ปวดศรีษะบ่อยดูไว้! อาการปวดตึบ ๆ ข้างเดียวมีสาเหตุและวิธีแก้ไม่ยาก

อาการ ปวดศรีษะ ข้างเดียวเป็นอีกหนึ่งอาการป่วยที่สร้างความทรมานให้อย่างมาก วันนี้เรามีสาระดี ๆ ที่จะทำให้รู้ว่าอาการปวดหัวในแต่ละแบบเกิดจากอะไร และควรจะแก้ด้วยวิธีไหน รับรองว่ารู้แล้วปวดหัวไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป

สาเหตุของอาการปวดศีรษะข้างขวา หรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย

อาการปวดศีรษะข้างเดียวจะมีลักษณะการปวดที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นอาจจะมีอาการปวดตุ้บๆ ที่ท้ายทอยหรือมีอาการปวดหัวข้างขวาด้านหลัง ซึ่งอาการปวดศีรษะแต่ละแบบก็มีสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าอาการปวดหัวข้างเดียวนั้นคืออาการของโรคไมเกรน แต่เราจะแบ่งสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้ดังต่อไปนี้
ปวดศีรษะไมเกรน เป็นลักษณะการปวดศีรษะที่พบบ่อย โดยจะรู้สึกปวดที่ขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะมีอาการปวดที่เบ้าตา หน้าผาก และต้นคอร่วมด้วยก็ได้
ปวดศีรษะ SUNCT หรือ Short – lasting Uni lateral Neuralgiform Headache attack with Conjunctival injection and Tearing) คืออาการปวดศีรษะข้างเดียวที่มีลักษณะของการปวดที่เส้นประสาท ตาแดง และมีน้ำตาไหล
ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นประสาท มักจะมีอาการปวดร่วมกับอาการระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติที่เรียกว่า SUNA หรือ Short – lasting Unilateral Neuralgiform with cranial Autonomic features
ปวดศีรษะคลัสเตอร์ เป็นอาการปวดหัวข้างขวาหรืออาการปวดหัวข้างซ้ายที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่ามีอาการปวดหัวในแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง โดยจะเกิดขึ้นในเวลาเดิมๆ ของแต่ละวัน และอาจจะมีอาการปวดขมับหรือเบ้าตาร่วมด้วย

อาการปวดศีรษะ

อาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT อาการปวดศีรษะ SUNA และอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์
อาการปวดศีรษะแบบตลอดเวลา ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT ในผู้ป่วยบางราย และผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวข้างขวาหรือข้างซ้ายแบบไม่เปลี่ยนข้างตลอดเวลา หรือ Hemicranial continua

ลักษณะอาการปวดศีรษะ

รู้สึกปวดตุ้บๆ ได้แก่ อาการปวดไมเกรน อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์
รู้สึกปวดตื้อแบบตุ้บๆ ตลอดเวลา ได้แก่ อาการปวดศีรษะข้างเดียวแบบไม่เปลี่ยนข้างตลอดเวลา
รู้สึกปวดแบบแปล๊บๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ SUNCT อาการปวดศีรษะ SUNA
อาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ตาบวม น้ำตาไหล ลืมตาลำบาก ตาแดง และมีน้ำมูกไหล เป็นต้น

วิธีแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว

อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่อาจจะเกิดขึ้นกับด้านใดก็ได้ ซึ่งเราสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ เช่น ไอบูโพรเฟน ทริปเทนต์ และยาประเภทอะซีตะมิโนเฟน (Acetaminophen) แต่ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยโรคและการรักษาจากแพทย์โดยตรงก่อน เพื่อให้การใช้ยาเป็นไปอย่างถูกต้องตามอาการที่เกิดขึ้น และทำให้อาการของโรคดีขึ้นอีกด้วย
อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะที่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็ควรรับประทานยาหรือได้รับการรักษาด้วยเช่นกัน โดยรับประทานยาที่ใช้รักษาไมเกรนอย่างเช่นยาคาร์เฟอร์ก็อต หรือใช้ยากลุ่มทริปเทนต์ และยังสามารถใช้วิธีการสูดดมออกซิเจนบริสุทธิ์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดนี้ได้เช่นกัน
อาการปวดศีรษะ SUNCT หรือ SUNA เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่มีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาประเภทสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้ออย่างเช่นยาเพร็ดนิโซโลน ยากลุ่มจิตเวชประเภทยากันชักอย่างเช่นยาคาร์บามาซีปีนหรือยาลามิคทอล ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาเฉพาะทางในลำดับต่อไป

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวด

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียว อย่างเช่นกลิ่นน้ำหอม บริเวณที่มีแสงจ้ามากๆ แสงกะพริบๆ ตลอดเวลา หรือบริเวณที่มีเสียงดังอึกทึกครึกโครม หยุดการทำงานหนักแบบหักโหม หลีกเลี่ยงการสูบบุ೫รี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไม่เล่นกีฬาที่หนักเกินไป แต่ควรเลือกกีฬาที่เบาๆ
นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วยการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพการนอนที่ดี อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง โดยทำให้ห้องนอนมีความเงียบสงบ และมีอุณหภูมิห้องที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป
อาการปวดศีรษะข้างขวาหรืออาการปวดศีรษะข้างซ้าย เป็นอาการปวดศีรษะที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานใช้ความคิดหรือการคำนวณ และยังเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ จากร่างกายอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างร้ายแรงได้

แหล่งที่มา : khonkidbuak.blogspot.com