หลายคนไม่เคยรู้! สมุนไพรและผลไม้ 5 ชนิดนี้ ที่ทำให้ไตเสื่อม เสี่ยงไตพัง

หลายคนไม่เคยรู้! สมุนไพรและผลไม้ 5 ชนิดนี้ ที่ทำให้ไตเสื่อม เสี่ยงไตพัง

ในร่างกายของเรามีอวัยวะที่สำคัญอยู่มาก วันนี้เราจะมาพูดถึง อวัยวะที่เรียกว่า “ไต” หน้าที่ของไตคือ กรองของเสีย และขับของเสียประเภทของโปรตีนและควบคุมระดับปริมาณน้ำในร่างกายของเรา รวมไปถึงเกลือแร่ออกจากเลือด เป็นตัวผลิตฮอร์โมนควบคุมแคลเซียม ฮอร์โมนกระตุ้นสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตทำงานผิดปกติหรือไตมีความเสื่อม อาจจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง กระดูกพรุนได้ และยังทำให้เกิดการเสียสมดุลในร่างกายของตามมา

ปัจจุบันเราสามารถดูแลสุขภาพได้หลายวิธี เช่นด้วยการออกกำลังกาย ตรวจร่างกายประจำปี หรือทานอาหารเสริม ไม่ว่าจะแผนปัจจุบันหรือสมุนไพร ก็ได้รับความนิยมทั้งนั้น แต่ใครจะรู้ว่าพืชสมุนไพรหรือผลไม้บางชนิดก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีอย่างเดียว ถ้าไม่รู้จักเลือกรับประทานให้เหมาะสมกับตนเองหรือสุขภาวะของตนเอง ก็เท่ากับเราทำร้ายตัวเองนะคะ ลองมาดูกันหน่อยว่าสมุนไพรตัวไหนบ้างที่เหมาะ หรือไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคไต หรือมีโอกาศทำลายไตของเรา

1. หญ้าหนวดแมว (Java Tea)

เป็นที่รู้จักในวงการแพทย์แผนโบราณว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะและไต หญ้าหนวดแมวประกอบด้วยสารสำคัญแร่ธาตุ อาทิ โปแทสเซียม (600-700 มิลลิกรัมต่อ100กรัม) สารจำพวก Lipophilic flavones สารจำพวกซาโปนินและน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีปริมาณโปแทสเซียมที่สูงมาก จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การที่มีโปแทสเซียมสูงทำให้ไตทำงานหนักในการกรองและขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ และถ้าไม่สามารถขับออกมาได้จะเกิดการคั่งของโปแทสเซียมในร่างกายเป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้เสียชีวิตได้ โดยปกติผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับยาที่ควบคุมระดับโปรแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในค่าที่เหมาะสมที่สุด

2. มะเฟือง (star fruit)

นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร แก้ไข้ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ แต่มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีสารออกซาเลต (Oxalic acid) ในปริมาณมาก เมื่อเรารับประทานในปริมาณมากหรือรับประทานในขณะท้องว่าง ทำให้สารออกซาเลตถูกดูดเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และถูกขับทางไต สารชนิดนี้จะไปจับตัวกับแคลเซียมในไต ทำให้เกิดนิ่วในเนื้อไตและท่อไต ส่งผลให้เกิดไตเสื่อม และไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นทั้งคนปกติหรือผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะเฟืองในปริมาณมาและติดต่อกันเป็นเวลานานจะดีที่สุด ภาวะไตวายจากการรับประทานมะเฟืองไม่ค่อยพบในคนปกติ แต่จะเกิดกับผู้ที่ไตผิดปกติอยู่แล้ว

3. หญ้าไผ่น้ำ (river spiderwort)

มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ บรรเทาอาการบวม หญ้าไผ่น้ำไม่เหมาะกับการใช้กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ไตเสื่อม และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้เร็วขึ้น

4. ลูกเนียง หรือ ชะเนียง (djenkol bean)

เป็นพืชตะกูลถั่วที่นิยมทานกันมาทางภาคใต้ของไทย ใช้ลูกอ่อนปอกเปลือกจิ้มน้ำพริกหรือใช้เป็นเครื่องเคียงอาหารรสเผ็ด ในลูกเนียงประกอบด้วยแป้งร้อยละ 70 โปรตีนร้อยละ 15 ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1และ 12 กรดแจงโคลิค (djenkolic acid) เป็นกรดอะมิโนที่มีกำมะถันสูงมากและเป็นพิษต่อร่างกาย กำมะถันจะไปทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชั่วโมง ภายหลังรับประทานจะมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก และมาก บางรายไม่ปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด ทำให้ไตวายเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง การลดพิษในลูกเนียงโดยการนำมาหั่นเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้หมาดก่อนนำมารับประทานหรือต้มในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นเวลา 10นาที จะทำให้กรดแจงโคลิคลดลง 50 %

5. ใบยอ

จากกระแสในโลกโซเซียล ว่าน้ำใบยอสามารถรักษาโรคไตได้ แท้จริงใบยอไม่สามารถรักษาได้ และยังทำลายไตอีกด้วย ใบยอมีธาตุฟอสฟอรัสสูงมาก เป็นอันตรายต่อไต เพราะไตไม่สามารถนำฟอสฟอรัสออกมาใช้ได้ตามปกติ จึงเกิดการสะสมตัวอยู่ในกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา อย่างโรคนิ่วในไต และนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้

เห็นไหมค่ะว่าพืช ผลไม้ หรือสมุนไพร ที่เราทานๆกันอยู่ประจำ หรือนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร บางชนิดก็มีอันตรายต่อโรคทางไต ทำให้ไตเสื่อมได้ค่ะ หากเรามีโรคประจำตัวอยู่การรับประทานสมุนไพรก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีกว่านะคะ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวเราเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจสาระน่ารู้ พืชผักผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดี