ทำบัตรประชาชนใหม่ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำนอกเขตได้ไหม
จะไปทำวันเสาร์ได้หรือเปล่า แล้วถ้าบัตรหาย บัตรหมดอายุ
ต้องไปทำใหม่ภายในกี่วัน กฎหมายสำคัญที่เราควรศึกษา
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่คนไทยทุกคนต้องพกติดตัวไว้ เพราะนอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตนแล้ว ก็ยังใช้ในการขอรับบริการหรือติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการประกอบธุรกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยนะคะ แต่ทว่าบางคนอาจเผลอทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือบัตรหมดอายุไป เลยต้องไปทำใหม่ และอาจสงสัยว่า หากจะไปทำบัตรประชาชนใหม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง จำเป็นต้องไปทำที่ว่าการอำเภอในเขตที่อาศัยอยู่หรือไม่ แล้วสามารถไปทำวันเสาร์ได้ไหม เรารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัตรประจำตัวประชาชนมาบอกกันตรงนี้ค่ะ
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1. มีสัญชาติไทย
2. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
3. มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ (อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปี จะขอทำบัตรประชาชนก็สามารถทำได้)
ใครคือผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1. สมเด็จพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
ทั้งนี้ บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุใช้ได้ 6 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกบัตรไปจนครบ 6 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถ้าวันที่บัตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ให้นับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้นหรือปีถัดไป
แต่หากผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ แต่บัตรยังไม่หมดอายุ สามารถใช้ต่อไปได้จนตลอดชีวิต
ทำบัตรประชาชนที่ไหน วันเสาร์ ทำได้ไหม
หากใครจะทำบัตรประชาชนใหม่ ไม่จำเป็นต้องไปที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ก็ได้นะคะ เพราะสามารถไปยื่นเรื่องขอทำบัตรใหม่นอกเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยได้ ณ สถานที่ต่อไปนี้
1. สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, หน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ของกรมการปกครอง, สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนคนไทยในต่างประเทศสามารถขอทำบัตรประชาชนได้ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
โดยจะให้บริการในวัน-เวลาราชการ แต่สำนักงานเขตบางแห่งอาจเปิดให้บริการในวันเสาร์ด้วย ซึ่งต้องสอบถามไปยังสำนักงานเขตที่เราต้องการไปทำบัตรประชาชนก่อน เพราะบางแห่งจะเปิดให้บริการเฉพาะครึ่งวันเช้าเท่านั้น
2. จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่องานทะเบียนราษฎร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนประวัติ และบริการทำบัตรประจำตัวประชาชน โดยปัจจุบันเปิดให้บริการตามจุดต่าง ๆ คือ
- สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต ภายในสถานีรถไฟฟ้า โทร. 02-2725346
- สถานีรถไฟฟ้า BTS สยาม บริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสยามกับห้างสรรพสินค้าพารากอน โทร. 02-2500125-6
- สถานีรถไฟฟ้า BTS พร้อมพงษ์ ภายในสถานีรถไฟฟ้า โทร. 02-6635203-4
- สถานีรถไฟฟ้า BTS อุดมสุข บริเวณทางเดินก่อนเข้าภายในรถไฟฟ้า โทร. 02-3993499
- สถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ บริเวณทางเดินก่อนเข้าภายในรถไฟฟ้า โทร. 02-4401604
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ 10.00-19.00 น. ส่วนวันหยุดและวันนักขัตฤกษ์ ให้บริการเวลา 10.00-18.00 น. (หยุดพักกลางวันเวลา 12.00-13.00 น.)
นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการตามสถานที่สำคัญและห้างสรรพสินค้า คือ
- ศาลาว่าการ กทม. ชั้น 1 เปิดบริการเวลา 08.30-16.30 น. เฉพาะวันและเวลาราชการ โทร. 02-2212141-69 ต่อ 1560-62
- ห้างสรรพสินค้าซีคอน บางแค ชั้น B ติดร้าน Power Buy เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4582507
- ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ชั้น P บริเวณทางเข้า-ออก ลานจอดรถ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4547395
- ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ชั้น B โซน T-Plaza เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4356066
- ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ชั้น B หน้าสถาบันสอนดนตรีจุไรรัตน์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-1304295
- ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์พาร์ค ชั้น G ติดเคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารเครื่องบิน หลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-3259079
- ห้างสรรพสินค้าเซน ชั้น 7 บริเวณชั้นลอย (เปิดบริการเวลา 11.00-19.00 น. เฉพาะวันและเวลาราชการ) โทร. 02-2153510 ต่อ 6038
ทั้งนี้ จุดบริการด่วนมหานคร จะเปิดให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชนเฉพาะกรณีต่อไปนี้ - ขอมีบัตรครั้งแรก (เด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป)
- บัตรเดิมหมดอายุ
- บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
- เปลี่ยนที่อยู่ ชื่อตัว ชื่อสกุล
- คัดสำเนารายการบัตร
แต่จะไม่รับทำบัตรกรณีที่ต้องมีการสอบสวนตามกฎหมาย เช่น บัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย ซึ่งกรณีนี้ต้องไปทำที่สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
ทำบัตรประชาชนใหม่ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ในการทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่ละกรณี จะใช้เอกสารต่างกัน คือ
กรณีทำบัตรประชาชนครั้งแรก
เมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน (ไม่เสียค่าธรรมเนียม) หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท โดยใช้เอกสารดังนี้
1. สูติบัตร (ฉบับจริง) หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. หากเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อมาแสดงด้วย
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4. กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา-มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
* บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
ต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชนใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ ทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท โดยนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
2. หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลายให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้คือ
1. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
2. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตร
หากมีการแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล จะต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่แก้ไขชื่อในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
2. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือบัตรถูกทำลาย
หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท เอกสารที่ต้องใช้คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
2. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชน
เช่น ภิกษุ สามเณร สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้มายื่นต่อเจ้าหน้าที่
1. กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมณศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
2. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ
กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยใช้เอกสารคือ
1. หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี เป็นต้น
2. หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานแล้ว ต้องนำเจ้าบ้านและบุคคลน่าเชื่อถือมารับรองด้วย
กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้านผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้ แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ โดยต้องนำบัตรประชาชนใบเก่ามายื่นขอทำใหม่
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท กรณีผู้มีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี แม้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัตรใหม่ แต่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม และต้องนำหลักฐานต่อไปนี้มายื่นต่อเจ้าหน้าที่
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
3. หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง
กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
ผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
1. เพิ่มชื่อกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ใช้หลักฐานสูติบัตร และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
2. เพิ่มชื่อกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน ใช้หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
กรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
จะยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากเกินกำหนด 60 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ซึ่งต้องใช้หลักฐานคือ
1. กรณีได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทยแล้วแต่กรณี
2. หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
ขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม
สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมโดยใช้หลักฐานคือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
2. หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า เป็นต้น
ทำบัตรประชาชนใหม่ก่อนหมดอายุได้ไหม หรือต้องทำหลังหมดอายุ
หากบัตรประชาชนของเราใกล้หมดอายุแล้วภายใน 60 วัน เราสามารถไปขอมีบัตรใหม่ก่อนบัตรเดิมหมดอายุได้ค่ะ แต่หากบัตรเดิมหมดอายุแล้ว เราก็จะต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชนใบใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากช้าเกิน 60 วัน จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
บัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไร
เมื่อทำบัตรประชาชนหาย เราต้องขอออกบัตรใหม่ โดยไปแจ้งบัตรประชาชนหายต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต และต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากเกิน 60 วันต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ทั้งนี้ก็อย่าลืมนำเอกสารที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการเป็นผู้ออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง ไปยื่นเป็นหลักฐานด้วยนะคะ แต่หากไม่มีเอกสารดังกล่าว ให้นำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปให้การรับรอง
ทำบัตรประชาชนหาย ต้องแจ้งความตำรวจไหม ?
หากทำบัตรประชาชนหายก็สามารถไปทำใหม่ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอได้เลย โดยไม่ต้องมีใบแจ้งความจากตำรวจ แต่ทว่า เราก็สามารถไปแจ้งลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจได้ เพื่อป้องกันกรณีมิจฉาชีพนำบัตรประชาชนไปกระทำทุจริต เช่น นำไปเปิดบัญชีธนาคารหรือนำไปกระทำผิดโดยที่เราไม่รู้เรื่อง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับเราได้
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับเกี่ยวกับการขอมีบัตรประชาชนที่ควรรู้
ประชาชนสามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในกรณี
- ทำบัตรครั้งแรก
- ขอออกบัตรใหม่ทดแทนบัตรเดิมที่หมดอายุ
- ผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปีขอมีบัตร
- กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
- กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ส่วนกรณีอื่น ๆ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2559 คือ
- บัตรหมดอายุเกิน 60 วัน เสียค่าปรับ 100 บาท
- ขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เนื่องจากบัตรชำรุด หรือเปลี่ยนที่อยู่ หรือเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนชื่อสกุล เสียค่าธรรมเนียมออกบัตรใหม่ 100 บาท
- ขอออกบัตรในกรณีทำบัตรหาย หรือถูกทำลาย เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
- บัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
- กรณีเปลี่ยนบัตรใหม่ เพราะบัตรชำรุด เปลี่ยนชื่อ สกุล ที่อยู่ หรือทำบัตรหาย บัตรชำรุด จะต้องยื่นขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน หากเกิน 60 วัน จะเสียค่าปรับ 100 บาท
- การออกใบแทนใบรับ เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
- การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
ทั้งนี้ยกเว้นค่าธรรมเนียมกรณีกระทรวงมหาดไทยประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรได้ภายใน 60 วัน
การทำบัตรประชาชนเป็นกฎหมายสำคัญที่เราควรศึกษาไว้นะคะ เพราะในช่วงชีวิตหนึ่งเราคงได้ทำบัตรประชาชนอยู่หลายครั้ง ถ้าศึกษาให้เข้าใจก็จะได้เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปทำบัตร และจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับเพราะเกินระยะเวลา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่คนไทยทุกคนต้องพกติดตัวไว้ เพราะนอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตนแล้ว ก็ยังใช้ในการขอรับบริการหรือติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการประกอบธุรกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยนะคะ แต่ทว่าบางคนอาจเผลอทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือบัตรหมดอายุไป เลยต้องไปทำใหม่ และอาจสงสัยว่า หากจะไปทำบัตรประชาชนใหม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง จำเป็นต้องไปทำที่ว่าการอำเภอในเขตที่อาศัยอยู่หรือไม่ แล้วสามารถไปทำวันเสาร์ได้ไหม เรารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัตรประจำตัวประชาชนมาบอกกันตรงนี้ค่ะ
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1. มีสัญชาติไทย
2. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
3. มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ (อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปี จะขอทำบัตรประชาชนก็สามารถทำได้)
ใครคือผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1. สมเด็จพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
ทั้งนี้ บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุใช้ได้ 6 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกบัตรไปจนครบ 6 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถ้าวันที่บัตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ให้นับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้นหรือปีถัดไป
แต่หากผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ แต่บัตรยังไม่หมดอายุ สามารถใช้ต่อไปได้จนตลอดชีวิต
หากใครจะทำบัตรประชาชนใหม่ ไม่จำเป็นต้องไปที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ก็ได้นะคะ เพราะสามารถไปยื่นเรื่องขอทำบัตรใหม่นอกเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยได้ ณ สถานที่ต่อไปนี้
1. สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, หน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ของกรมการปกครอง, สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนคนไทยในต่างประเทศสามารถขอทำบัตรประชาชนได้ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่
โดยจะให้บริการในวัน-เวลาราชการ แต่สำนักงานเขตบางแห่งอาจเปิดให้บริการในวันเสาร์ด้วย ซึ่งต้องสอบถามไปยังสำนักงานเขตที่เราต้องการไปทำบัตรประชาชนก่อน เพราะบางแห่งจะเปิดให้บริการเฉพาะครึ่งวันเช้าเท่านั้น
2. จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่องานทะเบียนราษฎร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนประวัติ และบริการทำบัตรประจำตัวประชาชน โดยปัจจุบันเปิดให้บริการตามจุดต่าง ๆ คือ
- สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต ภายในสถานีรถไฟฟ้า โทร. 02-2725346
- สถานีรถไฟฟ้า BTS สยาม บริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสยามกับห้างสรรพสินค้าพารากอน โทร. 02-2500125-6
- สถานีรถไฟฟ้า BTS พร้อมพงษ์ ภายในสถานีรถไฟฟ้า โทร. 02-6635203-4
- สถานีรถไฟฟ้า BTS อุดมสุข บริเวณทางเดินก่อนเข้าภายในรถไฟฟ้า โทร. 02-3993499
- สถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ บริเวณทางเดินก่อนเข้าภายในรถไฟฟ้า โทร. 02-4401604
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ 10.00-19.00 น. ส่วนวันหยุดและวันนักขัตฤกษ์ ให้บริการเวลา 10.00-18.00 น. (หยุดพักกลางวันเวลา 12.00-13.00 น.)
นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการตามสถานที่สำคัญและห้างสรรพสินค้า คือ
- ศาลาว่าการ กทม. ชั้น 1 เปิดบริการเวลา 08.30-16.30 น. เฉพาะวันและเวลาราชการ โทร. 02-2212141-69 ต่อ 1560-62
- ห้างสรรพสินค้าซีคอน บางแค ชั้น B ติดร้าน Power Buy เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4582507
- ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ชั้น P บริเวณทางเข้า-ออก ลานจอดรถ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4547395
- ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ชั้น B โซน T-Plaza เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-4356066
- ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ชั้น B หน้าสถาบันสอนดนตรีจุไรรัตน์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-1304295
- ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์พาร์ค ชั้น G ติดเคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารเครื่องบิน หลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (เวลาเปิดทำการขึ้นอยู่กับเวลาเปิดทำการของห้างสรรพสินค้า) โทร. 02-3259079
- ห้างสรรพสินค้าเซน ชั้น 7 บริเวณชั้นลอย (เปิดบริการเวลา 11.00-19.00 น. เฉพาะวันและเวลาราชการ) โทร. 02-2153510 ต่อ 6038
ทั้งนี้ จุดบริการด่วนมหานคร จะเปิดให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชนเฉพาะกรณีต่อไปนี้ - ขอมีบัตรครั้งแรก (เด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป)
- บัตรเดิมหมดอายุ
- บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
- เปลี่ยนที่อยู่ ชื่อตัว ชื่อสกุล
- คัดสำเนารายการบัตร
แต่จะไม่รับทำบัตรกรณีที่ต้องมีการสอบสวนตามกฎหมาย เช่น บัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย ซึ่งกรณีนี้ต้องไปทำที่สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
ภาพจาก thaipbs
ในการทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่ละกรณี จะใช้เอกสารต่างกัน คือ
กรณีทำบัตรประชาชนครั้งแรก
เมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน (ไม่เสียค่าธรรมเนียม) หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท โดยใช้เอกสารดังนี้
1. สูติบัตร (ฉบับจริง) หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. หากเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อมาแสดงด้วย
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4. กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา-มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
* บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
ต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชนใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ ทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท โดยนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
2. หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลายให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้คือ
1. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
2. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตร
หากมีการแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล จะต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่แก้ไขชื่อในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
2. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือบัตรถูกทำลาย
หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท เอกสารที่ต้องใช้คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
2. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
เช่น ภิกษุ สามเณร สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องนำเอกสารหลักฐานเหล่านี้มายื่นต่อเจ้าหน้าที่
1. กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมณศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
2. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ
กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยใช้เอกสารคือ
1. หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี เป็นต้น
2. หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานแล้ว ต้องนำเจ้าบ้านและบุคคลน่าเชื่อถือมารับรองด้วย
กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้านผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้ แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ โดยต้องนำบัตรประชาชนใบเก่ามายื่นขอทำใหม่
* เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท กรณีผู้มีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี แม้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัตรใหม่ แต่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม และต้องนำหลักฐานต่อไปนี้มายื่นต่อเจ้าหน้าที่
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
3. หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง
กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
ผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
1. เพิ่มชื่อกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ใช้หลักฐานสูติบัตร และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
2. เพิ่มชื่อกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน ใช้หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
กรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
จะยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากเกินกำหนด 60 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ซึ่งต้องใช้หลักฐานคือ
1. กรณีได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทยแล้วแต่กรณี
2. หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ
ขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม
สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมโดยใช้หลักฐานคือ
1. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
2. หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า เป็นต้น
ทำบัตรประชาชนใหม่ก่อนหมดอายุได้ไหม หรือต้องทำหลังหมดอายุ
หากบัตรประชาชนของเราใกล้หมดอายุแล้วภายใน 60 วัน เราสามารถไปขอมีบัตรใหม่ก่อนบัตรเดิมหมดอายุได้ค่ะ แต่หากบัตรเดิมหมดอายุแล้ว เราก็จะต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชนใบใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากช้าเกิน 60 วัน จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
บัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไร
เมื่อทำบัตรประชาชนหาย เราต้องขอออกบัตรใหม่ โดยไปแจ้งบัตรประชาชนหายต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต และต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากเกิน 60 วันต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ทั้งนี้ก็อย่าลืมนำเอกสารที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการเป็นผู้ออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง ไปยื่นเป็นหลักฐานด้วยนะคะ แต่หากไม่มีเอกสารดังกล่าว ให้นำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปให้การรับรอง
ทำบัตรประชาชนหาย ต้องแจ้งความตำรวจไหม ?
หากทำบัตรประชาชนหายก็สามารถไปทำใหม่ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอได้เลย โดยไม่ต้องมีใบแจ้งความจากตำรวจ แต่ทว่า เราก็สามารถไปแจ้งลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจได้ เพื่อป้องกันกรณีมิจฉาชีพนำบัตรประชาชนไปกระทำทุจริต เช่น นำไปเปิดบัญชีธนาคารหรือนำไปกระทำผิดโดยที่เราไม่รู้เรื่อง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับเราได้
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับเกี่ยวกับการขอมีบัตรประชาชนที่ควรรู้
ประชาชนสามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในกรณี
- ทำบัตรครั้งแรก
- ขอออกบัตรใหม่ทดแทนบัตรเดิมที่หมดอายุ
- ผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปีขอมีบัตร
- กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
- กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ส่วนกรณีอื่น ๆ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2559 คือ
- บัตรหมดอายุเกิน 60 วัน เสียค่าปรับ 100 บาท
- ขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เนื่องจากบัตรชำรุด หรือเปลี่ยนที่อยู่ หรือเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนชื่อสกุล เสียค่าธรรมเนียมออกบัตรใหม่ 100 บาท
- ขอออกบัตรในกรณีทำบัตรหาย หรือถูกทำลาย เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
- บัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
- กรณีเปลี่ยนบัตรใหม่ เพราะบัตรชำรุด เปลี่ยนชื่อ สกุล ที่อยู่ หรือทำบัตรหาย บัตรชำรุด จะต้องยื่นขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน หากเกิน 60 วัน จะเสียค่าปรับ 100 บาท
- การออกใบแทนใบรับ เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
- การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
ทั้งนี้ยกเว้นค่าธรรมเนียมกรณีกระทรวงมหาดไทยประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรได้ภายใน 60 วัน
การทำบัตรประชาชนเป็นกฎหมายสำคัญที่เราควรศึกษาไว้นะคะ เพราะในช่วงชีวิตหนึ่งเราคงได้ทำบัตรประชาชนอยู่หลายครั้ง ถ้าศึกษาให้เข้าใจก็จะได้เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนไปทำบัตร และจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับเพราะเกินระยะเวลา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร