Home »
สาระ ความรู้
»
ไม่ธรรมดา!! ตำรับยาพื้นบ้านอีสาน! ผลไม้บ้านๆ แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
ไม่ธรรมดา!! ตำรับยาพื้นบ้านอีสาน! ผลไม้บ้านๆ แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
สมุนไพรเถาคุย หรือหมากยางป่า ที่ส่วนใหญ่คนคุ้นเคยชื่อนี้กัน
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะตังกะติ้ว (ภาคกลาง), หมากยาง
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี), ตังตู้เครือ
(ลำปาง), คุยช้าง (ปราจีนบุรี), คุยหนัง (ระยอง, จันทบุรี), อีคุย
(ปัตตานี), โพล้พอ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
อากากือเลาะ (มลายู-ปัตตานี), ต้นคุย เถาคุย เครือ (ไทย), เครือยาง, บักยาง เป็นต้น
ลักษณะของต้นหมากยางป่า
ต้นคุยหรือต้นหมากยางป่า
จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งรอเลื้อยขนาดใหญ่ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 10-15 เมตร
มีลำเถาที่ใหญ่และแข็งแรงมาก แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก มีมือยึดเกาะ
เปลือกลำต้นเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาล
ทุกส่วนของต้นจะมีน้ำยางสีขาวขุ่น พบได้ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ต้นคุยจะชอบขึ้นพันต้นไม้อื่น
ๆ ลูกคุยจำนวนมากจึงมักจะอยู่บนยอดไม้ ทำให้ยากลำบากในการเก็บ
ต้องอาศัยคนที่ปีนต้นไม่เก่ง ๆ จึงจะปีนขึ้นไปเก็บมาได้
เถาและก้านเหนียวมากจึงต้องใช้มีดตัด
สรรพคุณลำต้นหมากยางป่า
1.ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้ลำต้นคุยผสมกับลำต้นม้ากระทืบโรง ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาอายุวัฒนะ (ลำต้น)
2.เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (เปลือกต้น)
3.ในประเทศมาเลเซียจะนำรากมาต้มกับน้ำกินเป็นยารักษๅโรคดีซ่านที่เกิดจากโรคมาลาเรีย (ราก)
4.รากมีรสฝาดใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก (ราก)
5.เถา ลำต้น หรือรากนำมาต้มดื่มเป็นยารักษๅโรคบิด (เถา, ลำต้น, ราก)
6.ผลสุกใช้รับประทาน ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ผลสุก)
7.ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตับพิกๅร (ลำต้น)
8.ตำรับยาพื้นบ้านภาคใต้จะใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย (ลำต้น)
9.ผลดิบมีรสเปรี้ยวฝาด ใช้ผลดิบตากแห้งย่างไฟ แล้วป่นนำมาผสมกับน้ำ ใช้เป็นยาทาแผล (ผลดิบ)
10.ยางใช้สำหรับทาแผล (ยาง)
11.ยางมีรสฝาดร้อน ใช้แก้คุดทะราด และแก้เท้าเป็นหน่อ (ยาง)
12.ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษๅโรคคุดทะราด (ลำต้น)
13.รากนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาทาแก้โรคตัวเหลืองในทารก (ราก)
14.ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มือเท้าอ่อนเพลีย ส่วนรากและเถาก็มีสรรพคุณแก้มือเท้าอ่อนเพลียได้เช่นกัน (ลำต้น, เถา, ราก)
15.หมอยาพื้นบ้านที่จังหวัดอุบลราชธานีจะใช้เถาคุยนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (เถา)
16.เถาหรือลำต้นมีรสฝาด
นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประดงเข้าข้อ ลมขัดในข้อ ลมขัดในกระดูก (เถา,
ลำต้น) ส่วนตำรับยาพื้นบ้านภาคกลางจะใช้ลำต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น
นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ลมคั่งข้อ (ลำต้น)
แหล่งที่มา : leangkao.com