คนมีรถยิ่งต้องรู้ ถ้าชนต้องทำอย่างไร ไม่ให้เสียประโยชน์

คนมีรถยิ่งต้องรู้ ถ้าชนต้องทำอย่างไร ไม่ให้เสียประโยชน์

ในยุคที่การขนส่งสาธารณะยังไม่สะดวกและเข้าไม่ถึงในทุกพื้นที่ การมีรถเป็นของตนเองแทบจะเป็นหนึ่งในปัจจัยการดำเนินชีวิตกันเลยทีเดียว ถือเป็นแขนขาที่ทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น และการมีรถก็ต้องมาควบคู่กับการทำประกันเพื่อป้องกันในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นมา

ถ้าหากรถของเราถูกชนขึ้นมาแล้วเรานำรถไปเข้าอู่เพื่อซ่อม แล้วไม่มีรถที่จะใช้เดินทางไปไหนมาไหน เพราะต้องรอกว่าอู่จะซ่อมเสร็จรู้หรือไม่ว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมถึงค่าเสียเวลาที่ใช้ในการเดินทางที่ว่านั้นสามารถเรียกเก็บจากประกันได้เหมือนกัน

เป็นเรื่องเล่าของน้องคนหนึ่งที่สนิท พี่ก็พึ่งรู้ว่าเราสามมรถเรียกเงินคืนจากประกันได้ และได้รับเงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

สรุปคร่าวๆ คือ คปภ. หรือสำนักงานคณะก ร ร มการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะก ร ร มการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ออกหลักเกณฑ์คุ้มครองผู้ขับขี่รถว่าหากประสบเหตุแล้วเป็นฝ่ายถูก สามารถทำหนังสือพร้อมส่งเอกสารหลักฐานแจ้งความประสงค์ ขอเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างรอซ่อมได้

ทั้งนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 3 กลุ่ม ได้แก่

1 รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ได้ไม่น้อยกว่าวันละ 500 บ.

2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะไม่เกิน 7ที่นั่ง ได้ไม่น้อยกว่าวันละ 700 บ.

3 รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ได้ไม่น้อยกว่าวันละ 1000 บาท

ซึ่งในกรณีของเรานี้อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1. เรียกวันละ 600 บ คูณ 37 วัน เป็นเงิน 22200 บาท โดยในจดหมายได้พิมพ์ส่งถึงประกันได้ระบุชัดเจนว่า

อัตราที่เรียกอยู่ในหลักเกณฑ์ของ คปภ. กำหนด และสอดคล้องกับลักษณะของการทำงานที่ใน1วันต้องเดินทางพบลูกค้าหลายที่ และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นกว่าปกติเป็นอย่างมากค่ะ (ในจดหมายมีรายละเอียดชี้แจงมากกว่านี้)

เมื่อนำเอกสารและหลักฐานทั้งหมดไปยื่นที่บริษัทประกันด้วยตนเองจะมีเจ้าหน้าที่มารับเรื่อง และทำการเจรจาต่อรองกับเรา

เหตุการณ์ที่ 1 โดนต่อรองเหลือแค่ 15000 บาท พี่ก็เลยถามไปว่าคิดจากหลักเกณฑ์อะไรคะ แบบนี้ไม่โอเค ขอเรียกตามที่แจ้งในจดหมายค่ะ

เหตุการณ์ที่ 2 โดนต่อรองจำนวนเงินต่อวัน และจำนวนวันเหลือแค่ 30 วัน ไม่นับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ถามว่ายอมมั้ย? เรายอมแค่ครึ่งทาง คือขอเรียกวันจันทร์ ถึง เสาร์ เพราะเป็นวันทำงานปกติ ให้ยกเว้นแค่วันอาทิตย์เท่านั้น และขอนับวันตามปฎิทิน ไม่ขอใช้เครื่องคิดเลขบวกลบ เพื่อความถูกต้อง สรุปจบที่ 32 วัน คูณ 600บ/วัน = 19,200 บ

เหตุการณ์ที่ 3 ประกันขอจ่าย 18,000 บ ก็เลยตอบไปว่าไม่ตกลง เพราะในความเป็นจริงต้องเสียเงินไปกับค่าเดินทางมากกว่าที่เรียกร้องไป เสียทั้งเวลา เสียทั้งความรู้สึก เสียจิตไปกับรถที่ไม่เหมือนเดิม อย่าเอาเปรียบกันเลยค่ะ ถ้าเลือกได้ไม่มีใครต้องการโดนชนแล้วมานั่งเรียกร้องค่าสินไหมแบบนี้

เหตุการณ์ที่ 4 เรายื่นข้อเสนอไปเอง ลดให้ 200 บาท ขอจบที่ 19000 บาท ถ้าไม่อย่างนั้นก้อขอไปหาข้อสรุปที่ สำนักงาน คปภ ค่ะ

สรุปว่าจบที่ เหตุการณ์ที่ 4 จบที่ 19000 บาท ค่ะ ใช้เวลา 10 วันก็ได้รับเงินค่ะ

โดยเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่

สำเนาใบเคลม, สำเนาใบรับรถ(จากอู่ที่ซ่อมรถ ซึ่งเขาจะต้องลงวันที่ว่ารับรถวันไหน), สำเนาทะเบียนรถ (ถ้าติดไฟแนนซ์ ต้องมีสำเนาสัญญาไฟแนนซ์), สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ, จดหมายขอค่าขาดประโยชน์, รูปถ่ายสภาพความเสียหายของรถ, สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามีเปลี่ยน), สำเนาบุ๊คแบงค์ที่ต้องการให้ประกันโอนเงินให้

การนำมาเล่าในวันนี้ถือว่าเป็นประสบการณ์และเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นๆที่มีรถแต่ยังไม่รู้ถึงสิทธิ์ที่เราควรจะได้รับในเรื่องนี้ สำหรับใครที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ก็อย่าลืมทำเรื่องเพื่อรักษาสิทธิ์ของเรากันด้วยนะ

เรียบเรียงโดย : Postsod

ขอขอบคุณ : Arexa fashion shop ของสาวนักช้อป