว หลังจากนั้นก็เพียงแค่รดน้ำวันละครั้งทุกวัน เพียงไม่นานต้นเฟื่องฟ้าก็จะเริ่มโตแล้ว ทว่าควรระวังอย่าให้มีน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นเฟื่องฟ้าไม่ออกดอกหรือตายได้ แล้วก็อย่าลืมหมั่นกำจัดหนอน เพลี้ยอ่อน และผีเสื้อกลางคืนที่อาจมารบกวนต้นเฟื่องฟ้าด้วย
8. ดอกโสน
โสน มีอีกชื่อหนึ่งซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า ผักฮองแฮง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งค่อนข้างน้อย เปลือกไม้สามารถลอกเป้นเส้นใช้แทนเชือกได้ ใบดูคล้ายใบมะขาม ในฝักเรียวยาวคล้ายถั่วฝักนาว มีดอกมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายดอกแค แต่มีขนาดเล็กกว่า และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายประเภททั้งผัด แกง ทอด เช่น ไข่เจียวดอกโสน ลาบดอกโสน แกงดอกโสน ยำดอกโสน ดอกโสนผัดน้ำมันหอย เป็นต้น
วิธีปลูก : โสนสามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่หากจะปลูกทำได้โดยการเพาะเมล็ด โดยควรปลูกในดินชื้น พื้นที่ลุ่ม ริมน้ำ เพราะต้นโสนจะเติบโตเองได้ดีจากฝนที่ตกหรือการซึมของบ่อน้ำ ทว่าถ้าบ้านไม่ใครมีแหล่งน้ำ ก็สามารถปลูกโสนในดินที่มีความชื้นน้อยได้เหมือนกัน แต่ต้องคอยรดน้ำบ่อยหน่อย หากใครอยากให้ต้นโสนเจริญงอกงามได้ดี นักวิจัยจากศูนย์พันธ์วิศวกรรมแห่งชาติก็แนะนำว่า ให้นำเมล็ดโสไปน้ำร้อนสักประประมาณ 10 นาทีก่อน จากนั้นก็นำไปแช่ในน้ำกรดแบตเตอร์รี่สัก 30 นาที เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้โสนงอกงามพร้อมกัน อีกทั้งยังแก้ปัญหาดินเค็มและช่วยกำจัดศัตรูพืชด้วย
9. ดอกอัญชัน
อัญชันเป็นไม้เลื้อย เถาอ่อนและมีขนาดเล็ก เลื้อยไปได้ไกลถึง 20 ฟุต ใบค่อนข้างกลม มีขนปกคลุมทั่ว ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีน้ำเงิน สีม่วง หรือสีขาว มีทั้งแบบดอกชั้นเดียวและแบบดอกซ้อนกัน จุดเด่นอยู่ที่การนำอัญชันมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร ช่วยให้อาหารมีสีสันน่าทานขึ้น รวมถึงการนำดอกไปทำน้ำอัญชัน ก็อร่อยและได้ประโยชน์ไม่แพ้เครื่องดื่มอื่น ๆ ด้วย
วิธีปลูก : แค่มีรั้วหรือไม้ในต้นอัญชันเลื้อยก็สามารถนำต้นกล้าหรือเมล็ดมาปลูกต้นอัญชันที่บ้านได้แล้ว เพราะพืชชนิดนี้เป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายมาก แถมออกดอกตลอดทั้งปี และไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงมารบกวน แต่หากใครอยากจะปลูกอัญชันให้เจริญเติบโตได้ดี แนะนำให้เพาะเมล็ดในดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยหมักกับปุ๋ยคอก แล้วรดน้ำให้ชุ่มประมาณวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น รวมถึงควรปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดด แต่ไม่จัดเกินไป ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะเริ่มออกดอก
นอกจากดอกไม้จัดสวนนี้จะช่วยให้สวนที่บ้านของเราด้วยได้แล้ว ยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย แถมมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย แหม...น่าปลูกทุกต้นเลยนะเนี่ย ว่าแล้วก็ไปจัดสวนพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์,
- สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล,
- ดอกไม้กินได้, ilovekaset
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/ดอกทานตะวัน
- puechkaset/กุหลาบ
- panmai/ดอกขจร
- สวนมีสุข/ดอกขจร
- vichakaset/ดอกขจร
- ponmam/ดอกบัว
- puechkaset/การปลูกบัวหลวง
- puechkaset/ดอกเฟื่องฟ้า
- panmai/ดอกโสน
- puechkaset/ดอกโสน
- พืชเกษตร/ดอกอัญชัน
- ไม้ประดับออนไลน์/ดอกอัญชัน