เกษตรกรแนะ ปลูกมะละกอแบบมืออาชีพ ต้นเตี้ย ลูกดก ผลผลิตงาม แถมวิธีคัดพันธุ์ด้วย

เทคนิคแปลงเพศมะละกอ เทคนิคนี้ถือว่าได้ผลครับ แต่ไม่ 100 % ครับ ทดลอง 30 ต้น ได้ทดลองปลูก 30 ต้น เป็นต้นกระเทย 28 ต้น เป็นตัวเมีย 2 ต้น ซึ่งถือว่าโอเค

วิธีทำ

1 ย้ายกล้ามะละกอจากแปลงเพาะ ควรรดน้ำต้นกล้าให้ชุ่ม

2 ให้ตัดรากแก้วของกล้ามะละกอออกประมาณ 2 ข้อนิ้วมือหรือประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งวัดจากปลายรากขึ้นไป

3 นำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรวางต้นมะละกอเอียง 30 -45 องศา หันไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้รับได้รับแสง

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ

โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยแกลบดำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์

การขุดหลุมลึก 30×30 ซ.ม ใช้แกลบดำรองก้นหลุมผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หลุมละ 5 กิโล 1:1:1

ข้อดีของแกลบดำ

1 มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม

2 มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์

3 เมื่อนำไปคลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย

4 ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน แกลบดำ เก็บความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นกรด นิยมใช้แกลบดำผสมในดินเพาะปลูกพืช เนื่องจากว่าจะช่วยเก็บความชื้นในดินและเนื่องจากว่าเป็นแกลบที่สะอาดเพราะผ่านการเผามาแล้วจึงช่วยลดปัญหาการติดโรคของพืชได้

ไม่ควรเอาแกลบดิบรองก้นหลุมเพราะมีธาตุชิส์กอนที่ยังไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะเป็นตัวดึงก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศไปใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งก็คือการแย่งอาหารจากต้นพืชผักของเรานั่นเองฉะนั้น

จึงไม่แนะนำให้เอาแกลบดิบเป็น ส่วนผสมรองพืชก้นหลุม หรือผสมกับวัตถุอินทรีย์ชนิดอื่น เพื่อปลูกต้นไม้ และไม่ควรเอาขี้เถ้ารองก้นหลุม เพราะในขี้เถ้ามีความเป็นด่าง ทำให้พืชต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

วิธีโน้มต้นมะละกอ

มะละกอโน้มต้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนปลูกมะละกอ ต้นเตี้ย ดก และเก็บง่าย ลดการปะทะกับแรงลมวิธีการคือ ให้ปลูกหลุมละ 2 ต้น

หลังจากคัดดอกแล้วตัดให้เหลือ 1 ต้นต่อ 1 หลุม
นับจากยอดลงมาประมาณปล้องที่ 4 – 5 จากยอด ใช้เชือกฝางมัดแล้วดึงให้ต้นมะละกอเอียงประมาณ 45 องศา แล้วมัดติดกับหลักไม้
ปล่อยไว้ประมาณเดือน 4 – 5 มะละกอก็จะเริ่มตั้งต้นขึ้นเองตามธรรมชาติ

พอเข้าเดือนที่ 4 – 5 มะละกอจะเริ่มตั้งต้นขึ้นเองตามธรรมชาติ

วิธีการคัดเลือกดอก

การคัดดอกกะเทย(ลูกยาว) อย่างมืออาชีพ เนื่องจากหลายคนยังสับสนว่าจะดูดอกอย่างไร ระหว่างดอกตัวเมีย ลูกกลม กับดอกกะเทย ลูกยาว

ชาวสวนมะละกอทั่วไปจะดู ต้องให้เห็นดอกชัดเจนซึ่งจะต้องเสียเวลาประมาณเดือนที่ 3-4 ถึงจะเห็นชัดเจนและมีโอกาสพลาดได้

ซ้าย คือ ดอกกะเทย ลูกยาว รูปร่างคล้ายขวดน้ำปลา

ขวา คือ ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี

ดอกกะเทยลูกยาว ตลาดต้องการ ราคาสูง

แต่ชาวสวนมืออาชีพอย่างเราต้องดูดอกแบบดังรูป โดยการฉีกดอกออกดู ซึ่งจะพบว่าภายในกลีบดอกจะมีก้านยาวๆอยู่หลายก้านล้อมรอบรังไข่กลมๆอยู่ โดยปลายก้านจะมีสีเหลืองๆติดอยู่ แบบนี้จะเห็นได้เร็วภายในเดือนที่ 2 ก็เห็นดอกแล้วและสามารถคัดเลือกต้นได้แล้ว

ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี ให้ตัดทิ้งได้เลย ถ้าปลูกเพื่อขาย ถ้าปลูกเพื่อไว้กินเองก็ไม่ต้องตัด

รูปนี้คือ ดอกตัวเมีย ลูกกลม เมื่อฉีกกลีบดอกออกจะพบว่ามีลักษณะกลมอวบรี ดังรูป ซึ่งจะมีแต่รังไข่ ไม่มีก้านปลายสีเหลือง ลูกกลม ตลาดไม่ต้องการ ราคาไม่ดี

ก็จะได้มะละกอต้นเตี๊ยตามที่ท่านต้องการ การเก็บเกี่ยวมะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน

แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม เก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่

วิธีใส่ปุ๋ย การทำน้ำสกัดจากมูลสัตว์

1 น้ำสกัดมูลสัตว์ ได้จากการนำมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโค บรรจุลงในถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร

2 ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถังจะได้น้ำสกัดมูลสัตว์สีน้ำตาลใส

3 บรรจุเก็บไว้ในถังหรือภาชนะที่มีฝาปิด น้ำสกัดมูลสัตว์ที่ได้สามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสัตว์จะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสัตว์แห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัดได้ประมาณ 8 ลิตร

นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำได้ 10 – 20 เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากของมูลสัตว์ที่เหลือ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางดินได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหมักนานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมักทั่วไป

น้ำสกัดมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินและฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิตของพืช

อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ น้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุเกือบทุกธาตุในปริมาณมากกว่าที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่และน้ำสกัดมูลโคนม ยกเว้นโพแทสเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่มากกว่าเล็กน้อย

และแคลเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลโคนมมากกว่า ดังนั้น หากต้องการใช้น้ำสกัดมูลไก่ไข่หรือโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ในอัตราส่วนมากกว่าน้ำสกัดมูลสุกร เนื่องจากน้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าน้ำสกัดมูลโคนม